เข้าใจความอ้วนก่อนลดน้ำหนัก
เชื่อว่าหลายๆ คนยังไม่ทราบ หรือมีความเข้าใจที่ผิดเกี่ยวกับการลดน้ำหนักอยู่ เพราะคนส่วนใหญ่ที่เริ่มต้นจะเริ่มด้วยการอดอาหาร โหมออกกำลังกาย เพื่อให้น้ำหนักตัวลงอย่างรวดเร็ว และเห็นผลได้ชัดเจน แต่จริงๆแล้วหัวใจสำคัญของการลดน้ำหนัก คือการลดไขมัน การรู้จักและเข้าใจสาเหตุของความอ้วน จึงมีส่วนสำคัญ และนำไปสู่การเลือกใช้โปรแกรมลดน้ำหนักเฉพาะบุคคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เห็นผล ซึ่งจะทำให้การลดน้ำหนักมีความยั่งยืน
ปัญหาโรคอ้วนในปัจจุบัน
โรคอ้วนกลายเป็นปัญหาใหญ่ของคนทั้งโลก ภาวะน้ำหนักเกินส่งผลกระทบต่อคนทุกวัยและทุกกลุ่มประชากร โดยรายงานจาก World Obesity Federation ในปี 2565 พบว่าทั่วโลกมีคนเป็นโรคอ้วนประมาณ 800 ล้านคน ในจำนวนนี้ 39 ล้านคน เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และอีกประมาณ 340 ล้านคน เป็นเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-19 ปี ประเทศไทยเองก็ไม่รอดพ้นจากปัญหาภาวะน้ำหนักเกินนี้ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยพบอัตราการเกิดโรคอ้วนเพิ่มขึ้นอย่างมากในหมู่ประชากร โดยข้อมูลจากกองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานความชุกของปัญหาน้ำหนักเกินหรืออ้วนในผู้ใหญ่ ในปี 2564 อยู่ที่ 47.2% เพิ่มขึ้นจาก 34.7% ในปี 2559 แนวโน้มขาขึ้นของโรคอ้วนนี้ทำให้หน่วยงานรัฐบาล และ เอกชนหลายๆ หน่วยงานเห็นความสำคัญ จึงมีการศึกษาสาเหตุและผลลัพธ์ต่อร่างกาย ไปจนถึงวิธีแก้ไขที่ใช้ได้จริง นำไปสู่บทบาทของผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหารบอดี้คีย์ที่เข้ามามีส่วนในการต่อสู้กับโรคอ้วน หรือภาวะน้ำหนักเกินของคนไทย
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอ้วน
จะรู้ได้อย่างไรว่าเราอ้วน? หรือมีน้ำหนักเกินแล้ว? นายแพทย์อภิชาต วชิรพันธ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรคกล่าวว่า เกณฑ์ของโรคอ้วนในคนไทยที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป จะพิจารณาจากค่าดัชนีมวลกายหรือ BMI (Body Mass Index) คิดได้จากน้ำหนักตัว (หน่วยกิโลกรัม) หารด้วย ส่วนสูง (หน่วยเป็นเมตร) ยกกำลังสอง โดยค่า BMI 23-24.90 แสดงถึงน้ำหนักเกิน และค่า BMI 25 ขึ้นไปแสดงถึงโรคอ้วน
ส่วนสาเหตุในการทำให้เกิดภาวะ โรคอ้วน และ น้ำหนักเกินนั้นมีหลายปัจจัยที่ส่งผล เช่นพฤติกรรมการกินที่เปลี่ยนไป การบริโภคอาหารที่มีแคลอรีสูงและอาหารแปรรูปที่เพิ่มขึ้น และเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องยอมรับว่าในยุคสมัยหลังจากโควิดนี้ คนไทยมีนิสัยกินเอาง่ายเข้าว่าด้วยอะไรหลายอย่างที่สะดวกขึ้น เช่น Delivery ขนส่งอาหาร ทำให้เกิดการตามใจปากมากขึ้น และ รวมถึงเครือร้านฟาสต์ฟู้ดและร้านสะดวกซื้อที่ได้รับความนิยม ที่มีอาหารที่ค่อนข้างมีส่วนผสมของ ไขมัน และ คาร์โบไฮเดรตที่เยอะ ในราคาย่อมเยาว์ ซึ่งจะเห็นได้ว่าขาดคุณค่าทางโภชนาการ ยิ่งกว่านั้นพฤติกรรมการนั่งนิ่งๆ หรือเป็น Passive Lifestyle ก็มากขึ้นเรื่อยๆ เป็นเพราะหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
การเพิ่มขึ้นของการทำงานแบบนั่งโต๊ะ ทำให้การออกกกำลังกายลดลง คนไทยจำนวนมากใช้เวลานั่งเป็นเวลานาน ไม่ว่าจะเป็นหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือระหว่างการเดินทางนานๆ ด้วยเหตุนี้การออกกำลังกายที่ไม่เพียงพอรวมกับการเลือกรับประทานอาหารที่ไม่ดี ได้ทำให้แนวโน้มโรคอ้วนของคนไทยสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และ แน่นอนว่านอกเหนือจาก 2 ปัจจัยหลักๆ นี้ ยังมีอีกหลายปัจจัยที่นำมาซึ่งภาวะน้ำหนักเกินไม่ว่าจะเป็นการรับประทาน น้ำตาล และ ไขมัน มากเกินไป, รหัสพันธุกรรม, การมีกิจกรรมทางกายน้อย, การนอนหลับไม่เพียงพอ, ความเครียด และการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกาย
ผลจากการมีภาวะโรคอ้วน
โรคอ้วนมีความเสี่ยงต่อสุขภาพอย่างมาก และผลที่ตามมานั้นค่อนข้างอันตราย บุคคลที่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนจะมีโอกาสเกิดโรคเรื้อรังเพิ่มขึ้น เช่น
- โรคความดันโลหิตสูง
- ไขมันพอกตับ
- ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
- โรคหัวใจและหลอดเลือด
- กรดไหลย้อน
- ภาวะ ไอ จาม ปัสสาวะเล็ด
- ประจำเดือนผิดปกติ
- โรคเบาหวาน
- โรคข้อเสื่อม
ปัญหาด้านสุขภาพเหล่านี้ไม่เพียงแต่ลดทอนคุณภาพชีวิตเท่านั้น แต่ยังสร้างภาระทางเศรษฐกิจให้กับระบบการรักษาพยาบาลอีกด้วย นอกจากทางกายภาพแล้ว โรคอ้วนยังสามารถมีผลกระทบทางสังคม และจิตใจของบุคคล เช่น ทำให้เกิดโรคซึมเศร้า ความมั่นใจในการใช้ชีวิตในสังคมลดลง และถูกเลือกปฏิบัติ ซึ่งอาจทำให้พฤติกรรมที่ไม่ดีต่อสุขภาพคงอยู่ต่อไปและขัดขวางความพยายามในการแก้ไขปัญหา
เริ่มต้นลดน้ำหนัก