การมีรูปร่างดี ได้สัดส่วน นอกจากจะเสริมบุคลิกภาพที่ดี สร้างเสน่ห์ชวนมองต่อผู้พบเห็นแล้ว สิ่งสำคัญยิ่งกว่า คือ การบ่งบอกถึงสุขภาพ เพราะการมีน้ำหนักเกินหรือการมีไขมันสะสมตามส่วนต่างๆ ของร่างกายอาจสร้างความเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายต่างๆ ได้ เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด ฯลฯ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ได้รับความสนใจมากขึ้นสำหรับผู้ที่ต้องการลดและควบคุมน้ำหนักเพื่อให้มีรูปร่างและสุขภาพที่ดี เช่น ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารซีแอลเอ (CLA) ซึ่งช่วยให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานที่ได้จากไขมันได้ดี ขณะเดียวกันยังคงมวลกล้ามเนื้อได้อีกด้วย
มารู้จักภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนกันก่อน
ภาวะน้ำหนักเกิน (Over-weight) คือ สภาวะที่ร่างกายมีน้ำหนักไม่ได้สัดส่วนที่เหมาะสมกับส่วนสูง โดยมีค่ามาตรฐานที่ใช้บ่งบอก คือ ค่า BMI (Body Mass Index) หรือเรียกว่า “ค่าดัชนีมวลกาย” คนที่อยู่ในภาวะน้ำหนักเกิน หรืออ้วนจะมีค่า BMI มากกว่า 23 (สำหรับคนเอเชีย) และมากกว่า 25 (สำหรับคนยุโรป) ส่วนโรคอ้วน (Obesity) คือ ภาวะน้ำหนักเกินในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยเน้นที่ปริมาณของไขมันหรือมวลของไขมันที่เพิ่มขึ้น
ความอ้วนเกิดจากหลายปัจจัย เช่น พันธุกรรม เพศ อายุ พฤติกรรมการรับประทานอาหาร กิจกรรมประจำวัน โรคและการใช้ยาบางชนิด ตลอดจนความเครียดและการเจ็บป่วย ซึ่งทำให้เกิดผลเสียตามมาหลายอย่าง เช่น
- สร้างความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่น
- โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเส้นหลอดเลือดหัวใจตีบ เส้นเลือดในสมองแตกหรือตีบ
- โรคข้อและกระดูก เนื่องจากน้ำหนักที่มากขึ้นจะทำให้ข้อรับน้ำหนักมากขึ้น
- โรคมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งในตับอ่อน (Pancreatic Cancer)
- โรคเบาหวานประเภทที่ 2 และโรคนิ่วในถุงน้ำดี
- โรคเกี่ยวกับระบบหายใจ เช่น การหายลำบาก หรือมีการกรนรุนแรงขึ้น
- เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ได้ยากขึ้น และมีผลต่อการคลอด
- สูญเสียเรื่องของบุคลิกภาพ มีผลต่อจิตใจ ทำให้เกิดความวิตกกังวลและขาดความมั่นใจ
CLA คืออะไร
CLA ย่อมาจาก Conjugated Linoleic Acid เป็นกรดไขมันโครงสร้างพิเศษ ในกลุ่มกรดไขมันจำเป็นชนิดโอเมก้า-6 (Essential omega-6 Fatty Acid) ช่วยให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานที่ได้จากไขมันได้ดี ขณะเดียวกันยังคงมวลกล้ามเนื้อได้ด้วย จึงนิยมใช้กันมากในกลุ่มนักกีฬา CLA เป็นสารที่พบได้จากโปรตีนในเนื้อวัว นม และไข่ แต่อาหารเหล่านี้มีปริมาณไขมันและพลังงานที่สูงด้วยเช่นกันซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดไขมันอุดตันและโคเลสเตอรอลในเลือดสูงหากได้รับในปริมาณมาก นอกจากนี้ยังสามารถพบ CLA ในน้ำมันดอกคำฝอย (Safflower oil) และน้ำมันดอกทานตะวัน (Sunflower oil) โดยปริมาณที่พบในน้ำมันดอกคำฝอยจะมีมากกว่าปริมาณที่พบในน้ำมันดอกทานตะวัน
กลไกการทำงานของ CLA มีผลต่อหลายระบบในร่างกาย เช่น
- สามารถลดการสร้าง PGE2 ซึ่งเป็นสารที่เร่งการทำลายโปรตีนของกล้ามเนื้อลาย ดังนั้น CLA จึงมีผลในการยับยั้งการทำลายโปรตีนในกล้ามเนื้อลายได้
- ลดการสร้างและการตอบสนองต่อสาร Cytokines ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดภาวะน้ำหนักเกิน
- มีผลต่อการทำงานของสาร PPAR ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ไขมัน
- มีผลต่อระบบประสาทซิมพาเทติค (Sympathetic Nervous System)
- เพิ่มการทำลายกรดไขมันและเพิ่มอัตราการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย
- ทำลายไขมันในเซลล์กล้ามเนื้อและเซลล์ในไขมัน
- มีผลต่อ Growth Hormone และ Growth Factors ซึ่งสารเหล่านี้มีผลในการเพิ่มกล้ามเนื้อและลดมวลไขมัน
งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์การแพทย์พบว่า CLA สามารถช่วยลดมวลไขมันในร่างกาย โดยเฉพาะช่วงเอวและหน้าท้อง โดยที่ไม่มีผลต่อน้ำหนักตัว ค่า BMI และมวลกล้ามเนื้อ จึงมีผลในการช่วยลดน้ำหนักโดยที่มวลกล้ามเนื้อยังคงอยู่