หน่อไม้ฝรั่ง (Asparagus) มีสารกลูต้าไธโอนจากธรรมชาติ และสารโฟเลต 33% ที่เพียงพอต่อร่างกาย คุณค่าทางโภชนาการสูง มีสรรพคุณมากมาย โดยเฉพาะการต้านอนุมูลอิสระ

หน่อไม้ฝรั่ง คืออะไร?

หน่อไม้ฝรั่ง (Asparagus) คือ พืชพื้นเมืองชนิดหนึ่งในแถบแอฟริกาและยุโรป มีรูปร่างเรียวยาว คล้ายคลึงกับหน่อไม้ไผ่แต่มีขนาดเล็กกว่า มีทั้งสีเขียว สีขาว และสีม่วง หน่อไม้ฝรั่งยังมีลำต้นที่แบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่อยู่ใต้ดิน และส่วนที่อยู่เหนือพื้นดิน โดยส่วนที่อยู่เหนือพื้นดินนั้นสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลาย และนิยมนำมาปรุงด้วยวิธีการผัด เพื่อให้มีความกรอบอร่อย

นอกจากนี้หน่อไม้ฝรั่งยังมีคุณค่าทางโภชนาการ อุดมไปด้วยไฟเบอร์ วิตามิน สารต้านอนุมูลอิสระ เช่น กลูต้าไธโอน และแร่ธาตุต่างๆ ที่จำเป็นต่อร่างกาย กล่าวได้ว่า หน่อไม้ฝรั่งนั้นทั้งอร่อย และมีประโยชน์สูงก็ว่าได้

คุณค่าทางโภชนาการของหน่อไม้ฝรั่ง

หน่อไม้ฝรั่งนั้นอุดมไปด้วยสารอาหารมากมาย ทั้งโปรตีน แคลเซียม วิตามิน A,B,C,E และ K และยังให้สารโฟเลตสูงถึง 33% นอกจากนี้ยังเต็มไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่ให้คุณประโยชน์ และช่วยบำรุงร่างกาย2 ด้วยเหตุนี้จึงทำให้หน่อไม้ฝรั่งมักเป็นส่วนหนึ่งในเมนูเพื่อสุขภาพอยู่บ่อยๆ

9 ประโยชน์ดีๆ จากหน่อไม้ฝรั่ง

ด้วยความที่หน่อไม้ฝรั่งมีคุณค่าทางโภชนาการสูง อุดมไปด้วยสารอาหาร วิตามินที่จำเป็น และแร่ธาตุต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ หน่อไม้ฝรั่งจึงช่วยบำรุงร่างกายในหลายด้าน ดังนี้

1. ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ

สารสกัดจากหน่อไม้ฝรั่ง มีสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด อาทิ

  • กลูตาไธโอน เอนไซม์ที่ทำลายอนุมูลอิสระของทุกเซลล์ในร่างกาย
  • แอนโทไซยานิน ซึ่งเป็นเม็ดสีที่ทำให้หน่อไม้ฝรั่งมีสีม่วง
  • สารฟลาโวนอยด์
  • โพลีฟีนอล
  • วิตามิน A, B6, C, E และ K

ทั้งหมดนี้เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่อยู่ในหน่อไม้ฝรั่ง ซึ่งจะไปยับยั้งการทำงานของอนุมูลอิสระ ลดการสร้างความเสียหายต่อเซลล์ในร่างกายได้ นอกจากนี้ เมื่อเซลล์ทำงานได้อย่างปกติ ก็จะลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ โดยจากการศึกษาพบว่า การใช้สมุนไพรที่มีส่วนผสมของรากหน่อไม้ฝรั่งกับผู้ป่วยมะเร็งปอดนั้น มีประสิทธิภาพทางการรักษาบางอาการได้ดีอย่างมีนัยสำคัญ และอาจกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกายให้กำจัดเซลล์มะเร็งออกไป1

ผสานคุณค่า วิตามิน
เกลือแร่ และไฟโตนิวเทรียนท์

2. ช่วยเสริมสร้างการทำงานของไต

หน่อไม้ฝรั่งมีสรรพคุณทางยาที่ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับของเหลว และเกลือส่วนเกินออกจากร่างกาย4 อีกทั้งยังช่วยขับลิเทียม (Lithium) ออกไป ซึ่งเป็นสารที่อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายได้ หากมีปริมาณสารนี้ในร่างกายมากเกินไป1

3. ช่วยบรรเทาภาวะความดันโลหิตสูง

จากการศึกษาพบว่าหน่อไม้ฝรั่งมีโพแทสเซียมสูง ที่เป็นตัวช่วยลดความดันโลหิตโดยการกำจัดโซเดียมส่วนเกิน อันเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง ลดการอุดตันในหลอดเลือด และขยายหลอดเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น โดยมีการทดลองให้กลุ่มทดลองบริโภคหน่อไม้ฝรั่งเป็นเวลา 10 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มทดลองมีความดันโลหิตลดลง และช่วยลดการทำงานของเอนไซม์ที่ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงอีกด้วย5

4. ช่วยลดน้ำหนัก และลดการสะสมของไขมัน

หน่อไม้ฝรั่งเป็นผักที่มีไขมันและแคลอรีต่ำ จึงเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก เพราะการกินผักที่มีแคลอรีต่ำนั้นจะช่วยป้องกันไม่ให้ร่างกายได้รับพลังงานเกินความจำเป็น

5. ช่วยบรรเทาอาการกรดไหลย้อน

หน่อไม้ฝรั่งเป็นหนึ่งในผักใบเขียวที่เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นกรดไหลย้อน เนื่องจากมีไฟเบอร์สูง ช่วยในการกระตุ้นการย่อยอาหารได้ดี นอกจากนั้นยังสามารถดูดซับกรดและขับลม ลดความอึดอัดจากอาการท้องอืดท้องเฟ้อได้อีกด้วย

6. กระตุ้นให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงหัวใจได้ปกติ

หน่อไม้ฝรั่งนั้นมีวิตามินเคที่มีส่วนช่วยในการแข็งตัวของเลือด ทำให้การกินหน่อไม้ฝรั่งนั้นมีส่วนช่วยทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงหัวใจได้อย่างปกติ อีกทั้งยังป้องกันไม่ให้เลือดออกมากจนเกินไปเมื่อมีบาดแผลอีกด้วย2

7. มีส่วนช่วยในการเจริญพันธุ์

หน่อไม้ฝรั่งสีเขียวมีโปรโตดิโอซิน (Protodioscin) ในระดับสูง ซึ่งช่วยเสริมสร้างสุขภาพของรังไข่ในผู้หญิง เพิ่มความต้องการทางเพศหลังวัยหมดประจำเดือน และยังสามารถต่อสู้กับเซลล์มะเร็งรังไข่ได้ นอกจากนี้ ยังพบว่าโปรโตดิโอซินช่วยเพิ่มการผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ที่ส่งผลต่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางเพศในผู้ชายได้อีกด้วย4

8. ช่วยบำรุงลำไส้

พรีไบโอติกในหน่อไม้ฝรั่งที่เรียกว่าอินนูลินนั้นมีประโยชน์ต่อสุขภาพของลำไส้ เนื่องจากช่วยส่งเสริมความสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้ได้เป็นอย่างดี4 ยิ่งไปกว่านั้น หน่อไม้ฝรั่งยังอุดมไปด้วยไฟเบอร์ 2 ชนิด คือ ชนิดไม่ละลายน้ำ และชนิดละลายน้ำได้5 ซึ่งมีข้อแตกต่างกัน ดังนี้

  • ไฟเบอร์ที่ไม่ละลายน้ำ จะสะสมเป็นกากใยในอุจจาระ ผ่านลำไส้โดยไม่ได้ย่อย ซึ่งจะช่วยให้เกิดความคงที่ในลำไส้ และลำเลียงไปได้อย่างปกติ
  • ไฟเบอร์ที่ละลายน้ำได้ ทำหน้าที่เป็นอาหารของแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้ ทำให้แบคทีเรียดังกล่าวสามารถคงอยู่ในลำไส้ได้(ไมโครไบโอม) ซึ่งจะช่วยให้อุจจาระนิ่ม และขับถ่ายได้ง่ายขึ้น หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ การกินหน่อไม้ฝรั่งมากขึ้นสามารถช่วยให้การทำงานของลำไส้เป็นปกติและป้องกันอาการท้องผูกได้

9. ช่วยบำรุงครรภ์

ในระหว่างการตั้งครรภ์นั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการกินอาหารให้ได้รับสารอาหาร และวิตามินอย่างครบถ้วน เพื่อให้ทารกในครรภ์มีพัฒนาการที่ดี ซึ่งหน่อไม้ฝรั่งนั้นมีโฟเลตสูง ที่สามารถป้องกันความบกพร่องแต่กำเนิดในสมอง หรือกระดูกสันหลังของทารกในครรภ์ได้5 นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยกล่าวว่า คนที่กินอาหารเสริมที่มีส่วนประกอบของโฟเลตก่อนตั้งครรภ์นั้น จะลดโอกาสการคลอดก่อนกำหนดได้อีกด้วย4 และแม้ว่าจะไม่ได้มีการตั้งครรภ์ แต่โฟเลตก็ยังมีความจำเป็นในการสร้าง DNA ซึ่งถ้าหากร่างกายได้รับโฟเลตไม่เพียงพอ อาจก่อให้เกิดโรคโลหิตจางได้5

ปริมาณหน่อไม้ฝรั่งที่เพียงพอต่อวัน

การกินหน่อไม้ฝรั่งให้ปลอดภัยนั้น ควรกินในปริมาณที่เหมาะสม และปรุงสุกเสมอ สามารถนำมาประกอบอาหารได้ทั้งผัด ต้ม กินเป็นผักสลัด ผักจิ้มได้อีกด้วย และไม่ควรกินหน่อไม้ฝรั่งมากจนเกินไป เนื่องจากพบรายงานการทดลองว่า การบริโภคสารสกัดจากหน่อไม้ฝรั่งในปริมาณมาก(12 เม็ด/วัน) อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น เกิดภาวะบวมน้ำ ปวดไต เกิดอาการแพ้ที่บริเวณผิวหนัง และกระตุ้นให้โรคเกาต์กำเริบขึ้นได้1

ข้อควรระวังในการกินหน่อไม้ฝรั่ง

แม้ว่าหน่อไม้ฝรั่งจะมีคุณประโยชน์มากมาย เป็นผักที่สามารถกินได้ทุกเพศทุกวัย แต่ก็มีข้อควรระวัง ดังต่อไปนี้

  • การกินหน่อไม้ฝรั่งอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงในลักษณะอาการแพ้ได้ ดังนั้นต้องระมัดระวังในการบริโภค และเมื่อพบอาการแพ้หน่อไม้ฝรั่งควรรีบพบแพทย์โดยเร็ว
  • หน่อไม้ฝรั่งมีสารกำมะถัน เมื่อกินเข้าไปในปริมาณมาก สารกำมะถันจะถูกย่อย และรวมเข้ากับปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะมีกลิ่นรุนแรงได้
  • หน่อไม้ฝรั่งมีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายก็จริง แต่ยังไม่มีงานวิจัยที่ยืนยันได้ว่าหน่อไม้ฝรั่งสามารถรักษาอาการป่วย หรือใช้เป็นยารักษาได้ ดังนั้นผู้ที่กินหน่อไม้ฝรั่งเพื่อหวังผลการรักษาควรปรึกษาแพทย์อย่างถี่ถ้วนเสียก่อน

ผู้ที่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนกินหน่อไม้ฝรั่ง

แม้ว่าหน่อไม้ฝรั่งจะมีคุณประโยชน์มากมาย เป็นผักที่สามารถกินได้ทุกเพศทุกวัย แต่ก็มีข้อควรระวัง ดังต่อไปนี้

  • หญิงตั้งครรภ์ และหญิงที่กำลังให้นมบุตร สำหรับหญิงตั้งครรภ์สามารถกินหน่อไม้ฝรั่งในรูปแบบอาหารปรุงสุกได้ แต่ไม่ควรทานในรูปแบบยาหรือสารสกัด เนื่องจากสารสกัดจากหน่อไม้ฝรั่งเป็นหนึ่งในส่วนประกอบของยาคุมกำเนิด หากหญิงมีครรภ์บริโภคหน่อไม้ฝรั่งในรูปแบบยาหรือสารสกัดเข้าไป อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย และทารกในครรภ์ได้ เช่นเดียวกันกับหญิงที่กำลังให้นมบุตร ควรกินหน่อไม้ฝรั่งในรูปแบบอาหารในปริมาณที่พอเหมาะ และหลีกเลี่ยงการกินใบรูปแบบยาหรือสารสกัด เพราะอาจส่งผลอันตรายต่อเด็กผ่านการให้นมบุตรได้
  • ผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพ หน่อไม้ฝรั่งอาจก่อให้เกิดอันตรายกับผู้ป่วยที่มีสภาวะร่างกายไวต่อสาร ผู้ที่แพ้พืชใบเลี้ยงเดี่ยว เช่น หัวหอม กระเทียม มีโอกาสเสี่ยงที่จะแพ้หน่อไม้ฝรั่งด้วยเช่นกัน ดังนั้นผู้ที่กำลังอยู่ในระหว่างการรักษา หรือมีอาการป่วย ควรปรึกษาแพทย์ก่อนบริโภคหน่อไม้ฝรั่งในทุกรูปแบบ เพื่อไม่ให้ส่งผลเสียต่อร่างกาย หรือส่งผลต่อประสิทธิภาพของยาที่ต้องกินเป็นประจำได้

ผสานคุณค่า วิตามิน
เกลือแร่ และไฟโตนิวเทรียนท์

สรุป

หน่อไม้ฝรั่ง หนึ่งในผักยอดนิยมที่กินได้ทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะนำไปประกอบอาหารแบบใดก็อร่อยได้ มาพร้อมด้วยคุณประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย ทั้งช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ เสริมสร้างการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย ช่วยควบคุมน้ำหนัก ลดการสะสมไขมัน เป็นแหล่งสารอาหารที่เหมาะแก่การบำรุงครรภ์

อย่างไรก็ตาม หน่อไม้ฝรั่งควรบริโภคในปริมาณพอเหมาะ และปรุงสุก อีกทั้งผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ ผู้ที่กำลังให้นมบุตร หรือผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ ควรระมัดระวัง และปรึกษาแพทย์ก่อนการบริโภคหน่อไม้ฝรั่ง เพียงเท่านี้ก็สามารถกินหน่อไม้ฝรั่งได้อย่างปลอดภัย ได้รับสารอาหารอย่างเต็มเปี่ยม

ข้อมูลอ้างอิง
  1. pobpad. หน่อไม้ฝรั่ง กับคุณค่าทางโภชนาการ. pobpad.com. Retrieved 17 November 2023.
  2. Khongrit Somchai. หน่อไม้ฝรั่ง กับประโยชน์ดีๆ ที่คนรักสุขภาพต้องไม่พลาด. Hellokhunmor.com. Published 5 October 2020. Retrieved 17 November 2023.
  3. USDA. Asparagus, raw. fdc.nal.usda.gov. Published 1 April 2019. Retrieved 17 November 2023.
  4. Kathleen Felton. 9 Health Benefits of Asparagus. health.com. Published 16 December 2022. Retrieved 17 November 2023.
  5. Cleveland Clinic. 6 Health Benefits of Asparagus. clevelandclinic.org. Published 21 September 2023. Retrieved 17 November 2023.
  6. หมอชาวบ้าน. หน่อไม้ฝรั่งผัดกุ้ง. doctor.or.th. Published 1 May 2008. Retrieved 17 November 2023.
  7. Poonrada. 9 เมนูอาหาร ผัก ผลไม้ ควรกิน และ ควรหลีกเลี่ยง สำหรับผู้ที่เป็นกรดไหลย้อน และ วิธีรักษาด้วยสมุนไพรไทย. poonrada.net. Retrieved 17 November 2023.
shop now