ร่างกายของเราจะได้รับพลังงานจากอาหารจากที่กินเข้าไปในแต่ละวัน เป็นเรื่องที่ทุกคนเข้าใจกันดีอยู่แล้ว แต่สำหรับบางวันที่เราไม่ได้กินข้าว แต่ก็ยังมีแรงทำกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างกระฉับกระเฉง แล้วร่างกายเราเอาพลังงานเหล่านี้มาจากไหน วันนี้เรามีคำตอบครับ

โดยปกติแล้ว อาหารที่เรากินเข้าไปในแต่ละวันจะถูกย่อยสลายและเปลี่ยนเป็นพลังงานให้แก่ร่างกาย และจะมีส่วนที่เหลือถูกนำไปสะสมในรูปแบบต่างๆ ในร่างกาย และจะถูกดึงออกมาใช้ตามกิจกรรมต่างๆของร่างกาย  การใช้พลังงานของร่างกายมี 3 ระบบคือ

body-energy-comes-from-1.jpg

1. ระบบพลังงาน

พลังงานนี้เป็นพลังงานแรกที่ร่างกายนำมาใช้ในการเคลื่อนไหวร่างกายเป็นระยะเวลาสั้นๆ และรวดเร็วในช่วงเริ่มต้นการออกกำลังกาย ที่เรียกว่า ATP-phosphocreatinine (ATP-CP) เป็นระบบที่จุดพลังก่อนเริ่มการใช้พลังงาน ซึ่งจะใช้เวลาไม่เกิน 5 - 10 วินาที หลังจากนั้นร่างกายจะใช้พลังงานในระบบต่อไป

body-energy-comes-from-2.jpg

3. พลังงานจากไกลโคเจน

 เมื่อพลังงานที่ใช้ในขั้นตอนแรกหมดไป ร่างกายจะเปลี่ยนระบบการดึงพลังงานใหม่ออกมาใช้ โดยไปดึงมาจากพลังงานที่สะสมตามกล้ามเนื้อ นั่นก็คือ ไกลโคเจน (Glycogen) ซึ่งเป็นการสะสมในรูปแบบของโมเลกุลกลูโคสเรียงเป็นโซ่ยาว เมื่อร่างกายใช้พลังงานจากกลูโคสหมดแล้ว ก็จะเริ่มสลายไกลโคเจนที่สะสมไว้ออกมาเป็นพลังงานทีละน้อย โดยพลังงานจากไกลโคเจนเป็นพลังงานที่มีปริมาณมาก ครอบคลุมกิจกรรมต่างๆ และนำมาใช้ในกิจกรรมต่างๆ แม้ไม่ได้กินอะไรเลยก็ตาม เช่น รีบไปทำงานจนไม่ได้กินข้าวเช้า เป็นต้น แต่เมื่อมีการใช้พลังงานมากจนถึงปริมาณไกลโคเจนขั้นต่ำที่ใช้ได้ ร่างกายจะปรับการใช้พลังงานเข้าสู่อีกระบบ คือ ระบบแอโรบิก

body-energy-comes-from-3.jpg

4. พลังงานจากไขมัน

เมื่อร่างกายใช้ไกลโคเจนจนกระทั่งถึงระดับต่ำสุดที่จะใช้ได้แล้ว ร่างกายจะปรับรูปแบบการใช้พลังงานมาดึงจากไขมันในส่วนต่างๆของร่างกาย ไขมันเป็นสารอาหารที่ให้พลังงานสูงที่มีเพียงพอต่อการใช้ชีวิตทั้งวันแม้ว่าจะอยู่ในสภาวะที่ไม่ได้กินอะไรเลยก็ตาม เช่น หลงป่า ติดอยู่ในอาคาร ร่างกายของเราจะนำพลังงานจากไขมันมาใช้ในการดำรงชีวิตต่อได้อีกหลายวัน

shop now