ดอกดาวเรือง ถือเป็นไม้ดอกสารพัดประโยชน์ เพราะนอกจากดอกดาวเรืองจะถูกนิยมใช้เป็นดอกไม้แต่งสวน แต่งบ้านแล้ว แต่ละองค์ประกอบของดอกดาวเรืองไม่ว่าจะเป็นส่วนดอกหรือราก ก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในฐานะสมุนไพรชั้นดีที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นการบำรุงสุขภาพเพิ่มความสดชื่น ช่วยแก้อาการหน้ามืด วิงเวียน รวมถึงนำมาใช้เป็นสมุนไพรเพื่อบำรุงสายตาได้อีกด้วย

ทำความรู้จัก “ดอกดาวเรือง” ไม้ดอกสีเหลืองที่แสนคุ้นตา

ทำความรู้จัก “ดอกดาวเรือง” ไม้ดอกสีเหลืองที่แสนคุ้นตา

ดอกดาวเรืองถือเป็นไม้ดอกสีเหลืองที่แสนคุ้นตา เรามักพบเห็นดอกดาวเรืองตามกระถางพุ่มต่างๆ เห็นดอกดาวเรืองถูกใช้เป็นเครื่องมือแสดงความเคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และที่มากไปกว่านั้นยังถูกใช้สกัดเป็นสมุนไพรเพื่อนำมาใช้บำรุงสุขภาพอีกด้วย แต่ก่อนที่จะไปพูดถึงประโยชน์ของดอกดาวเรือง เรามาทำความรู้จักกับดอกดาวเรืองกันก่อน

ดอกดาวเรือง มีชื่อสามัญว่า Marigold และมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tagetes erecta L. จัดอยู่ในวงศ์ทานตะวัน (Asteraceae หรือ Compositae) เป็นไม้ดอกที่พบเห็นได้ในหลายท้องถิ่น จึงมักปรากฏการเรียกชื่อท้องถิ่นอื่นๆ นอกเหนือไปจากชื่อสามัญ ไม่ว่าจะเป็นการเรียกว่าดอกคำปู้จู้หลวงในภาคเหนือ และดอกพอทูที่เรียกกันในแม่ฮ่องสอน เป็นต้น

นอกจากรูปลักษณ์สีเหลืองสดใส เห็นแล้วสดชื่น ดอกดาวเรือง ยังแฝงไปด้วยความหมายแสนลึกซึ้งและมงคลในภาษาดอกไม้  โดยทั่วไปเชื่อกันว่าด้วยสีเหลืองอร่าม ทำให้เมื่อปลูกในบ้านจะช่วยให้เจ้าของบ้านเจริญรุ่งเรืองมีเงินทองล้นมือ นอกจากนี้ดอกดาวเรือง ยังมีลักษณะพิเศษอย่างการปลูกง่าย โตเร็ว และแข็งแรง จึงสามารถสื่อความหมายในภาษาดอกไม้ถึงความรัก ความมั่นคง และครอบครัวได้อีกด้วยเช่นกัน

แม้จะเป็นดอกไม้สำคัญของคนไทย แต่ต้นกำเนิดของไม้ดอกชนิดนี้กลับเริ่มต้นขึ้นที่ประเทศเม็กซิโกและแถบทวีปอเมริกาใต้ก่อนที่จะขยายพันธุ์ไปยุโรปและทวีปต่างๆ ทั่วโลก ในปัจจุบันนี้ดอกดาวเรือง มีอยู่ด้วยกัน 5 สายพันธุ์ด้วยกัน ได้แก่ ดาวเรืองอเมริกัน (American Marigold), ดาวเรืองฝรั่งเศส (French Marigolds), ดาวเรืองนักเก็ต (Nugget Marigolds), ดาวเรืองซิกเน็ต (Signet Marigold) และดาวเรืองใบ (Foliage Marigold) โดยทั่วไปดอกดาวเรืองมักเจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีแสงแดดเพียงพอ โดยในประเทศไทยมักปลูกกันบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ลักษณะของดอกดาวเรืองเป็นอย่างไร?

ลักษณะของดอกดาวเรืองเป็นอย่างไร?

ดอกดาวเรือง จัดเป็นไม้ล้มลุกที่มีอายุเฉลี่ยของการเจริญเติบโตอยู่ที่ 1 ปี หากลำต้นตั้งตรงมีความสูงประมาณ 60-100 เซนติเมตร มักแตกกิ่งก้านที่โคนต้น โดยใบจะเพิ่มขึ้นเรียงตัวกันโดยทั่วไปมีประมาณ 11-17 ใบในลักษณะของใบรูปวงรี ปลายใบแหลม ขอบใบเป็นหยักคล้ายซี่ฟัน มีแผ่นใบสีเขียวเนื้อใบนิ่ม ส่วนของลำต้นจะเป็นสีเขียวแก่และมีพื้นผิวเป็นร่อง ในส่วนของดอกจะออกดอกเป็นช่อที่ปลายยอด ออกดอกเป็นสีเหลืองเข้มริ้วประดับสีเขียว ดอกอาจแบ่งออกเป็นสองวง คือดอกวงนอก ที่ยังเป็นดอกไม่สมบูรณ์ และดอกวงในที่เป็นหลอดเล็กอยู่ตรงกลาง ดอกดาวเรือง จัดเป็นพันธุ์ไม้กลางแจ้งและขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดเป็นหลัก 

ต้นดาวเรืองส่วนไหน? ที่นำมาใช้เป็นยาที่ดีต่อสุขภาพ

ต้นดาวเรืองส่วนไหน? ที่นำมาใช้เป็นยาที่ดีต่อสุขภาพ

ไม่ได้เพียงแต่ดอกสวยๆ เท่านั้น ส่วนประกอบต่างๆ ของต้นดาวเรืองก็ยังสามารถนำมาประทานเป็นยาเพื่อช่วยส่งเสริมให้สุขภาพดีขึ้น โดยต้นดาวเรืองสามารถนำมาใช้เป็นสมุนไพรบำรุงสุขภาพได้ทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นผลดาวเรือง ใบของดาวเรือง ดอกดาวเรือง ไปจนถึงรากของดาวเรืองก็สามารถนำมารับประทานเป็นสมุนไพรได้เช่นกัน โดยแต่ละองค์ประกอบก็มีกรรมวิธีการสร้างสรรค์เป็นยาและวิธีใช้ต่างกันไป อธิบายได้ดังนี้

ดอกดาวเรือง

สำหรับดอกดาวเรืองนั้น ไม่เพียงแต่จะเป็นไม้ดอกต้นสูงที่มีสีเหลืองทอง หรือสีส้มสวยงามแล้ว หากนำดอกดาวเรืองไปสกัดจะยังได้รับสารลูทีนและซีแซนทีน ช่วยบำรุงดวงตาได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับคนจีนแล้ว พวกเขามักนำดอกดาวเรือง มาปรุงกับตับไก่เพื่อใช้ดื่มบำรุงสายตา และแก้อาการตาเจ็บตาบวมต่างๆ ได้อีกด้วย1

สารสกัดดอกดาวเรืองสำคัญที่ช่วยบรรเทาอาการหลอดลมอักเสบ บำรุงตับ ช่วยขับลม และสามารถใช้บรรเทาอาการปวดฟันได้อีกด้วย2 คุณประโยชน์ของดอกดาวเรือง ไม่ได้มีเพียงแค่นั้น เพราะยังมีฤทธิ์เป็นยาเย็นที่สามารถใช้เป็นยาฟอกเลือดและช่วยแก้อาการเวียนศีรษะได้ นอกจากนี้การดื่มน้ำต้มดอกดาวเรืองยังช่วยแก้อาการเวียนศีรษะและรักษาคางทูมได้อีกด้วย3

ต้นดาวเรือง

ส่วนลำต้นของดาวเรืองสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง เช่น อาการปวดท้องรุนแรงคล้ายไส้ติ่ง และยังมีส่วนช่วยเสริมการทำงานของลำไส้ และใช้เป็นยารักษาโรคไส้ตันอักเสบได้ นอกจากนี้ ยังสามารถใช้เป็นยารักษาแก้ฝีลมได้อีกด้วย1 

ใบดาวเรือง

ลำต้นของดอกดาวเรืองสามารถนำมาบดเป็นผงแล้วผสมกับน้ำส้มสายชูเพื่อพอกบรรเทาอาการฝีได้ นอกจากนี้หากนำมาบดแล้วต้มเป็นน้ำดื่ม ก็สามารถใช้เป็นยาขับลม ลดอาการจุกเสียด หรือใช้เป็นยาแก้ริดสีดวงทวารได้อีกด้วย11

หากนำใบแห้งประมาณ 5-10 กรัมมาต้มกับน้ำดื่ม จะมีสรรพคุณสำคัญสำหรับช่วยแก้โรคตานขโมยในเด็กได้  นอกจากนี้หากนำใบมาคั้นและชงเข้ากับน้ำก็อาจช่วยบรรเทาอาการเจ็บหู ปวดหู ไม่เพียงแต่รักษาภายในเท่านั้น น้ำคั้นจากใบยังสามารถนำมาทาผิวหนังเพื่อรักษาอาการเน่าเปื่อย หรือนำมาผสมกับน้ำมันมะพร้าวทาแผลก็จะช่วยลดอาการเน่าเปื่อยและฝีต่างๆ ด้วยเช่นกัน11

รากดาวเรือง

รากของดาวเรืองสามารถเป็นยาระบาย รวมถึงใช้เป็นยาถอนพิษและแก้อาการบวมอักเสบภายในได้อีกด้วย1 นอกจากนี้ รากมีรสขมเล็กน้อย ถือเป็นยาเย็น สามารถใช้บำรุงปอดและตับได้

สรรพคุณของดอกดาวเรืองที่ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพมีอะไรบ้าง?

สรรพคุณของดอกดาวเรืองที่ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพมีอะไรบ้าง?

เห็นได้เลยว่าดาวเรืองเป็นไม้ดอกที่นำมาใช้ปรุงเป็นสมุนไพรบรรเทาอาการป่วยต่างๆ ได้ทุกส่วน นอกจากนี้ดาวเรืองมีสรรพคุณช่วยบำรุงอีกด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการบำรุงผิวพรรณ บำรุงสายตา รวมถึงบรรเทาอาการเจ็บป่วยต่างๆ ไปจนถึงลดระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด10

บำรุงสายตา

นอกจากบำรุงผิวพรรณ ดอกดาวเรืองยังนิยมนำสารสกัดมาใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารเสริมบำรุงสายตา มีคุณสมบัติสำคัญในการบำรุงสายตา5 เพราะในดาวเรืองมีสารแซนโทฟิลล์ (Xanthophyll) อันเป็นสารแคโรทีนอยด์ สารตัวนี้มีองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ สารลูทีน (Lutein) และซีแซนทิน (Zeaxanthin) อันเป็นสารต้านอนุมูลอิสระหรือสารช่วยบำรุงสายตาจากพืชที่มีสี

นอกจากนี้ จากงานวิจัยยังพบว่าการกินสารทั้งสองชนิดนี้ในอัตราส่วน 5:1 นอกจากจะช่วยเพิ่มความหนาแน่นของสารสี (pigment) บริเวณจุดภาพชัด (Macula) ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็นในที่แสงจ้าได้ดีขึ้น เห็นรายละเอียดของภาพเวลามองได้ดีขึ้น ยังช่วยป้องกันจอประสาทตาเสื่อม ปกป้องจอประสาทตาจากยูสีและแสงสีฟ้าที่อาจเป็นอันตราย ทำให้ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดจอประสาทตาเสื่อมอันเนื่องมาจากวัยและการใช้สายตาสู้แสงในยุคแห่งเทคโนโลยีที่ต้องใช้หน้าจออีกด้วย

บำรุงผิวพรรณ

  • ดอกดาวเรืองช่วยบรรเทารอยแผล/รอยช้ำบนผิวหนัง

จากข้อมูลของ Onlymyhealth ได้อธิบายว่าดอกดาวเรืองเป็นดอกไม้ที่มีประโยชน์ในแง่การบำรุงผิวพรรณเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นการช่วยฟื้นฟูผิวจากบาดแผล ริ้วรอยต่างๆ นอกจากนี้ยังช่วยให้ผิวกระจ่างใสและรอยดำรอยกระด่างให้ลดลง 

โดยแพทย์อายุรเวท ซึ่งเป็นระบบการแพทย์โบราณของอินเดีย ได้อธิบายว่า ดอกดาวเรืองสามารถช่วยรักษาผิวพรรณจากอาการติดเชื้อ บาดแผล หรือรอยแมลงกัดต่อยได้ โดยนำกลีบดอกดาวเรืองมาบดและทาลงบนบาดแผลอย่างต่อเนื่องประมาณ 2-3 ครั้ง ซึ่งจะช่วยให้อาการเหล่านั้นดีขึ้น7

  • ดอกดาวเรืองช่วยเพิ่มจำนวนเซลล์ผิว

ดอกดาวเรือง มีสาร Glycoprotein และ Nucleoprotein ที่ช่วยเพิ่มเซลล์ผิวให้มากยิ่งขึ้น การเพิ่มเซลล์ผิวนี้มีข้อดี เพราะการเพิ่มเซลล์ผิวนั้นเปรียบเสมือนการสร้างเซลล์ใหม่เพื่อทดแทนเซลล์เก่าที่หมดอายุ แล้วยิ่งเซลล์ผิวเพิ่มมากเท่าไร ผิวก็ยิ่งดูสวยสุขภาพดีมากขึ้นเท่านั้น7

  • ดอกดาวเรืองช่วยบำรุงให้ผิวชุ่มชื้น

ดอกดาวเรือง ยังช่วยให้ผิวนุ่มชุ่มชื้นอีกด้วย เพียงแค่นำส่วนใบมาบดให้เป็นผงผสมกับนม จากนั้นทาบริเวณผิวหนังที่ต้องการบำรุงในช่วงเวลากลางคืน สารสกัดดอกดาวเรืองก็จะช่วยซ่อมแซมผิวที่เสื่อมโทรมให้ชุ่มชื้นดูสุขภาพดีมากยิ่งขึ้น7 

  • ดอกดาวเรืองช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนในชั้นผิว

ดอกดาวเรือง มีสาร Triterpenoids อันเป็นสารที่ช่วยลดการอักเสบ สารนี้ถือว่าเป็นประโยชน์มากต่อคนที่มีปัญหาริ้วรอยบนใบหน้าที่เกิดมาจากคอลลาเจนเสื่อมหาย โดยหากมาส์กดอกดาวเรือง 2 ครั้งต่อสัปดาห์ก็จะช่วยรักษาคอลลาเจนบนใบหน้าเพื่อให้ผิวดูโกลว์และอ่อนกว่าวัยด้วยเช่นกัน7

บรรเทาอาการเจ็บป่วยต่างๆ

จากงานวิจัยยังพบว่าสารต้านอนุมูลอิสระที่สกัดมาจากดอกดาวเรืองนั้น ยังสามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วยต่างๆ ดังนี้

  • ช่วยละลายเสมหะ แก้เจ็บคอ ต่อมทอนซิลอักเสบ รวมถึงอาการแผลในช่องปากที่ครอบคลุมไปถึงเหงือกอักเสบ ปากเปื่อย

  • ช่วยบรรเทาอาการเวียนหัว ปวดหัว คลื่นไส้

  • ช่วยต้านแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อรา ที่เกิดขึ้นบนดวงตาอันนำมาสู่อาการอักเสบ รวมถึงเสริมสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อไม่ให้ดวงตาเสียหาย และบำรุงประสาทตาให้มองเห็นได้ชัดเจนขึ้น

  • ช่วยบำรุงอวัยวะภายใน เช่น ตับ

  • ช่วยทำให้อาการตัวร้อนเป็นไข้บรรเทาลง อาจช่วยแก้หวัด กรน

  • ช่วยแก้อาการปวดท้อง ปวดตามข้อ ปวดเต้านมเนื่องมาจากอาการอักเสบ ปวดประจำเดือน เจ็บหู ปวดหู

ลดน้ำตาล และไขมันในเลือด

สารสกัดดอกดาวเรืองยังมีคุณสมบัติในการยับยั้งเอนไซม์แอลฟา-กลูโคซิเดส (Alpha-Glucosidase) การยับยั้งตรงนี้จะช่วยลดการดูดซึมกลูโคสในร่างกาย ทำให้สามารถลดน้ำตาลในเลือดได้ดี การที่ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงก็เป็นผลดีต่อผนังหลอดเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน อันนำไปสู่การทำให้เกิดความเสี่ยงโรคแทรกซ้อนน้อยลง นอกจากนี้สารสกัดดอกดาวเรืองยังยับยั้งเอนไซม์ไลเปสที่มีหน้าที่ย่อยไขมันจากตับอ่อน ดังนั้น การบำรุงร่างกายด้วยสารสกัดดอกดาวเรืองจึงช่วยลดน้ำตาล และปริมาณไขมันในเลือด10 ทำให้ลดโอกาสเกิดโรคอ้วนได้อีกด้วย

ข้อควรระวังในการใช้ดอกดาวเรืองเป็นยา

ข้อควรระวังในการใช้ดอกดาวเรืองเป็นยา

ถึงแม้สารสกัดดอกดาวเรืองจะมีคุณประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย แต่การใช้ดอกดาวเรืองเป็นยาเพื่อบรรเทาอาการต่างๆ ก็มีข้อควรระวังเช่นกัน เพื่อให้สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยและไม่เป็นอันตราย ก่อนใช้ดาวเรืองเป็นยา ควรอ่านข้อควรระวังต่อไปนี้

  • ดอกดาวเรืองที่ซื้อมาจากร้านค้าภายนอกอาจเสี่ยงปนเปื้อนสารเคมีได้ ดังนั้น หากต้องการต้มเป็นชาหรือนำมาทำยาควรใช้ที่ปลูกเองจะได้รับความปลอดภัยมากกว่า

  • ควรรับประทานดอกดาวเรืองที่ผ่านกรรมวิธีต้มหรือสกัดแล้วเท่านั้น เนื่องจากยังไม่มีงานวิจัยใดที่ยืนยันคุณประโยชน์ของการรับประทานดอกดาวเรืองสด

  •  สารสกัดดอกดาวเรืองอาจต่อผู้ที่มีปัญหาหรือภาวะด้านสุขภาพร่างกาย เช่น ผู้ที่ตั้งครรถ์ ผู้ให้นมบุตร หรือมีโรคประจำตัวอย่าง โรคตับ และโรคไต12 ทั้งนี้ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานจะดีที่สุด

  • ไม่ควรรับประทานดอกดาวเรืองเกินขนาดที่ฉลากกำหนด เนื่องจากสารสกัดดอกดาวเรืองอาจมีสารชีวเคมี และเมื่อร่างกายได้รับมากเกินความจำเป็นก็อาจเป็นอันตรายมากกว่าจะช่วยบำรุงร่างกายได้

แนะนำผลิตภัณฑ์สารสกัดดอกดาวเรือง 

เห็นได้เลยว่าสารสกัดจากดอกดาวเรืองมีคุณประโยชน์หลายอย่าง ดังนั้น จึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจที่ผลิตภัณฑ์สารสกัดดอกดาวเรืองได้รับความนิยมมากมายในหมู่ผู้ที่รักสุขภาพ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องการบำรุงสายตา ช่วยให้มองเห็นคมชัดมากขึ้น ช่วยปกป้องสายตาจากแสงฟ้าและยูวี รวมถึงบำรุงจอประสาทตาป้องกันการเสื่อม นอกจากนี้การกินผลิตภัณฑ์เสริมยังช่วยเสริมการเจริญเติบโตของร่างกาย รวมถึงคงสภาพของเยื่อบุต่างๆ ให้ทำงานได้อย่างปกติ

ผลิตภัณฑ์สารสกัดดอกดาวเรืองโดยทั่วไปยังมีส่วนผสมอื่นๆ ที่คัดสรรมาแล้วว่าเป็นประโยชน์เพิ่มเติมอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น สารเบต้าแคโรทีน (วิตามินเอ) ไลโคปีน รวมไปถึงซิงค์ ซึ่งสารสกัดเหล่านี้ก็จะยิ่งช่วยส่งเสริมการทำงานของผลิตภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่อย่างไรก็ดี การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้นอาจได้ผลลัพธ์แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล จึงควรศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดก่อนเริ่มกิน เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดนั่นเอง

สรุป

ดอกดาวเรืองถือเป็นไม้ดอกสีเหลืองสะดุดตาที่มีต้นกำเนิดห่างไกลถึงประเทศเม็กซิโกและแอฟริกาใต้ ก่อนจะขยายพันธุ์ไปทั่วโลกจนมาถึงประเทศไทย ดอกดาวเรืองไม่เพียงแต่สวยงามจนสามารถนำมาเป็นไม้ประดับได้เท่านั้นแต่ยังมีสรรพคุณทางยาราวกับสมุนไพรที่ช่วยบำรุงสุขภาพในหลายๆ ด้าน ด้วยคุณประโยชน์หลากหลาย สารสกัดดอกดาวเรืองจึงถูกนำไปใช้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพอีกด้วย อย่างไรก็ดี ถึงแม้สารสกัดดอกดาวเรืองจะมีสรรพคุณทางยามากมาย แต่ก็มีข้อควรระวังในการรับประทานดังนั้น จึงควรศึกษาข้อมูลของผลิตภัณฑ์อย่างละเอียด เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดนั่นเอง

ข้อมูลอ้างอิง

  1. MedThai. ดาวเรือง สรรพคุณและประโยชน์ของดอกดาวเรือง 42 ข้อ !. Published 11 March 2020, Retrieved on 17 February 2023.

  2. ภญ.กฤติยา ไชยนอก, สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. ดาวเรือง… ดอกไม้ถวายพ่อ. Published 15 October 2017, Retrieved on 17 February 2023.

  3. MedThai. คางทูม อาการ สาเหตุ และการรักษาโรคคางทูม 13 วิธี !!. Published 3 May 2020, Retrieved on 17 February 2023.

  4. Zirkia Swart, Mountain Herb Estate. Calendula (Pot Marigold). Retrieved on 17 February 2023.

  5. Jovine Marcella Kurniawan et al 2019 IOP Conf. Ser.: Mater. Sci. Eng. 509 012060. (PDF) Effect of drying treatments on the contents of lutein and zeaxanthin in orange- and yellow-cultivars of marigold flower and its application for lutein ester encapsulation. Retrieved on 17 February 2023.

  6. Chanchal Sengar, Onlymyhealth. Marigold Flower is A Great Skincare Ingredient, Learn Its Uses and Benefits. Published 31 October 2020, Retrieved on 17 February 2023.

  7. Matthew J. Leach, Wound Care Learning Network. Calendula officinalis and Wound Healing: A Systematic Review. Published August 2008, Retrieved on 17 February 2023.  

  8. Brewing Beauty Co. Calendula: A potent skincare ingredient. Published 10 March 2021, Retrieved on 17 February 2023.

  9. Learn Canyon. Calendula Extract: Your Skin Glow Powerhouse. Retrieved on 17 February 2023.

  10. Wang W, Xu H, Chen H, Tai K, Liu F, Gao Y. In vitro antioxidant, anti-diabetic and antilipemic potentials of quercetagetin extracted from marigold (Tagetes erecta L.) inflorescence residues. J Food Sci Technol 2016;53(6):2614-24. Retrieved 17 Feb 2023.

  11. เดลินิวส์. เรื่องน่ารู้: ดอกดาวเรือง. Published 22 December 2017, Retrieved on 17 February 2023.Webmed. Marsh Marigold - Uses, Side Effects, and More. Retrieved on 17 February 2023.

shop now