แครนเบอร์รี ช่วยลดภาวะที่ร่างกายมีสารอนุมูลอิสระมากเกินไป ช่วยลดปัจจัยที่ทำให้เกิดการอักเสบ ต้านโอกาสเกิดเซลล์มะเร็ง และดูแลสุขภาพในช่องปาก

Cranberry (แครนเบอร์รี) คืออะไร?

แครนเบอร์รี ถือกำเนิดในหนองน้ำทวีปอเมริกาเหนือ และเป็นผลไม้กลุ่มเบอร์รีชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเป็นทรงกลม แข็ง เล็ก และมีสีแดง อยู่ในกลุ่มไม้พุ่มแคระไม่ผลัดใบ มีลำต้นเป็นเถายาว1 มีรสชาติหวานอมเปรี้ยว ประกอบไปด้วยคาร์โบไฮเดรต และเส้นใยเป็นหลัก ทั้งนี้ยังอุดมไปด้วยวิตามิน และแร่ธาตุหลายชนิด โดยเฉพาะเควิซิทิน (Quercetin) พีโอนิดิน (Peonidin) และวิตามินซี หรือรู้จักกันในชื่อกรดแอสคอร์บิก ซึ่งเป็นหนึ่งในสารต้านอนุมูลอิสระที่โดดเด่นในแครนเบอร์รี

นอกจากนี้ ยังมีวิตามินอี วิตามินเค 1 วิตามินเค 2 และทองแดง3 ที่ล้วนเป็นสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายทั้งสิ้น นอกจากนี้ แครนเบอร์รียังมีกรดซาลิไซลิก (Salicylic Acid) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของยาแอสไพรินที่เรานำมาบรรเทาอาการบวม ป้องกันอาการเกิดลิ่มเลือด และอาจช่วยต้านเซลล์มะเร็งได้อีกด้วย4

ประโยชน์ของ Cranberry

จากผลการวิจัยพบว่า สารอาหาร และวิตามินต่างๆ ในแครนเบอร์รีนั้นมีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย นอกจากจะช่วยทำให้ผิวพรรณชุ่มชื้น แครนเบอร์รียังช่วยป้องกันโรค รักษาโรค และทำให้สุขภาพของร่างกายด้านต่างๆ ดีขึ้นด้วย โดยประโยชน์ของแครนเบอร์รีจะมีดังนี้

เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

แครนเบอร์รีมีสารอาหาร และวิตามินต่างๆ มากมาย และยังประกอบไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น แคทีชิน (Catechin), ไตรเทอร์พีนอยด์ (Triterpenoid) และโปรแอนโทไซยานิดิน (Proanthocyanidins)6 ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย และป้องกันโรคภัยไข้เจ็บที่อาจเกิดขึ้นได้

โดยจากการศึกษาพบว่า แครนเบอร์รีมีฤทธิ์ต้านไวรัสสูง และแครนเบอร์รีมีจุลินทรีย์ที่ช่วยชะลอการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคต่างๆ เช่น เอสเชอริเชีย โคไล (Escherichia coli) ที่ทำให้ท้องร่วง และเกิดโรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ, ลิสเทอเรีย โมโนไซโตจิเนส (Listeris monocytogenes) ที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และสแตฟฟิโลคอกคัส (Staphylococcus) ที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ แผลพุพอง และอาหารเป็นพิษได้9

จากการศึกษาในหลอดทดลองพบว่า แครนเบอร์รีมีคุณสมบัติในการกำจัดอนุมูลอิสระพอๆ กันกับวิตามินอี หรืออาจจะดีกว่า และภายหลังจากดื่มน้ำแครนเบอร์รี ระดับสารต้านอนุมูลอิสระในเลือดจะเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าการบริโภควิตามินซีในปริมาณเท่ากันอีกด้วย

ผสานคุณค่า วิตามิน
เกลือแร่ และไฟโตนิวเทรียนท์

มีส่วนช่วยในเรื่องระบบทางเดินปัสสาวะ

หากมีการสะสมของแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะมาก จะส่งผลให้เกิดโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบได้ แต่แครนเบอร์รีมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และมีส่วนช่วยลดจำนวนแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ จึงสามารถป้องกันการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะได้ดี เพราะสารประกอบในแครนเบอร์รีอย่าง Proanthocyanins จะช่วยป้องกันแบคทีเรียที่จะมาเกาะตัวตามผนังกระเพาะปัสสาวะได้

จากการวิจัยของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดพบว่า การดื่มน้ำแครนเบอร์รีวันละ 300 ml จะช่วยลดจำนวนของแบคทีเรียในปัสสาวะลง และช่วยป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะปัสสาวะได้6

มีส่วนช่วยชะลอความเสื่อมของจอประสาทตา

กลุ่มผลไม้ตระกูลเบอร์รีมีประโยชน์ในการช่วยดูแลสายตา แครนเบอร์รีก็เป็นหนึ่งในนั้น เนื่องจากในแครนเบอร์รีนั้นอุดมไปด้วยลูทีน และซีแซนทีน (Lutein & Zeaxanthin) ซึ่งมีส่วนในการช่วยชะลอความเสื่อมของจอประสาทตา

และยังช่วยป้องกันรังสีจากแสงแดดที่อาจเป็นอันตรายต่อดวงตาได้6 นอกจากนี้ ยังช่วยปกป้องเซลล์ของจอประสาทตาไม่ให้ถูกทำลายอีกด้วย

จากการวิจัยพบว่า แทนนินที่มีความเข้มข้นสูงจากน้ำแครนเบอร์รี มีฤทธิ์ในการขับไล่อนุมูลอิสระได้ดีกว่า จึงสามารถป้องกันเซลล์ ARPE-19 (การเลียนแบบการเสื่อมสภาพตาตามอายุ) แครนเบอร์รีจึงสามารถชะลอความเสื่อมสภาพของจอประสาทตาได้11

เสริมสร้างสุขภาพให้ช่องปาก

ในช่องปากของเรานั้นนับว่าเป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรียชั้นดี และแครนเบอร์รีก็มีส่วนช่วยในการยับยั้งการรวมตัวกันของแบคทีเรียได้หลายชนิดที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคทางช่องปากได้ เช่น การเกิดคราบหินปูน อาการฟันผุ โรคเหงือกอักเสบ6 เป็นต้น และจากการศึกษาพบว่าผลเบอร์รีสีเข้มอุดมไปด้วยสารโพลีฟีนอลซึ่งสามารถออกฤทธิ์เพื่อป้องกันโรคฟันผุได้1,2

บรรเทาอาการไข้หวัด

จากการศึกษาหนึ่งแสดงให้เห็นว่า การกินผลไม้รสเปรี้ยวอย่างแครนเบอร์รีสามารถช่วยบรรเทาอาการไข้หวัดได้ มีการทดลองเล็กๆ โดยการบริโภคน้ำแครนเบอร์รีปริมาณ 450 มิลลิกรัมเป็นประจำทุกวัน 10 สัปดาห์ พบว่าช่วยบรรเทาอาการของไข้หวัดได้ เนื่องจากแครนเบอร์รีประกอบไปด้วยสารพอลีฟีนนอล และสาร Proanthocyanins ที่เป็นประโยชน์ต่อระบบภูมิคุ้มกัน4

ผสานคุณค่า วิตามิน
เกลือแร่ และไฟโตนิวเทรียนท์

มีส่วนช่วยในเรื่องสุขภาพลำไส้

แครนเบอร์รีมีส่วนช่วยในการยับยั้งการเกาะตัวของเชื้อแบคทีเรียอีโคไล (E.coli) หรือเชื้อที่ทำให้เกิดอาการท้องร่วงรุนแรง แครนเบอร์รีสามารถลดจำนวนแบคทีเรียในลำไส้ของคนที่ทานเนื้อสัตว์เป็นหลัก และยังช่วยลดกรดน้ำดีในลำไส้ที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งทางเดินอาหารได้อีกด้วย

จากการทดลอง พบว่า น้ำแครนเบอร์รี แครนเบอร์รีแห้ง และสารสกัดจากแครนเบอร์รีต่างๆ มีโพลีฟีนอลไอโซพรีนอยด์ และโอลิโกแซ็กคาไรด์ ที่ทำงานได้ดีในระบบทางเดินอาหาร ลดการอักเสบ ดูแลเซลล์เยื่อบุผิวในลำไส้ และจุลินทรีย์ในลำไส้10

ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ

แครนเบอร์รีเป็นผลไม้ที่ส่งผลดีต่อสุขภาพหัวใจ ช่วยลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ เพราะมีสารต้านอนุมูลอิสระกลุ่มฟลาโวนอยด์ (Anthocyanin, Flavonoids, Proanthocyanidins)6

น้ำแครนเบอร์รี หรือสารสกัดจากแครนเบอร์รีมีประโยชน์กับผู้ที่มีความเสี่ยงโรคหัวใจ ซึ่งจากการวิจัยพบว่าสารสกัดแครนเบอร์รีสามารถช่วยเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลชนิดดี ลดระดับคอเลสเตอรอลไม่ดีในผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ ลดความดันโลหิต และลดความแข็งตึงของหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคหัวใจได้6

มีส่วนช่วยชะลอการลุกลามของมะเร็ง

แครนเบอร์รีมีส่วนช่วยป้องกันมะเร็ง และต้านการกลายพันธุ์ของเซลล์ในร่างกายได้ จากรายงานทางการแพทย์เกี่ยวกับการกินแครนเบอร์รีพบว่า สามารถช่วยลดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด และมะเร็งลำไส้13 เป็นต้น

จากการศึกษาพบว่า สารประกอบฟลาโวนอยด์ (Proanthocyanidins) ที่พบได้มากในผลแครนเบอร์รี จะเป็นตัวเหนี่ยวนำให้เกิดการตายของเซลล์มะเร็ง6 แครนเบอร์รีจึงเป็นตัวเลือกที่ดีที่จะนำมาพัฒนาเป็นยาต้านมะเร็งต่อได้

วิธีการกิน Cranberry

เราสามารถกินแครนเบอร์รีได้หลายวิธี ทั้งแบบสดๆ หรือจะนำมาประกอบอาหาร และเครื่องดื่มก็ได้ นอกจากนี้ยังสามารถกินแบบเป็นอาหารเสริมก็ได้เช่นกัน ซึ่งการกินในแต่ละแบบจะได้รับประโยชน์ที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

อาหารเสริม

อาหารเสริมที่ทำจากแครนเบอร์รี มักจะอยู่ในรูปแบบเม็ดยา หรือแคปซูล ซึ่งทำจากแครนเบอร์รีแบบผงแห้ง มีประโยชน์เช่นเดียวกับแครนเบอร์รีสด แต่ในแบบแคปซูลบางชนิดก็อาจจะมีส่วนผสมอื่นๆ เพื่อบำรุงสุขภาพในด้านอื่นๆ ด้วยเช่นกัน ซึ่งการกินแครนเบอร์รีแบบอาหารเสริมจะไม่มีการเติมน้ำตาล และควบคุมปริมาณที่เหมาะสมต่อร่างกายได้ง่าย

นอกจากนี้ แครนเบอร์รีแบบแคปซูลมีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระที่มีความเข้มข้นสูงกว่าผลไม้สด หรือจากการแปรรูปอื่นๆ จึงกล่าวได้ว่า การกินแครนเบอร์รีแบบอาหารเสริมจะได้สารอาหารที่ตอบโจทย์มากกว่า โดยไม่ต้องกินน้ำตาลมากเกินความจำเป็นเหมือนการกินแบบสดๆ หรือนำไปประกอบอาหารนั่นเอง

ผสานคุณค่า วิตามิน
เกลือแร่ และไฟโตนิวเทรียนท์

กินแบบสดๆ

แครนเบอร์รีเป็นผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวอมหวาน สามารถกินได้สดๆ โดยอาจจะเคี้ยวทั้งลูก กินแบบสลัด หรือจะกินกับแพนเค้กก็ได้ ซึ่งถ้ารู้สึกว่าเปรี้ยวเกินไปก็อาจจะนำมากินคู่กับเกลือก็ได้เช่นกัน

นำไปประกอบอาหาร

แครนเบอร์รีสามารถนำมาประกอบอาหารเพื่อเพิ่มความอร่อย และเพิ่มความหอมหวานได้หลากหลาย ได้แก่ การนำมาทำเป็นซอส แยม หรือจะนำมาผสมกับเครื่องดื่มก็อร่อยไม่แพ้กัน

ผู้ที่ควรระวังในการกิน Cranberry

แครนเบอร์รีนั้นไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายก็จริง แต่ต้องกินในปริมาณที่เหมาะสม โดยปริมาณที่แนะนำสำหรับผู้ใหญ่สามารถกินอาหารเสริมที่มีสารสกัดแครนเบอร์รีไม่เกิน 1,500 มก. ต่อวัน แต่หากเป็นน้ำแครนเบอร์รีสำเร็จรูปส่วนใหญ่จะมีรสหวานมาก จึงควรเลือกดื่มน้ำแครนเบอร์รีสดที่ไม่เติมน้ำตาล และไ่ม่ใส่วัตถุกันเสีย ในปริมาณไม่เกิน 750 มล. ต่อวัน7 เพราะหากดื่มน้ำแครนเบอร์รีมากกว่าวันละ 1 ลิตร อาจเพิ่มความเสี่ยงเกิดนิ่วในไตได้อีกด้วย4

แม้แครนเบอร์รีจะมีประโยชน์ แต่ในบางคนอาจจะมีผลข้างเคียงจากการกินแครนเบอร์รีได้ โดยกลุ่มคนที่ควรระมัดระวังในการกินแครนเบอร์รีเป็นพิเศษ มีดังนี้

  • สตรีมีครรภ์ หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร
  • เด็ก แต่ถ้าควบคุมปริมาณอย่างเหมาะสม ก็จะไม่เป็นอันตราย
  • ที่แพ้ยาแอสไพริน เนื่องจากแครนเบอร์รีประกอบไปด้วยกรดซาลิไซลิก ซึ่งเป็นส่วนประกอบของยาแอสไพริน4
  • ผู้ที่กำลังใช้ยาวาร์ฟาริน แครนเบอร์รีอาจจะไปเพิ่มการทำงานของวาร์ฟารินจนทำให้เลือดแข็งตัวช้ากว่าปกติ ซึ่งจะทำให้เกิดแผลฟกซ้ำ หรือมีเลือดออกได้ง่าย อาจจะต้องปรับปริมาณยาที่ใช้อยู่ และไปตรวจเลือดเป็นประจำ4
  • ผู้ป่วยเยื่อบุกระเพาะอาหารอักเสบ และผู้ที่มีกรดในกระเพาะต่ำ เพราะแครนเบอร์รีจะไปกระตุ้นให้ร่างกายดูดซึมวิตามินเพิ่มมากขึ้น อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงต่างๆ เช่น คลื่นไส้ ท้องเสีย ความดันโลหิตต่ำ หรือมีผื่นคัน4
  • ผู้ป่วยนิ่วในไต เนื่องจากแครนเบอร์รีมีสารออกซาเลต (Oxalate) เมื่อสารตัวนี้จับตัวกับแคลเซียม จะเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดนิ่วในไตได้4
  • ผู้ป่วยเบาหวาน น้ำแครนเบอร์รีมีส่วนผสมของน้ำตาลค่อนข้างมาก จึงควรเลือกดื่มน้ำแครนเบอร์รีที่มีน้ำตาลน้อย4

ผสานคุณค่า วิตามิน
เกลือแร่ และไฟโตนิวเทรียนท์

สรุป

แครนเบอร์รีเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ โดยส่วนประกอบเหล่านี้มีส่วนช่วยป้องกันโรคต่างๆ และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายได้ดี นอกจากนี้ แครนเบอร์รีสามารถกินได้หลายวิธี แต่แนะนำให้กินเป็นอาหารเสริมจะได้ประโยชน์สูงสุด เพราะจะมีปริมาณสารอาหารที่เข้มข้น และควบคุมปริมาณได้ง่ายกว่าแบบกินสดๆ หรือแบบสกัด และถึงแม้ว่าประโยชน์ของแครนเบอร์รีจะมีมากมาย แต่ก็ควรกินในปริมาณที่เหมาะสมต่อร่างกาย และควรระมัดระวังในการกิน เพราะอาจเกิดผลข้างเคียงที่อันตรายได้

ข้อมูลอ้างอิง
  1. Kim Rose-Francis. What to know about cranberries. medicalnewstoday.com. Published 9 February 2023. Retrieved 28 November 2023
  2. Food Wiki. Cranberry/แครนเบอร์รี. foodnetworksolution.com. Retrieved 24 November 2023
  3. วิชัยยุทธ. 5 ประโยชน์จากแครนเบอร์รี. vichaiyut.com. Published 20 January 2022. Retrieved 24 November 2023
  4. POBPAD. แครนเบอร์รี ดีต่อสุขภาพจริงหรือ?. pobpad.com. Retrieved 24 November 2023
  5. Mahammad Juber,MD. Cranberries. webmd.com. Published 23 September  2022. Retrieved 24 November 2023
  6. เมดไทย. แครนเบอร์รี สรรพคุณประโยชน์ของแครนเบอรี่ 24 ข้อ!. medthai.com. Published 5 August 2020. Retrieved 24 November 2023
  7. WEBMD. Cranberry-Uses, Side Effects, And More. webmd.com. Retrieved 24 November 2023
  8. Atli Arnarson BSc, PhD and Rena Goldman. Get the Facts: The Health Benefits of Cranberry Juice. healthline.com. Published 8 February 2023. Retrieved 24 November 2023
  9. Boris V. Nemzer, Fadwa Al-Taher, Alexander Yashin, Igor Revelsky and Yakov Yashin. Cranberry: Chemical Composition, Antioxidant Activity and Impact on Human Health: Overview. ncbi.nlm.nih.gov. Published 23 February 2023. Retrieved 24 November 2023
  10. Jeffrey B Blumberg, Arpita, Christian G Krueger, Mary Ann Lila, Catherine C Neto, Janet A Novotny, Jess D Reed, Ana Rodriguez-Mateos and Cheryl D Toner. Impact of Cranberries on Gut Microbiota and Cardiometabolic Health: Proceedings of the Cranberry Health Research Conference 2015. nbi.nlm.nih.gov. Published 11 July 2016. Retrieved 24 November 2023
  11. Chi-Huang Chang, Hui-Fang Chiu, Yi-Chun Han, I-Hsien Chen, You-Cheng Shen, Kamesh Venkatakrishana and Chin-Kun Wang. Photoprotective effects of cranberry juice and its various fractions against blue light-induced impairment in human retinal pigment epithelial cells. nbi.nlm.nih.gov. Published 9 December 2016. Retrieved 24 November 2023
  12. Nebu Philip, H M H N Bandara, Shaneen J Leishman, Laurence J Walsh. Inhibitory effects of fruit berry extracts on Streptococcus mutans biofilms. pubmed.ncbi.nlm.nih.gov. Published 28 December 2018. Retrieved 24 November 2023
  13. Katherine M. Weh, Jennifer Clarke, Laura A. Kresty. Cranberries and Cancer: An Update of Preclinical Studies Evaluating the Cancer Inhibitory Potential of Cranberry and Cranberry Derived Constituents. ncbi.nlm.nih.gov. Published 5 September 2018. Retrieved 9 January 2024
shop now