“ว่านหางจระเข้” หรือ Aloe vera เป็นพืชสมุนไพรที่นำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างกับร่างกาย ทั้งภายในและภายนอก เช่น การพอกหน้า รักษาแผลน้ำร้อนลวก แผลไฟไหม้1 ดับพิษร้อน2 รวมถึงบรรเทาอาการปวดข้อสำหรับผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบ

ว่านหางจระเข้นั้นมีลักษณะใบที่หนา และยาว โคนใบใหญ่ และมีปลายใบที่เรียวแหลม มีขอบใบเป็นหยักหนาม และออกใบเดี่ยวเรียงวนรอบต้น ทำให้มีลักษณะที่สะดุดตา ซึ่งข้างในใบของว่านหางจระเข้นั้นจะมีวุ้น และเมือกสีขาวขุ่น ซึ่งเป็นส่วนที่นิยมนำไปใช้นั่นเอง แต่รู้หรือไม่ว่า ส่วนอื่นๆ ของว่านหางจระเข้ก็มีประโยชน์เช่นกัน ทั้งในแง่การรักษา โดยนำมากินและทาในหลายรูปแบบ

สรรพคุณของว่านหางจระเข้

สรรพคุณของว่านหางจระเข้3

ผลจากการวิจัยบอกว่าทุกส่วนของว่านหางจระเข้ สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อสุขภาพได้ทั้งหมด อย่างรายงานจากประเทศจีนก็มีบอกว่ามีการใช้ว่านหางจระเข้มาทำเป็นยาแล้วหลายศตวรรษ ซึ่งส่วนที่นิยมนำมาใช้ จะมีอยู่ 7 ส่วนด้วยกัน ได้แก่

เนื้อว่านหางจระเข้

99.5% ของเนื้อว่านหางจระเข้คือ น้ำ ส่วนที่เหลือ ประกอบไปด้วยสารไกลโคโปรตีน (Glycoprotein) และโพลีแซคเคอไรด์ (polysaccharides) ซึ่งนอกจากจะช่วยบรรเทาอาการผิวไหม้จากแสงแดด และแผลไฟไหม้แล้ว ยังมีการวิจัยว่าสามารถช่วยบรรเทาหรือแก้อาการปวดตามข้อ สำหรับผู้ป่วยโรคข้ออักเสบ ได้ผลดีอีกด้วย เนื่องจากมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ที่ทำให้เกิดการอักเสบ (Cyclo-Oxygenase หรือ COX-2) ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่คล้ายกับยาระงับปวดชนิดที่ไม่ใช่เสตียรอยด์5

ใบว่านหางจระเข้

ใบของว่านหางจระเข้นั้นมีรสเย็น มีส่วนประกอบของ อโลอิน (Aloin) และ อิโมดิน (Emodin) ที่มีคุณสมบัติบรรเทาอาการปวด ต่อต้านแบคทีเรียและไวรัส ในตำรับยาไทย มีบันทึกว่าสามารถนำมาใช้รักษาฝี และบรรเทาอาการปวดศีรษะได้12

ต้นว่านหางจระเข้

ต้นของว่านหางจระเข้นั้น มีส่วนประกอบที่ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อได้ถึง 6  ชนิด ได้แก่ ลูพิออล (Lupeol), กรดซาลิซิลิค(Salicylic Acid), ไนโตรเจนในยูเรีย (urea nitrogen), กรดซินนาโมนิก (Cinnamonic Acid), ฟีนอล (Phenols) และ ซัลเฟอร์ (Sulfur) ซึ่งสามารถต้านเชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัสได้13

ยางและรากว่านหางจระเข้

ยางและรากของว่านหางจระเข้นั้น อุดมไปด้วยสารแอนทราควิโนน (Anthraquinones) ที่มีฤทธิ์เป็นยาต้านมะเร็ง เป็นยาระบาย และกระตุ้นการทำงานของลำไส้ หรือที่รู้จักกันในตำรับยาไทยว่า “ยาดำ” 

น้ำว่านหางจระเข้

น้ำที่สกัดได้จากว่านหางจระเข้มีสรรพคุณในการช่วยดับพิษร้อน จากแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หรือผิวไหม้จากแสงแดด นอกจากนี้ จากการศึกษาพบว่าสารไกลโคโปรตีนสกัดจากน้ำว่านหางจระเข้ยังมีฤทธิ์รักษาฝ้า ลดรอยแผลเป็น รักษาโรคสะเก็ดเงิน ตาปลา หรือฮ่องกงฟุตได้อีกด้วย4

เหง้า

ส่วนเหง้าของว่านหางจระเข้ มีสรรพคุณคล้ายคลึงกับส่วนราก ที่มักจะนิยมนำมาต้มกิน เพื่อรักษาหนองใน หรืออาการตกขาว (ระดูขาว)

การใช้ประโยชน์จากว่านหางจระเข้

ว่านหางจระเข้สามารถนำมากินและทาได้ เนื่องจากแต่ละส่วนของว่านหางจระเข้มีสรรพคุณที่แตกต่างกัน โดยการนำว่านหางจระเข้มาใช้ในแต่ละรูปแบบนั้น มีดังนี้

ใช้ทาภายนอก

ใช้ทาภายนอก

ว่านหางจระเข้มีคุณสมบัติที่ดีต่อผิวหนัง ช่วยลดอาการร้อน บวม พอง จึงสามารถนำมาใช้ทา หรือพอกในบริเวณต่างๆ เช่น ผิวหน้า ผิวกาย หรือตามผลการวิจัยบอกว่า หากนำมาทาตามจุดที่ต้องการ ก็สามารถบรรเทาอาการได้ เช่น แผลสด แผลไฟไหม้ หรือแผลน้ำร้อนลวก6 เป็นต้น

บำรุงผิวหน้า

เนื้อวุ้น สามารถนำมาใช้รักษาสิว หรือผสมกับวัตถุดิบอื่นๆ เพื่อมาส์คหน้าเพิ่มความชุ่มชื้นได้ อาจใช้ น้ำผึ้ง นมสด ขมิ้นชัน หรือดินสอพอง มาคลุกเคล้าและพอกหน้าไว้ประมาณ 15 นาที เมื่อล้างออก จะรู้สึกถึงผิวที่เย็น นุ่มสบาย หรืออาจรักษาอาการอื่นๆ ตามแต่ส่วนผสมที่ใช้ 

รักษาแผล

รักษาแผล

เมื่อเกิดแผลไฟไหม้ แผลน้ำร้อนลวก รวมถึงผิวไหม้แดด หลายคนก็จะนึกถึงว่านหางจระเข้ ซึ่งสามารถใช้แบบสด ด้วยการเอาเนื้อวุ้นมาฝานเป็นแผ่นบางๆ แล้วแปะไว้ตามจุดที่ต้องการ จนกว่าจะรู้สึกว่าเนื้อวุ้นแห้ง เท่านี้ก็จะช่วยลดอาการอักเสบ และช่วยให้ผิวเรียบเนียนเร็วขึ้น

บรรเทาอาการปวดศีรษะ

ใครปวดหัวบ่อย ลองใช้ใบว่านหางจระเข้ ทาปูนแดงมาทาบลงบนขมับหรือท้ายทอยดู เพราะว่านหางจระเข้เป็นพืชที่กักเก็บความเย็นได้ดี ความเย็นนั้นก็จะช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะได้12 

รักษาโรคสะเก็ดเงิน

แม้ว่าโรคสะเก็ดเงินจะเป็นโรคผิวหนังเรื้อรังที่ต้องอาศัยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญช่วยดูแลรักษา แต่เนื้อวุ้นของว่านหางจระเข้ สามารถช่วยลดอาการอักเสบของผิวหนัง ลดอาการคัน และลดการตกสะเก็ดของแผลได้ แค่ฝานเนื้อเป็นแผ่น หรือบดให้ละเอียด แล้วนำมาทา หรือแปะไว้ในบริเวณที่เป็นแผลนั่นเอง

ใช้กิน

ใช้กิน

เนื้อวุ้นของว่านหางจระเข้ มักจะถูกนำมาทำขนมหวาน แต่งานวิจัยในปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่า เนื้อวุ้นของว่านหางจระเข้ มีส่วนช่วยบรรเทาอาการอักเสบในข้อได้  มีการนำมาสกัดให้เป็นผงเพื่อแปรรูปเป็นยา เพื่อบรรเทาอาการอักเสบในข้อได้ด้วย

บรรเทาอาการปวดข้ออักเสบ

เนื้อว่านหางจระเข้ มีสารไกลโคโปรตีน aloctin A, B ที่ช่วยลดอาการอักเสบต่างๆ ในร่างกาย9 จากงานวิจัยพบว่า ว่านหางจระเข้มีฤทธิ์ต้านอาการอักเสบในข้อได้7 ด้วยการชะลอความรุนแรงในผู้ที่ป่วยเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้ถึง 11% เมื่อได้รับผงอโลเวราร่วมกับเปปไทด์ถั่วเหลืองและถั่วลันเตาในอาหารเสริมโปรตีน10 ซึ่งส่วนที่นำมาสกัดได้นั้น หากเป็นเนื้อวุ้นว่านหางจระเข้จากสายพันธุ์ Aloe Barbadensis จะอุดมไปด้วยแร่ธาตุ กรดอะมิโน และเอนไซม์ต่างๆ ที่มีสารอาหารช่วยบรรเทาและแก้อาการปวดข้ออักเสบหรือปวดตามข้อ ได้ดียิ่งขึ้น

แต่การกินเนื้อวุ้นว่านหางจระเข้สดๆ นั้น ไม่อาจทำให้เห็นผลด้านการชะลออาการโรคข้อเข่าเสื่อมได้ดีเท่ากับผงอโลเวรา ที่นำเนื้อว่านหางจระเข้มาผ่านกระบวนการแปรรูปเพื่อให้ได้สารสกัดที่เข้มข้น และมีประสิทธิภาพสูงกว่าในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มอย่างน้อย 100 เท่า การกินอาหารเสริมโปรตีนที่มีส่วนผสมของ เปปไทด์ถั่วเหลืองและถั่วลันเตา (Dual Peptide) จึงจะออกฤทธิ์ต้านการอักเสบ หล่อลื่นข้อต่อ และบรรเทาอาการปวดในข้อได้อย่างมีนัยยะสำคัญ

แก้ร้อนใน

แก้ร้อนใน

เนื้อว่านหางจระเข้สามารถช่วยบรรเทาหรือรักษาแผลที่เกิดจากความร้อนตามผิวหนังได้ การกินว่านหางจระเข้ก็จะช่วยแก้อาการร้อนในภายในร่างกายได้เช่นกัน หากเป็นแผลร้อนในในช่องปาก สามารถนำเนื้อว่านหางจระเข้สดๆ มาคั้น แล้วใช้บ้วนปาก 1-3 ช้อนโต๊ะ วันละ 3 ครั้ง ติดต่อกัน จะช่วยให้แผลร้อนในหายเร็วขึ้นได้

บรรเทาอาการท้องผูก

บรรเทาอาการท้องผูก3

ยางในใบว่านหางจระเข้นั้นมีสารกลุ่มแอมทราควิโนน ได้แก่ Aloin A และ B ที่จะถูกย่อยเป็น Anthranol เมื่อเจอกับแบคทีเรียในลำไส้ ออกฤทธิ์ระคายเคืองลำไส้และลำไส้ใหญ่ กระตุ้นให้บีบตัวและหลั่งน้ำออกมามากกว่าปกติ จัดเป็นยาระบายอย่างแรง มีประโยชน์ที่ดีต่อสุขภาพคือสามารถรักษาอาการท้องผูกได้ โดยนำยางสีเหลืองบริเวณเปลือกและใบของว่านหางจระเข้ไปเคี่ยวให้งวด แล้วทิ้งไว้ให้เย็น จนตกผลึกเป็นก้อนสีดำ หรือที่หมอชาวบ้านเรียกกันว่ายาดำ 

ใช้ผสมกับน้ำร้อนจัดในอัตราส่วน ยาดำ 250 มิลลิกรัม ต่อน้ำ 1 ถ้วย กินก่อนนอนเพียง 2 ช้อนชาสำหรับผู้ใหญ่ และ 1 ช้อนชาสำหรับเด็ก ควรใช้แต่น้อย และต้องมีความระมัดระวังสูง เพราะยาอาจบีบลำไส้หนักจนนำไปสู่อาการท้องร่วงรุนแรงได้ สตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทาน

รักษาแผลในกระเพาะ

เนื้อว่านหางจระเข้นั้นยังมีสรรพคุณต่อสุขภาพ ในการรักษาแผลในกระเพาะอาหารหรือรักษากระเพาะลำไส้อักเสบ โดยกินแบบสดๆ วันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ นอกจากนี้ ยังสามารถช่วยป้องกัน และลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ แถมยังช่วยรักษาโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารได้อีกด้วย

ข้อควรระวังในการใช้ว่านหางจระเข้

ข้อควรระวังในการใช้ว่านหางจระเข้

ถึงแม้ว่าประโยชน์ของว่านหางจระเข้ที่มีต่อสุขภาพนั้นจะมีมากมาย และสามารถใช้ประโยชน์ของว่านหางจระเข้ได้ทั้งภายในและภายนอก แต่ก็ยังมีข้อควรระวังในการใช้ว่านหางจระเข้ เพื่อใช้ว่านหางจระเข้ได้อย่างถูกต้อง โดยข้อควรระวังในการใช้ว่านหางจระเข้ที่ควรรู้ไว้ มีดังนี้

  • ล้างให้สะอาดก่อนกินหรือใช้ ก่อนนำมากินหรือรักษาแผล ควรล้างว่านหางจระเข้ให้สะอาดทุกครั้ง เพราะน้ำยางของว่านหางจระเข้นั้นมีสารแอนทราควิโนน อาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองทั้งต่อผิวหนัง และทางเดินอาหารได้

  • ใช้ทันที หลังจากตัดว่านหางจระเข้มาแล้วควรใช้ทันที เพราะคุณภาพจะลดลงหากปล่อยทิ้งไว้

  • กินภายใน 6 ชั่วโมง เนื้อวุ้นว่านหางจระเข้นั้นจะมีอายุเพียง 6 ชั่วโมง หากจะกินหรือใช้ค่อยปลอก หรือปลอกแล้วแช่แข็งไว้ควรกินให้หมดภายใน 6 ชั่วโมง

  • กินในปริมาณที่เหมาะสม ควรกินว่านหางจระเข้ในปริมาณที่เหมาะสม เพราะหากกินเยอะมากเกินไปอาจเกิดผลข้างเคียงได้

  • คนท้องห้ามใช้ หากต้องการใช้ว่านหางจระเข้เป็นยาถ่าย หรือยาระบาย ห้ามใช้ในผู้ที่ตั้งครรภ์ ผู้ที่มีประจำเดือน หรือผู้ที่เป็นโรคริดสีดวงทวาร3

สรุป

ว่านหางจระเข้ เป็นพืชสมุนไพรที่นิยมใช้กันมาอย่างยาวนาน ด้วยสรรพคุณ และประโยชน์ของว่านหางจระเข้ที่มีฤทธิ์เย็นและสามารถนำมาใช้งานได้ทุกส่วน จึงทำให้ว่านหางจระเข้นั้นสามารถใช้ได้ทั้งแบบกินและแบบทา เพื่อนำไปใช้รักษาหรือบรรเทาอาการเจ็บป่วยต่างๆ ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังสามารถนำมาบำรุงผิวได้หรือนำไปเป็นส่วนประกอบของอาหารเสริมได้ เช่น โปรตีนผสมว่านหางจระเข้ ที่มีส่วนช่วยในการบำรุงข้อเข่า กินง่าย ดื่มง่าย สุขภาพดีได้แบบไม่ต้องรอ

ข้อมูลอ้างอิง

  1. ศาสตราจารย์นายแพทย์วิวัฒน์ วิสุทธิโกศล. ประโยชน์ของว่านหางจระเข้. Rama.mahidol.ac.th. Retrieved 7 Mar 2023.

  2. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. ว่านหางจระเข้. Pharmacy.su.ac.th. Retrieved 7 Mar 2023.

  3. MedThai. ว่านหางจระเข้ สรรพคุณและประโยชน์ของว่านหางจระเข้ 40 ข้อ !  . Medthai.com. Published 7 Aug 2020. Retrieved 7 Mar 2023.

  4. ณัฏฐณิชชา มหาวงษ์. อันตรกิริยา (ยาตีกัน) ของว่านหางจระเข้กับยาแผนปัจจุบัน. Pharmacy.mahidol.ac.th. Published 6 May 2012. Retrieved 7 Mar 2023.

  5. David Cowan. Oral Aloe vera as a treatment for osteoarthritis: A summary. Researchgate.net. Published Jun 2010. Retrieved 7 Mar 2023.

  6. Pobpad. ว่านหางจระเข้ สมุนไพรไทยยอดฮิต กับประโยชน์ต่อสุขภาพ. Pobpad.com. Retrieved 7 Mar 2023.

  7. Cent Eur J Immunol. Oral administration of Aloe vera gel, anti-microbial and anti-inflammatory herbal remedy, stimulates cell-mediated immunity and antibody production in a mouse model. Ncbi.nlm.nih.gov. Published 27 Jun 2014. Retrieved 7 Mar 2023.

  8. David Cowan. Oral Aloe vera as a treatment for osteoarthritis: a summary . Ncbi.nlm.nih.gov. Published 15 Jun 2010. Retrieved 7 Mar 2023.

  9. PhatUBU. ว่านหางจระเข้. apps.phar.ubu.ac.th. Retrieved 7 Mar 2023.

  10. Shaohui Jia, Qiming Wu, Shue Wang, Juntao Kan, Zhao Zhang, Xiping Zhang, Xuejun Zhang, Jie Li, Wenhan Xu, Jun Du, * and Wei Wei, Pea Peptide Supplementation in Conjunction With Resistance Exercise Promotes Gains in Muscle Mass and Strength, frontiers in Nutrition 2022; 9: 878229. Published online 7 Jul 2022. Retrieved 28 Apr 2023.

  11. Daisy. รู้จัก 5 สมุนไพรรักษาไมเกรน บรรเทาอาการปวดหัวแบบไม่พึ่งยา. Tpa.or.th. Published 17 OCt 2022. Retrieved 9 May 2023.

  12. İbrahim Kahramanoğlu, Chuying Chen, Jinyin Chen, and Chunpeng Wan. Chemical Constituents, Antimicrobial Activity, and Food Preservative Characteristics of Aloe vera Gel. Agronomy 2019, 9(12), 831. Published 2 December 2019. Retrieved 13 May 2023.

  13. Amar Surjushe, Resham Vasani, and D G Saple. ALOE VERA: A SHORT REVIEW. Indian Journal of Dermatology 2008; 53(4): 163–166. Published October-December 2008. Retrieved 13 May 2023.

shop now