สารสกัดจากเมล็ดองุ่น หรือ เกรปซีด (Grape Seed) มีสรรพคุณในการสร้างภูมิคุ้มกัน บำรุงระบบหมุนเวียนเลือด สร้างคอลลาเจน บำรุงกระดูก บำรุงสมอง ตับ ไต ยับยั้งเชื้อรา ต้านมะเร็ง และช่วยสมานแผล

Grape Seed คืออะไร?

องุ่นนอกจากจะนำเนื้อไปกินหรือทำเป็นเครื่องดื่มไว้ดื่มแล้ว ยังมีการนำเมล็ดองุ่น หรือ Grape Seed มาใช้เป็นยาหรือสมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อร่างกายด้วย เพราะในเมล็ดองุ่นมีสารโอลิโกเมอริก โปรแอนโธไซยานิดินส์ (Oligomeric Proanthocyanidins) หรือ OPCs ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยต้านอนุมูลอิสระ สามารถช่วยป้องกันโรคและป้องกันไม่ให้เซลล์ต่างๆ ในร่างกายถูกทำลายจากอนุมูลอิสระได้6 จึงนิยมนำมาสกัดจนเป็นสารสกัดจากเมล็ดองุ่น หรือ Grape Seed Extract โดยส่วนใหญ่สารสกัดจากเมล็ดองุ่นมักได้มาจากเมล็ดที่อยู่ในองุ่นพันธุ์ Vitis vinifera เป็นองุ่นป่าที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบเมดิเตอร์เรเนียน ยุโรปกลางและตะวันออกเฉียงใต้ของเอเชียบริเวณทะเลคัสเปียน10 นิยมปลูกเพื่อกินแบบสดๆ นำไปหมักทำไวน์ แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ รวมถึงนำมาทำเป็นสารสกัดเพื่อใช้ในทางการแพทย์

ประโยชน์ของสารสกัดเมล็ดองุ่น

สารสกัดจากเมล็ดองุ่น อุดมไปด้วยสารอาหารมากมายที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เป็นแหล่งรวมวิตามิน แร่ธาตุ กรดไขมัน และสารต้านอนุมูลอิสระประสิทธิภาพสูง จึงมีประโยชน์ต่อร่างกายในด้านต่างๆ ดังนี้

สร้างคอลลาเจน และบำรุงกระดูก

สารฟลาโวนอยด์ในเมล็ดองุ่นมีประโยชน์ในการเสริมสร้างมวลกระดูก ช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์สร้างกระดูก (Osteoclast) และยับยั้งการการทำงานของเซลล์สลายกระดูก (Osteoblast)2 จึงช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน ลดการอักเสบเรื้อรังและการทำลายกระดูกจากโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ อีกทั้งยังจับกับโครงสร้างคอลลาเจนโดยตรง และช่วยยับยั้งเอนไซม์คอลลาจีเนส (Collagenase) และอิลาสเตส (Elastase) ที่เป็นตัวการทำลายคอลลาเจน

บำรุงจากภายในเพื่อผู้หญิงโดยเฉพาะ
Woman says YES!

สร้างภูมิคุ้มกัน

สารสกัดจากเมล็ดองุ่นมีวิตามินอี และสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด โดยเฉพาะสารโปรแอนโทไซยานิดิน (Proanthocyanidins) ไฟโตนิวเทรียนท์กลุ่มฟลาโวนอยด์ สุดยอดสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพเหนือกว่าวิตามินซี วิตามินอี และเบต้าแคโรทีน1 ช่วยเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันให้มีประสิทธิภาพ ยับยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชัน ช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย

ช่วยเรื่องระบบไหลเวียนเลือด

สามารถนำพาสารอาหารไปหล่อเลี้ยงเซลล์ต่างๆ ได้ดี เช่น รากผม โคนเล็บ ช่วยยับยั้งเอนไซม์ไฮยาลูโรนิเดส (Hyaluronidase) และเบต้า-กลูคิวโรนิเดส (Beta-glucuronidase) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ทำให้เกิดการเสื่อมหรือเกิดการตายของผนังหลอดเลือด ส่งผลให้หลอดเลือดบางและฉีกขาดง่าย

ดังนั้นสารสกัดจากเมล็ดองุ่นจึงช่วยยับยั้งการทำลายผนังหลอดเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ความดันโลหิตลดลง ลดอัตราการเต้นของหัวใจ และความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือด รวมถึงป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดได้

ลดคอเลสเตอรอล

สารสกัดเมล็ดองุ่นมีส่วนช่วยลดระดับ LDL-Cholesterol ซึ่งเป็นไขมันชนิดไม่ดี รวมถึงช่วยยับยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชันของไขมันในหลอดเลือด จากการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดความผิดปกติของผนังหลอดเลือด และทำให้หลอดเลือดตีบ แตก หรืออุดตันได้

บำรุงสมอง

กรดแกลลิก (Gallic acid) ซึ่งเป็นสารฟลาโวนอยด์ในเมล็ดองุ่น มีคุณสมบัติเป็นทั้งสารต้านอนุมูลอิสระ และสารต้านการอักเสบ ช่วยบำรุงสมอง ชะลอและป้องกันความเสื่อมของระบบประสาท ป้องกันการจับตัวของโปรตีนที่ชื่อว่าเบต้าอะไมลอยด์ (Beta-amyloid) กับเซลล์สมอง ซึ่งเป็นสาเหตุให้เซลล์สมองเสื่อม และนำไปสู่โรคอัลไซเมอร์3

ซึ่งเป็นสาเหตุให้เซลล์สมองเสื่อม และนำไปสู่โรคอัลไซเมอร์3โดยผลจากงานวิจัยชิ้นหนึ่งระบุว่า ผู้สูงอายุที่ได้รับสารสกัดจากเมล็ดองุ่นวันละ 250 มิลลิกรัม ติดต่อกัน 12 สัปดาห์ มีภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวลลดลง ในขณะที่มีพัฒนาการทางด้านสมาธิ ความจำ รวมถึงการใช้ภาษาที่ดีขึ้น4

ช่วยบำรุงไต

เมล็ดองุ่นมีสารโพลีฟีนอล ที่ช่วยเสริมการทำงานของไตให้มีประสิทธิภาพ ปกป้องไตจาก Oxidative stress หรือภาวะที่ร่างกายมีอนุมูลอิสระมากเกินสมดุลจนทำให้เกิดการอักเสบ และส่งผลต่อการทำงานของไต นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ยืนยันว่า สารสกัดจากเมล็ดองุ่นมีส่วนช่วยลดการอักเสบ และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของไตในกลุ่มผู้ป่วยไตเรื้อรังได้อีกด้วย5

ช่วยบำรุงตับ

ผลจากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยที่มีไขมันพอกตับ เมื่อได้รับสารสกัดจากเมล็ดองุ่นติดต่อกันเป็นเวลา 3 เดือน มีค่า ALT ที่เป็นตัวบ่งชี้ความผิดปกติในเซลล์ตับและภาวะตับอักเสบลดลงถึง 46%6 เนื่องจากเมล็ดองุ่นมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลดการอักเสบ ลดการเกิดอนุมูลอิสระ ป้องกันและลดภาวะไขมันพอกตับ ซึ่งอาจนำไปสู่โรคตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็ง หรือมะเร็งตับได้

ยับยั้งเชื้อรา

เมล็ดองุ่นสกัดมีสรรพคุณเป็นยาแผนโบราณใช้รักษาโรคที่เกิดจากเชื้อรา เนื่องจากมีสารฟลาโวนอยด์ปริมาณสูง ช่วยออกฤทธิ์ต้านการอักเสบ และยับยั้งเชื้อราแคนดิดา (Candida)7 ซึ่งเป็นเชื้อยีสต์ที่มีในร่างกายทุกคน แต่หากมีจำนวนมากกว่าปกติจะก่อให้เกิดโรค เช่น เชื้อราในช่องคลอด เชื้อราในช่องปาก เป็นต้น ผลจากการวิจัยพบว่า เมื่อให้สารสกัดจากเมล็ดองุ่นกับตัวทดลองที่ติดเชื้อราในช่องคลอดติดต่อกันทุก 2 วัน เชื้อลดลงภายใน 5 วัน และหายดีภายใน 8 วัน6

ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็ง

จากการศึกษาในห้องปฏิบัติการพบว่า สารสกัดจากเมล็ดองุ่นมีประสิทธิภาพช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งในเต้านม ปอด ตับ กระเพาะอาหาร ช่องปาก และต่อมลูกหมาก อีกทั้งยังมีงานวิจัยอื่นๆ ที่ระบุว่าสารสกัดจากเมล็ดองุ่นช่วยลดผลข้างเคียงจากการทำเคมีบำบัด8 เช่น ลดความเป็นพิษต่อตับจากการใช้ยา Doxorubicin (Dox) ที่ส่งผลกระทบต่อตับและหัวใจในผู้ป่วยมะเร็งด้วย9

ช่วยสมานแผล

สารสกัดจากเมล็ดองุ่นมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ และช่วยกระตุ้นกระบวนการสร้างเซลล์ผิวใหม่ จึงสามารถช่วยสมานแผล ทำให้แผลหายไวได้ ผลการทดลองในกลุ่มผู้ที่มีแผลผ่าตัดขนาดเล็กจำนวน 35 คน พบว่าผู้ที่ใช้ครีมที่มีสารสกัดจากเมล็ดองุ่น 2% แผลหายภายใน 8 วัน และหายเร็วกว่าผู้ที่ใช้ยาหลอกถึง 6 วัน6

วิธีกินสารสกัดจากเมล็ดองุ่น

สารสกัดจากเมล็ดองุ่นมีจำหน่ายหลายรูปแบบ ทั้งในรูปแบบแคปซูล ยาเม็ด ของเหลว ปริมาณที่แนะนำต่อวันคือ 100 มิลลิกรัม โดยรับประทานครั้งละ 50 มิลลิกรัม ช่วงเช้าและเย็น แต่หากมีโรคประจำตัว หรือต้องกินยาชนิดอื่นอยู่ ควรปรึกษาแพทย์ก่อน นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการกินสารสกัดจากเมล็ดองุ่นในผู้ที่กำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เป็นโรคเลือดไหลไม่หยุด หรือก่อนเข้ารับการผ่าตัด เนื่องจากจะส่งผลต่อการแข็งตัวของเลือด และไม่ควรกินคู่กับยาลดความดันโลหิต ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น Warfarin (Coumadin), Clopidogrel (Plavix) รวมถึงแอสไพริน เพราะจะออกฤทธิ์ซ้ำซ้อนกัน

บำรุงจากภายในเพื่อผู้หญิงโดยเฉพาะ
Woman says YES!

ผลข้างเคียงที่ควรระวังจากการกินสารสกัดจากเมล็ดองุ่น

สารสกัดจากเมล็ดองุ่นมีคุณประโยชน์มากมาย แต่ควรพิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนซื้อมากิน เพราะอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น คลื่นไส้ เวียนหัว ปวดศีรษะ ปวดท้อง อาการแพ้ในผู้ที่แพ้องุ่น เป็นต้น

สรุป

สารสกัดจากเมล็ดองุ่น เป็นอาหารเสริมที่อุดมไปด้วยสารอาหาร โดยเฉพาะสารต้านอนุมูลอิสระที่ปริมาณสูง ช่วยต้านการอักเสบ และลดภาวะ Oxidative stress ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเรื้อรังต่างๆ อีกทั้งยังช่วยบำรุงสมอง หัวใจ กระดูก ตับ ไต ระบบไหลเวียนโลหิต ฯลฯ แต่ควรกินในปริมาณที่เหมาะสม ตามคำแนะนำบนบรรจุภัณฑ์ หรือสอบถามแพทย์และเภสัชกรก่อนเพื่อความปลอดภัย

ข้อมูลอ้างอิง
  1. Joseph Nordqvist. What are the benefits of grape seed extract?. Medicalnewstoday.com. Published 13 July 2013. Retrieved 23 November 2023.
  2. Jin-Sil Park, et al. Grape-seed proanthocyanidin extract as suppressors of bone destruction in inflammatory autoimmune arthritis. Pubmed.ncbi.nlm.nih.gov. Published 10 July 2012. Retrieved 23 November 2023.
  3. Yanqin Liu, et al. Gallic acid is the major component of grape seed extract that inhibits amyloid fibril formation. Pubmed.ncbi.nlm.nih.gov. Published 1 August 2013. Retrieved 23 November 2023. 
  4. Gioacchino Calapai, et al. A Randomized, Double-Blinded, Clinical Trial on Effects of a Vitis vinifera Extract on Cognitive Function in Healthy Older Adults. Pubmed.ncbi.nlm.nih.gov. Published 31 October 2017. Retrieved 23 November 2023. 
  5. Khaoula Turki, et al. Grape seed powder improves renal failure of chronic kidney disease patients. Pubmed.ncbi.nlm.nih.gov. Published 27 June 2016. Retrieved 23 November 2023.
  6. Caroline Hill. 10 Benefits of Grape Seed Extract, Based on Science. Healthline.com. Published 23 October 2023. Retrieved 23 November 2023.
  7. BioMed Research International. Evaluation of Anti-Candida Activity of Vitis vinifera L. Seed Extracts Obtained from Wine and Table Cultivars. Ncbi.nlm.nih.gov. Published 23 April 2014. Retrieved 23 November 2023.
  8. Oluwadamilola O Olaku, et al. The Role of Grape Seed Extract in the Treatment of Chemo/Radiotherapy Induced Toxicity: A Systematic Review of Preclinical Studies. Pubmed.ncbi.nlm.nih.gov. Published 16 April 2015. Retrieved 23 November 2023.
  9. Meherzia Mokni, et al. Efficacy of grape seed and skin extract against doxorubicin-induced oxidative stress in rat liver Pubmed.ncbi.nlm.nih.gov. Published 28 November 2015. Retrieved 23 November 2023.
  10. WebMD Editorial Contributors. Grape Seed Extract: Health Benefits, Nutrition, and Uses. webmd.com. Retrieved 23 November 2023.
shop now