สับปะรด ผลไม้ที่มากไปด้วยวิตามินบี ซี ธาตุเหล็ก กรดโฟลิก โบรมีเลน มีส่วนช่วยในระบบย่อยอาหาร สร้างภูมิคุ้มกัน และลดระดับน้ำตาลในเลือดอีกด้วย
วิตามินและสารอาหารในสับปะรด
สับปะรดคือผลไม้ที่มีแคลอรีต่ำ แต่กลับมีโภชนาการทางอาหารที่สูง1 ในสับปะรดมีวิตามินและสารอาหารประกอบไปด้วย วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 5 วิตามินบี 6 กรดโฟลิก และโบรมีเลน นอกจากนี้สับปะรดยังมีฟอสฟอรัส สังกะสี แคลเซียม วิตามินเอ และ วิตามินเค ทำให้สับปะรดมากไปด้วยประโยชน์ อุดมไปด้วยสรรพคุณ เหมาะกับทั้งผู้หญิงและผู้ชาย
12 ประโยชน์ดีๆ จากสับปะรด
ประโยชน์ของสับปะรดที่ได้มาจากวิตามินและสารอาหารมีอยู่หลายประการ โดย 12 ประโยชน์ที่ไม่ควรมองข้าม มีดังนี้
1. มีสารต้านอนุมูลอิสระ
สับปะรดมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยบรรเทาความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน1 ที่เกิดจากอนุมูลอิสระจำนวนมากทำให้เกิดความเสียหายต่อเซลล์ ซึ่งมักเชื่อมโยงกับการอักเสบเรื้อรัง สุขภาพภูมิคุ้มกันอ่อนแอ โรคหัวใจ เบาหวาน และมะเร็งบางชนิด
สับปะรดอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระโดยเฉพาะที่เรียกว่า ฟลาโวนอยด์ และสารประกอบฟีนอล การศึกษาพบว่าสารต้านอนุมูลอิสระของสับปะรดอาจมีสรรพคุณในการป้องกันหัวใจได้อีกด้วย
ผักผลไม้รวมเข้มข้น
ต่อต้านอนุมูลอิสระ
2. มีส่วนช่วยในระบบย่อยอาหาร
สับปะรดมีสรรพคุณทางยาเป็นตัวช่วยในการย่อยอาหาร เพราะสับปะรดมีเอนไซม์ย่อยอาหารกลุ่มหนึ่งที่เรียกว่าโบรมีเลน ที่ทำหน้าที่ช่วยสลายโมเลกุลโปรตีน ทำให้การย่อยอาหารประเภทเนื้อสัตว์ง่ายขึ้น1 สำหรับผู้ที่มีภาวะผิดปกติเกี่ยวกับตับอ่อน ทำให้ร่างกายผลิตเอนไซม์ย่อยอาหารได้ไม่เพียงพอ ประโยชน์ในการช่วยย่อยอาหารของสับปะรดจะเข้าไปเติมเต็มส่วนนี้ได้
3. ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
การแพทย์แผนโบราณนำสรรพคุณของสับปะรดมาใช้ในการรักษาโรคมายาวนานหลายศตวรรษ เนื่องจากในสับปะรดประกอบไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และเอนไซม์หลายชนิด เช่น โบรมีเลน ที่อาจมีส่วนช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และลดการอักเสบ จากการวิจัยพบว่าคนที่กินสับปะรดมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียลดลงอย่างมาก และมีเม็ดเลือดขาวที่ต่อสู้กับโรคได้มากกว่ากลุ่มคนที่ไม่กินสับปะรดถึง เกือบ 4 เท่า1
4. มีส่วนช่วยในการฟื้นฟูของร่างกาย
การกินสับปะรดอาจมีส่วนช่วยลดระยะเวลาในการฟื้นตัวจากการออกกำลังกายได้ เพราะสับปะรดมีโบรมีเลน ที่มีส่วนช่วยเร่งการฟื้นตัวของกล้ามเนื้อหลังจากออกกำลังกายหนักโดยการลดการอักเสบบริเวณเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อที่เสียหาย ร่างกายของคนที่กินสับปะรดจึงมีการฟื้นฟูได้อย่างรวดเร็ว1
5. มีส่วนช่วยในการลดน้ำหนัก
อีกหนึ่งประโยชน์ของสับปะรด คือการเป็นตัวช่วยที่ดีในการลดน้ำหนัก เพราะเอนไซม์ของสับปะรดอาจช่วยในเรื่องการเผาผลาญไขมันได้2 นอกจากนี้สับปะรดมีราคาถูก และอยู่ท้อง เหมาะสำหรับการนำมากินร่วมกับอาหารมื้อหลัก หรือจะกินเป็นของว่างระหว่างวันก็ได้
6. ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก
ในสับปะรดมีปริมาณของแมงกานีสมากกว่า 100% ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน โดยแมงกานีสมีส่วนช่วยในการทำให้กระดูกแข็งแรง ดังนั้นการกินสับปะรดจึงมีสรรพคุณช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกได้3
7. ช่วยลดอาการอักเสบ
โบรมีเลนอาจลดการอักเสบ บวม ช้ำ และความเจ็บปวดที่มักเกิดขึ้นหลังการผ่าตัด รวมถึงการทำหัตถการทางทันตกรรมและผิวหนัง นอกจากนี้ยังสามารถลดการอักเสบได้อีกด้วย รวมถึงยังอาจช่วยลดความรู้สึกไม่สบาย ความเจ็บปวด หรืออาการบวม หลังการผ่าตัดทางทันตกรรมได้เป็นอย่างดี1
ผักผลไม้รวมเข้มข้น
ต่อต้านอนุมูลอิสระ
8. ช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็ง
มะเร็งเป็นโรคเรื้อรังที่มีลักษณะการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ไม่สามารถควบคุมได้ การลุกลามมักเชื่อมโยงกับความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชันและการอักเสบเรื้อรัง1 สับปะรดเป็นแหล่งวิตามินซีชั้นเยี่ยม ซึ่งวิตามินซีนั้นเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่แข็งแกร่ง จึงสามารถช่วยต่อต้านการก่อตัวของอนุมูลอิสระได้ เพราะอนุมูลอิสระเชื่อมโยงกับการก่อตัวของเซลล์มะเร็ง3 และประโยชน์ของสับปะรดในผู้หญิงคือมีฤทธิ์ต้านมะเร็งเต้านมได้อีกด้วย
9. ไฟเบอร์ในสับปะรดช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
สับปะรดมีไฟเบอร์สูง ผู้ที่เป็นเบาหวานประเภทที่หนึ่ง หากกินสับปะรดเข้าไปแล้ว ไฟเบอร์ในสับปะรดจะช่วยต้านการจับกลุ่มกันของเกล็ดเลือด และลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ นอกจากนี้ไฟเบอร์ในสับปะรดยังช่วยควบคุมระดับน้ำตาล ไขมัน และอินซูลิน ให้กับผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่สองได้อีกด้วย3 อย่างไรก็ตามแม้ไฟเบอร์ในสับปะรดจะช่วยลดระดับน้ำตาลได้ แต่สับปะรดก็เป็นผลไม้ที่มีปริมาณน้ำตาลสูง ผู้ที่เป็นเบาหวานจึงควรจำกัดปริมาณในการกินสับปะรดสดๆ โดยอาจเลือกกินอาหารเสริมที่มีส่วนผสมของไฟเบอร์จากสับปะรดแทน
10. ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง
การเพิ่มปริมาณโพแทสเซียมโดยการกินผักและผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูงสามารถช่วยลดความดันโลหิตได้ เนื่องจากโพแทสเซียมจะเพิ่มการขับน้ำและโซเดียมออกจากร่างกาย ช่วยชะลอการสะสมของไขมันในเส้นเลือด ลดความเสี่ยงในการอุดตันของเส้นเลือด รวมถึงช่วยให้ระบบไหลเวียนโลหิตดี การกินสับปะรดซึ่งมีโพแทสเซียมในปริมาณสูงจึงมีส่วนช่วยในการลดความดันโลหิตได้3
11. มีส่วนช่วยเรื่องระบบสืบพันธุ์
การกินสับปะรดมีสรรพคุณต่อผู้ชายหลายประการในเรื่องสมรรถภาพทางเพศ สับปะรดอุดมไปด้วยแมงกานีสที่ให้พลังงานแก่ร่างกายจึงช่วยเพิ่มพลังงานได้ตลอดทั้งวัน4 และมีโบรมีเลนซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ช่วยย่อยอาหารและฟื้นฟูเซลล์ที่เพิ่มการไหลเวียนเลือด เนื่องจากการย่อยอาหารที่ดีขึ้นและระดับพลังงานที่สูงขึ้น ส่งผลให้อดทนมากขึ้นระหว่างมีเพศสัมพันธ์4 และยังช่วยรักษาภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศในผู้ชาย ซึ่งเป็นปัญหาร้ายแรงและมักจะส่งผลเสียต่อชีวิตผู้ชายจำนวนมาก
สำหรับผู้หญิง สับปะรดมีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามินซี เบต้าแคโรทีน วิตามินและแร่ธาตุ ทองแดง สังกะสี และโฟเลต ที่สามารถช่วยปรับปรุงภาวะเจริญพันธุ์ สำหรับผู้ที่พยายามตั้งครรภ์ ควรกินสับปะรดในปริมาณที่เหมาะสม จะช่วยเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ได้3 และสับปะรดยังมีโบรมีเลนที่ช่วยผลัดเยื่อบุโพรงมดลูก ช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ รวมถึงมีแมงกานีสที่ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ จึงลดอาการปวดเกร็งในช่องท้องได้
12. ช่วยให้ผิวแข็งแรง
วิตามินซีในสับปะรด เมื่อกินสด จะสามารถช่วยต่อสู้กับความเสียหายของผิวที่เกิดจากแสงแดดและมลภาวะ ลดเลือนริ้วรอย และปรับปรุงสภาพผิวโดยรวม รวมถึงยังมีบทบาทสำคัญในการสร้างคอลลาเจนในผิวหนังได้อีกด้วย
วิธีรับประทานสับปะรด
ในการกินสับปะรดนั้น สามารถทำได้หลายวิธี ตั้งแต่การกินแบบสดๆ หรือจะนำไปประกอบอาหารคาวหวาน รวมไปถึงกินอาหารเสริมที่มีสับปะรดเป็นส่วนผสม เลือกกินได้ตามความสะดวก เพื่อให้ได้รับประโยชน์ของสับปะรดมากที่สุด
รับประทานสด
สำหรับการกินสับปะรด ควรหั่นเนื้อและแกนกลางออกจากกันก่อนนำมากิน เพื่อให้ร่างกายได้รับประโยชน์ของสับปะรดได้สูงสุด โดยหลังที่ปอกเปลือกเสร็จแล้ว ให้นำไปแช่ในน้ำเกลือประมาณ 2-3 นาที เพื่อลดการเกิดปฏิกิริยากับอวัยวะในช่องปาก จะทำให้ไม่แสบลิ้นง่ายเมื่อกินสับปะรด
อย่างไรก็ตาม การจะกินสับปะรดให้ได้วิตามินและสารอาหารครบตามความต้องการของร่างกาย ต้องกินในปริมาณที่มากถึง 170 กรัม หรือ 6-8 ชิ้น จึงจะทำให้ได้รับวิตามิน แร่ธาตุ ไฟเบอร์ และสารต้านอนุมูลอิสระเพียงพอในแต่ละวัน โดยสับปะรด 2 ชิ้น จะมีวิตามินซีอยู่ประมาณ 100 มิลลิกรัม แต่มีน้ำตาลประมาณ 10 กรัม เท่ากับว่า 8 ชิ้น จะมีน้ำตาลอยู่ประมาณ 40 กรัมด้วยกัน การกินสับปะรดเพื่อให้ได้สารอาหารที่เพียงพอ อาจทำให้ร่างกายได้รับปริมาณน้ำตาลสูงตามไปด้วย จึงควรระมัดระวังไม่รับประทานมากจนเกินไป
นำไปประกอบอาหาร
สับปะรดเป็นผลไม้ที่มีความอร่อย เมื่อกินเข้าไปแล้วจะรู้สึกสดชื่น นำมาเป็นส่วนประกอบในเมนูอาหารหลายอย่าง เพราะจะได้รสชาติที่หวานฉ่ำกำลังดี ชูรสชาติหวานธรรมชาติให้กับเมนูนั้นได้ไม่น้อย โดยสามารถนำไปประกอบอาหารได้ตั้งแต่ของคาวไปจนถึงของหวาน เช่น ผัดเปรี้ยวหวานหมู ข้าวผัดสับปะรด คุกกี้ตัวหนอนไส้สับปะรด น้ำสับปะรดปั่น ไอศกรีมสับปะรดโยเกิร์ต เป็นต้น ทั้งนี้ ต้องควบคุมปริมาณน้ำตาลที่นำมาใช้ทำอาหารร่วมกับสับปะรดด้วย เพราะโดยตัวสับปะรดเอง มีปริมาณน้ำตาลค่อนข้างสูงอยู่แล้ว
รูปแบบอาหารเสริม
แม้การกินสับปะรดแบบสดๆ หรือนำไปประกอบอาหารนั้นจะได้รับวิตามินเป็นปริมาณมาก แต่ก็จะได้น้ำตาลจากสับปะรดในปริมาณมากเช่นกัน การได้รับน้ำตาลในปริมาณมากเป็นประจำ เป็นตัวการก่อให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมาในภายหลังได้ การกินอาหารเสริมที่มีสับปะรด จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดี เพราะนอกจากจะได้รับประโยชน์ของสับปะรดอย่างเต็มที่แล้วนั้น ยังหลีกเลี่ยงน้ำตาลที่มากเกินไปได้อีกด้วย
ผักผลไม้รวมเข้มข้น
ต่อต้านอนุมูลอิสระ
ข้อควรระวังในการรับประทานสับปะรด
การกินสับปะรด ถึงแม้จะมีประโยชน์อยู่มากมาย แต่ก็มีข้อเสียที่ควรระวังอยู่ด้วย โดยข้อควรระวังในการกินสับปะรดมีดังนี้
- อาจทำให้รู้สึกระคายเคืองหรือมีอาการคันบนลิ้นเป็นระยะเวลาหนึ่งหลังจากกินสับปะรด เกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของเราสับสนระหว่างโปรตีนในสับปะรดกับละอองเกสรดอกไม้หรือสารก่อภูมิแพ้อื่นๆ ปฏิกิริยานี้จึงสามารถเกิดขึ้นได้
- การกินสับปะรดในปริมาณที่มากเกินไปอาจทำให้เกิดอาการเสียวฟันหรือฟันผุได้ เพราะสับปะรดมีความเป็นกรดสูงอาจทำให้เกิดกระบวนการทางเคมีในปากเมื่อกินเข้าไป หากมีการรักษาสุขอนามัยช่องปากที่ไม่เหมาะสมอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาการเสียวฟันหรือฟันผุ โดยจะทำให้เกิดอาการปวดฟันและรู้สึกเสียวฟันง่ายมากเมื่อรับประทานอาหารร้อนหรือเย็น
- การกินสับปะรดอาจทำให้เกิดอาการแพ้ในบางคนได้ เพราะประโยชน์หนึ่งของสับปะรดคือการทำให้เนื้อนุ่ม อันเนื่องมาจากเอนไซม์อย่างโบรมีเลนในสับปะรด ซึ่งอาจกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ได้ นอกจากนี้ยังอาจทำให้เกิดอาการแพ้ยางธรรมชาติในบางส่วน โดยอาการเหล่านี้ส่วนใหญ่จะหายไปเองภายในไม่กี่ชั่วโมง แต่หากไม่เป็นเช่นนั้นควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที
- โบรมีเลนมีคุณสมบัติในการต้านการแข็งตัวของเลือด อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการตกเลือดเมื่อรับประทานร่วมกับยาโลหิตจาง โดยอาจส่งผลให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง และอาหารไม่ย่อยได้
- โบรมีเลนในสับปะรดอาจเพิ่มการดูดซึมยาปฏิชีวนะบางชนิด เช่น อะม็อกซีซิลลิน และเตตราไซคลีน ผลกระทบนี้อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงในบางคน อาการที่สามารถพบได้ เช่น เจ็บหน้าอก คัดจมูกเป็นเลือด หนาวสั่น มีไข้ เวียนศีรษะ ฯลฯ
ผักผลไม้รวมเข้มข้น
ต่อต้านอนุมูลอิสระ
สรุป
ผลไม้เนื้อสีเหลืองทองอย่างสับปะรดเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยสารอาหารและวิตามินมากมาย อย่างวิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 5 วิตามินบี 6 กรดโฟลิก และโบรมีเลน มีประโยชน์รวมถึงสรรพคุณต่างๆ ทั้งต่อผู้ชายและผู้หญิง เช่น มีส่วนช่วยในระบบย่อยอาหาร สร้างภูมิคุ้มกัน ลดระดับน้ำตาลในเลือด มีส่วนช่วยในระบบสืบพันธุ์ เป็นต้น จึงควรกินสับปะรดเป็นประจำ แม้จะมีข้อดีอยู่หลายอย่างแต่ก็มีข้อเสียในการกินสับปะรดเช่นกัน โดยควรหลีกเลี่ยงการกินสับปะรดเมื่อมีอาการกระหายน้ำ ปวดหัว วิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน หรืออาการอื่นที่ผิดปกติ ควรกินในปริมาณที่พอเหมาะเพื่อให้ได้รับประโยชน์ของสับปะรดด้วยความปลอดภัย ไร้ผลข้างเคียง