อินูลินเป็นใยอาหารกลุ่มพรีไบโอติกที่มีประโยชน์ต่อแบคทีเรียในทางเดินอาหารส่วนล่าง ช่วยกระตุ้นให้แบคทีเรียดีเจริญเติบโต เสริมการทำงานให้ลำไส้มีสมดุลไมโครไบโอมที่สมดุล

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า พรีไบโอติก กันมาไม่มากก็น้อย รวมไปถึงสรรพคุณของพรีไบโอติกที่ช่วยบำรุงร่างกายได้หลายส่วนและเป็นส่วนสำคัญต่อการสร้างสมดุลร่างกาย ผู้ที่รักษาสุขภาพจึงให้ความสำคัญและให้ความสนใจต่อการศึกษาและการกินพรีไบโอติกชนิดต่างๆ เพื่อบำรุงร่างกายให้แข็งแรงและทำให้ร่างกายสามารถใช้งานระบบต่างๆ ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

โดยมีพรีไบโอติกชนิดหนึ่งที่มีสรรพคุณโดดเด่นต่อการทำงานของลำไส้และการรักษาสมดุลของร่างกายโดยเฉพาะต่อลำไส้เล็ก พรีไบโอติกชนิดนี้คือ อินูลิน ซึ่งอาจยังไม่เป็นที่คุ้นเคยกับคนส่วนใหญ่กันมากนัก แต่อินูลินมีประโยชน์ต่อร่างกายและหากินได้ง่ายเหมาะต่อการบำรุงมาก

อินูลิน คืออะไร?

อินูลินคือ พรีไบโอติกชนิดหนึ่งที่พบได้ในลำไส้ส่วนล่าง1 โดยเป็นกากใยอาหารที่มีประโยชน์ต่อแบคทีเรียดี ทำให้แบคทีเรียดีสามารถเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่

ลำไส้จึงทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพจากการรักษาสมดุลภายในได้ ทำให้การมีอินูลินที่เพียงพอช่วยส่งผลให้สุขภาพร่างกายและกระบวนการทำงานของร่างกายดีขึ้น จุดสำคัญอย่างหนึ่งของอินูลินคือการที่เป็นพรีไบโอติกที่ไม่สามารถย่อยสลายและดูดซึมในลำไส้เล็กได้ อินูลินจึงไม่เปลี่ยนเป็นน้ำตาลถึงแม้ว่าจะเป็นแป้งชนิดหนึ่งก็ตาม ทำให้อินูลินไม่ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดเหมือนแป้งอื่นๆ จึงเป็นพรีไบโอติกที่น่าสนใจต่อผู้ที่ต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดหรือผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน

อินูลิน ทำงานอย่างไร?

การทำงานของอินูลินในลำไส้เล็ก มีกระบวนการคือ ลำไส้เล็กจะเปลี่ยนอินูลินให้กลายเป็นกรดไขมันสายสั้น (Short-Chain Fatty Acids) ซึ่งกรดไขมันสายสั้น หรือ SCFA นี้คือส่วนช่วยที่สำคัญของการบำรุงเซลล์ลำไส้7

อินูลินจึงเป็นพรีไบโอติกที่ช่วยทำให้กระบวนการทำงานของร่างกายโดยเฉพาะการทำงานของลำไส้เล็กเป็นไปได้อย่างสมดุล ช่วยให้ระบบย่อยอาหารและทางเดินอาหารนั้นแข็งแรงมากขึ้น

บอดี้ดี เริ่มที่ลำไส้

อินูลิน มาจากไหน?

อินูลิน มีประโยชน์มากมาย การที่จะรักษาระดับของอินูลินในร่างกายให้เพียงพอและเหมาะสมได้ดีคือการเลือกกินอาหารที่มีอินูลินเป็นส่วนประกอบ โดยอาหารที่มีอินูลินเป็นส่วนประกอบและหากินได้ง่ายมีอยู่หลายอย่างด้วยกัน บทความนี้จึงขอยกตัวอย่างอาหารที่มีอินูลินเป็นส่วนประกอบและเหมาะต่อการปรุงอาหาร

1. รากชิโครี

รากชิโครี หรือ Chicory Roots เป็นสมุนไพรที่พบได้ในฝั่งยุโรปและอเมริกา จัดอยู่ในตำรับยาที่ช่วยลดอาการท้องผูก เนื่องจากมีอินูลินเป็นส่วนประกอบหลักมากถึง 68 กรัมต่อรากแห้ง 100 กรัม10 จึงทำให้โพรไบโอติกแข็งแรงและเพิ่มจำนวนมากขึ้น ช่วยปรับสมดุลในลำไส้ได้ดี

2. กระเทียม

กระเทียม เป็นอาหารที่มีอินูลิน 12.5 กรัม จาก 100 กรัม4 ซึ่งถือว่าค่อนข้างสูง กระเทียมเป็นพืชที่อยู่ในการปรุงอาหารหลายชนิดจึงเป็นส่วนช่วยเติมอินูลินได้โดยธรรมชาติ ผู้ที่กินอาหารที่มีกระเทียมเป็นส่วนประกอบเป็นประจำจึงมีแนวโน้มที่จะได้รับอินูลินอย่างเพียงพอและมีความต่อเนื่อง นอกจากนี้กระเทียมยังมีวิตามินอย่างวิตามิน C และวิตามิน B6 ที่ดีต่อร่างกายด้วย

3. หอมหัวใหญ่

หอมหัวใหญ่ อีกหนึ่งพืชมีประโยชน์ที่นิยมนำมาประกอบอาหาร และเป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่มีอินูลินเป็นส่วนประกอบ โดยการกินหอมหัวใหญ่จะช่วยลดไขมันได้ดีและกระตุ้นการย่อยอาหารจึงเป็นส่วนหนึ่งของการปรับให้ระบบการทำงานของทางเดินอาหารและลำไส้นั้นมีประสิทธิภาพ1 ช่วยขับลมและของเสียออกจากร่างกายได้

4. กล้วย

กล้วย เป็นสิ่งที่เหมาะต่อการเติมอินูลินให้กับร่างกายสำหรับคนที่อยากหาทางเลือกที่ไม่ใช่ผัก โดยกล้วยมีอินูลิน 0.5 กรัม จาก 100 กรัม4 ซึ่งเป็นปริมาณที่ไม่สูงมากนักแต่เหมาะสมต่อการกินอย่างต่อเนื่อง หากินได้ง่าย ดีต่อการย่อยอาหารและอยู่ท้อง เป็นอีกเมนูสำหรับผู้ที่กำลังควบคุมน้ำหนัก จึงมีประโยชน์ต่อการรักษาสมดุลของลำไส้และการทำงานของอินูลินมาก

5. หน่อไม้ฝรั่ง

หน่อไม้ฝรั่ง เป็นพืชที่หากนำมากินจะได้รับอินูลินอยู่ 2.5 กรัมต่อหน่อไม้ฝรั่งทุก 100 กรัม4 หน่อไม้ฝรั่งหาได้ง่ายและนิยมต่อการนำไปปรุงอาหารเมนูต่างๆ โดยนอกจากการมีอินูลินสูงแล้ว หน่อไม้ฝรั่งยังอุดมไปด้วยไฟเบอร์ซึ่งเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของการกระตุ้นการทำงานของระบบย่อยอาหาร การกินหน่อไม้ฝรั่งเพื่อการเพิ่มปริมาณอินซูลินในร่างกายจึงเป็นการเพิ่มความสมดุลของลำไส้และกระตุ้นประสิทธิภาพของระบบย่อยอาหารที่ดี

7 ประโยชน์ของอินูลิน มีดียังไง?

อินูลินมีประโยชน์มากมาย ซึ่งประโยชน์ของอินูลินจะเกี่ยวข้องกับการย่อยอาหารเป็นส่วนใหญ่เนื่องจากอยู่บริเวณลำไส้เล็กส่วนล่าง มาดูกันว่าอินูลินประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไรบ้าง

1. มีส่วนช่วยในการลดน้ำหนัก

มีบางงานวิจัยพบว่าการกินอินูลินมีประโยชน์ต่อการลดน้ำหนัก โดยมีการทดลองพบว่าผู้ที่กินอินูลินมีอัตราการลดลงของน้ำหนักที่เห็นได้ชัดเจนในระยะเวลา 9-18 สัปดาห์2 จึงมีความเป็นไปได้ว่าการกินอินูลินช่วยปรับสมดุลของลำไส้และกระตุ้นการย่อยอาหาร โดยเป็นวิธีที่ดีต่อผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำตาลด้วยเพราะอินูลินเป็นแป้งที่ไม่สามารถถูกดูดซึมหรือย่อยสลายในลำไส้เล็กได้จึงไม่ก่อให้เกิดน้ำตาล

2. บำรุงระบบทางเดินอาหาร

อินูลินมีประโยชน์ต่อการทำงานของระบบย่อยอาหาร2 อินูลินสามารถช่วยบำรุงระบบย่อยอาหารได้โดยการเป็นอาหารของแบคทีเรียดีในลำไส้ เมื่อแบคทีเรียดีในลำไส้มีอาหารเพียงพอก็จะช่วยสร้างสมดุลในลำไส้ (Gut Health) ทำให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ช่วยเรื่องการย่อยอาหารและเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันได้

บอดี้ดี เริ่มที่ลำไส้

3. ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

อินูลินช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เนื่องจากการย่อยสลายของอินูลินไม่ทำให้เกิดน้ำตาลหรือเป็นแป้งที่มีการย่อยช้ามากจึงช่วยให้น้ำตาลสามารถออกจากระบบทางเดินอาหารได้โดยไม่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย3 นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยที่กล่าวว่ามีแนวโน้มที่อินูลินจะช่วยต้านอินซูลินที่ก่อให้เกิดโรคเบาหวานได้ด้วย

4. บำรุงการดูดซึมของแร่ธาตุ และดูแลกระดูก

อินูลินสามารถช่วยบำรุงการดูดซึมของแร่ธาตุและดูแลกระดูกได้ ในการทดลองพบว่าอินซูลินมีส่วนช่วยในการดูดซึมแร่ธาตุอย่างแคลเซียมและแมกนีเซียมได้ดี2 จึงเป็นผลดีต่อทั้งกระดูกและฟัน ช่วยลดการสึกหรอของส่วนต่างๆ ในร่างกาย ส่งผลให้ร่างกายแข็งแรง

5. ช่วยลดโอกาสในการเป็นโรคมะเร็ง

อินูลินช่วยลดโอกาสในการเกิดมะเร็ง มีการทดลองในสัตว์พบว่าอินูลินมีส่วนช่วยในการป้องกันการเกิดเนื้องอกที่อาจเจริญเป็นมะเร็งได้6 และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษามะเร็งได้อีกด้วย จึงมีแนวโน้มที่อินูลินจะมีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาการรักษามะเร็งและลดโอกาสการเกิดมะเร็งได้ในอนาคต

6. ช่วยบำรุงสมอง

อินูลินช่วยบำรุงสมองได้ เมื่อทำการวิจัยพบว่าแบคทีเรียดีในลำไส้สามารถปล่อยสารเคมีที่ช่วยกระตุ้นเซลล์ประสาทให้ทำการส่งสัญญาณระหว่างเซลล์ประสาทเหล่านั้นและสมองเพื่อบ่งบอกสภาวะทางสุขภาพและสั่งการให้สมองมีปฏิกิริยาต่อร่างกาย5

การเสริมสร้างอินูลินให้ร่างกายจึงช่วยสร้างสมดุลต่อแบคทีเรียดีเหล่านั้นให้กระตุ้นการทำงานร่วมกับสมองซ่อมแซมตัวเองเมื่อเกิดปัญหาได้

7. ช่วยบรรเทาโรคเรื้อรังของทางเดินอาหาร

อินูลินช่วยบรรเทาโรคเรื้อรังที่ระบบทางเดินอาหาร โดยการที่มีอินูลินเพียงพอจะสามารถเปลี่ยนเป็นกรดไขมันโมเลกุลสายสั้นและเพิ่มแลคโตบาซิลลัส ซึ่งสามารถลดการอักเสบของเยื่อเมือกภายในลำไส้ได้ ทำให้ช่วยบรรเทาอาการของโรคต่างๆ บริเวณลำไส้9

ข้อควรรู้! ก่อนกินอินูลิน

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าอินูลินจะมีประโยชน์มากมายแค่ไหน แต่ก็เช่นเดียวกับอาหารทุกชนิดที่ควรกินในปริมาณที่เหมาะสม เพราะอาจจะเกิดผลข้างเคียงได้หากกินในปริมาณที่ไม่เหมาะสม โดยอินูลินนั้นอาจไม่เหมาะต่อผู้ที่มีประวัติการแพ้คาร์โบไฮเดรตประเภทสายโมเลกุลสั้นและผู้ที่มีอาการแพ้หญ้าแร็กวีด จึงควรเริ่มกินอินูลินแต่น้อยเพื่อให้แน่ใจว่าไม่เกิดอาการแพ้ นอกจากนี้เมื่อกินอินูลินอาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงอย่างจุกเสียดแน่นท้อง เรอ ท้องอืดจากแก๊ส ถ่ายเหลวหรือมีอาการคลื่นไส้อาเจียนได้ ปริมาณที่เหมาะสมต่อการเริ่มกินอินูลินจึงเป็น 2-3 กรัมต่อวันเป็นระยะเวลา 1-2 สัปดาห์ เพื่อสังเกตอาการแพ้ หากไม่มีอาการแพ้ก็อาจเพิ่มปริมาณเป็น 5-10 กรัมได้ โดยปริมาณที่ควรได้รับอินูลินโดยเฉลี่ยคือ 10-30 กรัมต่อวัน2 อย่างไรก็ตาม หากเกิดอาการผิดปกติควรหยุดกินและปรึกษาแพทย์ทันที

บอดี้ดี เริ่มที่ลำไส้

สรุป

อินูลินคือ พรีไบโอติกชนิดหนึ่งที่พบได้ในลำไส้เล็กส่วนล่าง มีประโยชน์ต่อการสร้างความสมดุลในลำไส้เนื่องจากเป็นอาหารที่จำเป็นต่อแบคทีเรียดีในลำไส้ เมื่อลำไส้มีความสมดุล จึงเกิดการกระตุ้นการทำงานของระบบทางเดินอาหารและควบคุมให้การย่อยอาหารเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดการเกิดโรคจากการอักเสบของเยื่อเมือกในลำไส้ ส่งผลต่อการควบคุมน้ำหนัก และยังสามารถช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเนื่องจากมีการย่อยสลายที่ช้าหรือแทบไม่ย่อยสลายเป็นน้ำตาลเลยจึงไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อระดับน้ำตาลในเลือด

นอกจากนี้ยังช่วยทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมแร่ธาตุอย่างแคลเซียมได้ดีขึ้น จึงเกิดผลดีต่อกระดูกและฟัน ช่วยบำรุงสมองและลดโอกาสการเกิดเนื้องอกที่สามารถพัฒนาเป็นมะเร็งได้

เมื่อได้เห็นประโยชน์ของอินูลินที่มากมายแล้ว สิ่งสำคัญคือการกินอินูลินให้เพียงพอ โดยอินูลินสามารถพบได้จากรากชิโครี กระเทียม หัวหอม เป็นต้น แต่ควรเริ่มบริโภคอินูลินแต่น้อยก่อนเพื่อสังเกตอาการว่าแพ้หรือไม่ หากไม่มีอาการแพ้ใดๆ สามารถกินได้ 10-30 กรัมต่อวัน

ข้อมูลอ้างอิง
  1. Arlene Semeco, MS, RD and Erin Kelly. Prebiotics: The 19 Best Prebiotic Foods You Should Eat (healthline.com). Healthline.com. Published 31 Oct 2023. Retrieved 21 Dec 2023
  2. Franziska Spritzler. Inulin (a prebiotic fiber): Health benefits and risks (medicalnewstoday.com). Medicalnewstoday.com. Published 22 Nov 2023. Retrieved 21 Dec 2023.
  3. Medically reviewed by Jerlyn Jones, MS MPA RDN LD CLT, Nutrition — By Kathryn Watson. Health Benefits of Inulin (healthline.com). Healthline.com. Published 6 Dec 2023. Retrieved 21 Dec 2023.
  4. Kelsey Casselbury. 8 Foods High in Inulin to Eat for Better Gut Health | livestrong. Livestrong.com. Published 22 Sep 2023. Retrieved 21 Dec 2023.
  5. Media Planet. The Brain Benefits of Adding Prebiotic Fiber to Your Diet - Future of Personal Health. Future of personal health. Published 19 June 2019. Retrieved 21 Dec 2023.
  6. Parichita Mishra, Vidhi Manish Badiyani and Sakshi. Prebiotics: Ignored player in the fight against cancer - Mishra - 2023 - Cancer Reports - Wiley Online Library. Wiley Online Library. Published 17 July 2013. Retrieved 21 Dec 2023.
  7. Richard. Inulin for Visceral Fat: Does it Really Work? | Simply Supplements. Simplysupplement.co.uk. Published 7 Dec 2018. Retrieved 21 Dec 2023.
  8. Therapeutic Research Faculty. INULIN: Overview, Uses, Side Effects, Precautions, Interactions, Dosing and Reviews (webmd.com). Webmd.com. Retrieved 21 Dec 2023.
  9. Wasim Akram, Nevneet Garud, Ramakant Joshi. Role of inulin as prebiotics on inflammatory bowel disease - PubMed (nih.gov). Pubmed (nih.gov). Published 2019. Retrieved 21 Dec 2023.
  10. Medically reviewed by Adda Bjarnadottir, MS, RDN (Ice) — By Lizzie Streit, MS, RDN, LD. 5 Emerging Benefits and Uses of Chicory Root Fiber. healthline.com. Published 14 Nov 2019. Retrieved 4 Mar 2024.
shop now