แครอทอุดมไปด้วยไฟเบอร์ วิตามินเอ ซี เค ไฟโตนิวเทรียนท์ และเบต้าแคโรทีน ที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพของน้ำมันอีฟนิ่งพริมโรสได้ดียิ่งขึ้น เมื่อรับประทานร่วมกัน
ทำความรู้จักแครอท
แครอทเป็นพืชในกลุ่มพืชใต้ดินหรือพืชหัว (Root vegetables) โดยทั่วไปที่พบเห็นส่วนมากเป็นสีส้ม เป็นพืชที่มีคุณประโยชน์และสารอาหารที่ดี สามารถรับประทานได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งการทานดิบและนำมาปรุงเป็นส่วนประกอบในอาหารต่างๆ
10 ประโยชน์ดีๆ จากแครอท ที่ไม่ควรมองข้าม
แครอทมีสารอาหารที่มีคุณประโยชน์มากมายต่อร่างกาย โดยเฉพาะกลุ่มเบต้า-แคโรทีน ที่เป็นส่วนประกอบให้ร่างกายนำไปสร้างวิตามินเอ ซึ่งเสริมการทำงานของระบบต่างๆ ให้เป็นปกติ
1. ให้ไฟโตนิวเทรียนท์ เบต้า-แคโรทีน
แครอทให้ไฟโตนิวเทรียนท์ เบต้า-แคโรทีน ซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นวิตามินเอในร่างกายได้ ช่วยยับยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชันของเซลล์ ที่อาจเกิดจากการได้รับกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงมากเกินไป ป้องกันเซลล์ถูกทำลายจากอนุมูลอิสระ2
ทั้งนี้ วิตามินเอที่ได้จากเบต้า-แคโรทีนสามารถละลายได้ดีในน้ำมัน ดังนั้นจึงควรรับประทานแครอทร่วมกับน้ำมันอีฟนิ่ง พริมโรส เพื่อช่วยเสริมให้สารอาหารต่างๆ ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ให้ผู้หญิงสุขภาพดี
มั่นใจในทุกๆ วัน
2. ช่วยควบคุมน้ำหนัก
แครอทป็นผักที่มีไฟเบอร์สูง โดยมีน้ำเป็นส่วนประกอบถึง 88% นอกจากนั้นแครอทยังมีพลังงานต่ำ ในแครอทครึ่งถ้วย ในแครอทครึ่งถ้วย ให้พลังงานเพียง 25 แคลอรีเท่านั้น แครอทจึงเหมาะเป็นอาหารสำหรับควบคุมน้ำหนัก ทั้งรูปแบบดิบหรือจะนำไปปรุงสุกก็ได้
3. ช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง
แครอทมีแคลเซียมและวิตามินเค ซึ่งเป็นสารอาหารที่มีความสำคัญต่อการเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง จึงเป็นผักที่รับประทานได้ทุกวัยตั้งแต่เด็กถึงวัยผู้ใหญ่
4. ช่วยแก้อาการท้องผูก
สำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับท้องผูก สามารถรับประทานทานแครอทดิบเพื่อช่วยกระตุ้นการขับถ่ายได้ เนื่องจากแครอทมีไฟเบอร์สูง มีสรรพคุณที่จะช่วยให้ระบบลำไส้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
5. ช่วยบำรุงสุขภาพตา
แครอทอุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีนที่ร่างกายจะเปลี่ยนให้กลายเป็นวิตามินเอ เพื่อช่วยบำรุงสุขภาพตาให้แข็งแรง อีกทั้งเบต้าแคโรทีนยังปกป้องดวงตาจากแสงแดด ลดความเสี่ยงในการเป็นต้อกระจกและโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับดวงตาอีกด้วย1
6. ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
แครอทเป็นผักในกลุ่มผักผลไม้ 5 สี อุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีน วิตามินเอ และวิตามินซี ที่ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน และปกป้องร่างกายจากการติดเชื้อ โดยเฉพาะวิตามินเอ ที่ช่วยเสริมการทำงานของเยื่อเมือกบุผิว (Mucous Membranes) ให้แข็งแรง ไม่ให้เชื้อโรคและสารพิษต่างๆ เข้าสู่ร่างกายได้ง่าย2
ให้ผู้หญิงสุขภาพดี
มั่นใจในทุกๆ วัน
7. ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ
แครอทมีสารอาหารที่มีประโยชน์ที่ช่วยความเสี่ยงหัวใจ ประการแรก สารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยบำรุงหัวใจ ประการที่สอง โพแทสเซียมในแครอทช่วยในเรื่องการรักษาระดับความดันหลอดเลือด และประการสุดท้าย ไฟเบอร์ ช่วยควบคุมน้ำหนักและลดความเสี่ยงเกี่ยวกับโรคหัวใจ
8. ลดความเสี่ยงเป็นมะเร็ง
สารต้านอนุมูลอิสระนั้นเป็นที่ทราบกันดีว่ามีคุณสมบัติสำคัญในการยับยั้งหรือชะลอปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidation) อันเป็นสาเหตุของการเกิดอนุมูลอิสระที่จะนำไปสู่การเกิดมะเร็งได้ ซึ่งในแครอทมีสารต้านอนุมูลอิสระอยู่ 2 ชนิด คือ แคโรทีนอยด์ เป็นสารให้สีส้มหรือเหลือง และแอนโทไซยานิน เป็นสารให้สีแดงหรือม่วงที่ช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งได้
9. ปรับสมดุลให้ระดับน้ำตาลในเลือด
ผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง มักจะได้รับคำแนะนำให้รับประทานผักในกลุ่มไม่มีแป้ง (non-starchy vegetables) ซึ่งแครอทเป็นหนึ่งในผักที่ไม่มีแป้ง เนื่องจากไฟเบอร์ในแครอทมีส่วนช่วยในการปรับสมดุลระดับน้ำตาลในเลือด และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานด้วย
10. ช่วยควบคุมความดันโลหิต
แครอทมีโพแทสเซียม ซึ่งเป็นสารสำคัญที่มีผลต่อความดันโลหิต โพแทสเซียมเป็นแร่ธาตุที่ช่วยสร้างสมดุลของโซเดียม และช่วยขับโซเดียมออกจากร่างกายในรูปแบบปัสสาวะ ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องในการลดความดันโลหิตด้วย แครอทจึงเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่รับประทานอาหารที่มีโซเดียมมากเกินไป การรับประทานแครอทจะช่วยลดบวมได้นั่นเอง2
ให้ผู้หญิงสุขภาพดี
มั่นใจในทุกๆ วัน
รับประทานแครอท แบบไหนดีที่สุด
การรับประทานแครอท มีทั้งแบบรับประทานดิบ รับประทานในรูปแบบน้ำ นำไปประกอบอาหาร หรือแม้กระทั่งรับประทานผ่านอาหารเสริม แต่ละรูปแบบมีประโยชน์และเหมาะสมกับร่างกายต่างกัน ดังนี้
รับประทานแครอทดิบ
แครอทดิบถือว่ามีคุณประโยชน์มาก โดยเฉพาะสำหรับผู้หญิง เพราะมีส่วนสำคัญในการปรับสมดุลฮอร์โมนเอสโตรเจน การดีท็อกซ์สารพิษ และบำรุงผิว แต่ก็ไม่ควรรับประทานแครอทดิบในปริมาณที่มากเกินไป โดยหากกินแครอทดิบมากเกินไปจะมีปัญหาต่างๆ ในร่างกาย เช่น อาการผิวเหลืองจากการรับสารแคโรทีนอยด์มากเกินไป หรืออาการที่เกิดจากการรับไฟเบอร์มากเกินไป จนไม่สบายท้อง ท้องผูก มีปัญหาในระบบการย่อยอาหาร ตลอดจนปัญหาในด้านการดูดซึมวิตามินและแร่ธาตุ เป็นต้น3
รับประทานแครอทปรุงสุก
แครอทที่ปรุงสุกแล้ว จะมีสารอาหารปริมาณมากกว่าแครอทดิบ เพราะระหว่างการปรุงแครอทจากความร้อนนั้น จะช่วยให้แคโรทีนอยด์ในแครอทเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งช่วยเพิ่มจำนวนสารต้านอนุมูลอิสระในแครอทชิ้นนั้นๆ ด้วยนั่นเอง ในแครอทปรุงสุก ประกอบด้วยแร่ธาตุต่างๆ ดังนี้
- วิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา มีสารต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงจากโรคมะเร็งและโรคอื่นๆ
- โพแทสเซียม ช่วยขับโซเดียมและปัสาวะ
- แคลเซียม ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง ป้องกันโรคกระดูกพรุน
- ไฟเบอร์ ช่วยในเรื่องระบบขับถ่าย และการควบคุมน้ำหนัก
ดื่มน้ำแครอท
น้ำแครอท 1 แก้ว อุดมไปด้วยเบต้า-แคโรทีนและวิตามินเอเข้มข้น รวมไปถึงลูทีน ซีแซนทีน วิตามินอี และสารต้านอนุมูลอิสระ จึงมีประโยน์มากสำหรับผู้ที่ต้องการบำรุงสายตา และบำรุงหัวใจ เพราะช่วยปกป้องดวงตาจากภาวะต้อรูปแบบต่างๆ และลดคอเลสเตอรอล ความดันโลหิต รวมถึงความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ
รับประทานอาหารเสริมที่มีส่วนผสมของแครอท
อาหารเสริมที่มีส่วนผสมของเบต้า-แคโรทีนที่ได้จากแครอทจะช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นอย่างครบถ้วนในแต่ละวัน ทั้งนี้การรับประทานอาหารเสริมที่มีส่วนผสมของแครอทร่วมกับน้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส จะยิ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมได้มากขึ้น เนื่องจากวิตามินเอที่มาจากเบต้า-แคโรทีนจะสามารถละลายได้ดีในน้ำมัน
ให้ผู้หญิงสุขภาพดี
มั่นใจในทุกๆ วัน
สรุป
แครอท เป็นผักที่มีคุณประโยชน์หลากหลาย เพราะอุดมไปด้วยสารอาหารไม่ว่าจะเป็น เบต้า-แคโรทีน วิตามินเอ แคลเซียม โพแทสเซียม สารต้านอนุมูลอิสระ ที่จะช่วยในเรื่องการบำรุงสายตา บำรุงกระดูก ตลอดจนลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งบางชนิด แครอทสามารถรับประทานได้หลายรูปแบบทั้งการรับประทานแครอทดิบ แครอทปรุงสุก น้ำแครอท และอาหารเสริมที่มีส่วนผสมของแครอท สำหรับการเลือกรับประทานแครอทควรเลือกที่ผ่านการปรุงแล้ว เพราะจะได้รับเบต้า-แคโรทีนมากกว่าแบบดิบนั่นเอง