ประโยชน์ของเมล็ดเชียจากสารต้านอนุมูลอิสระ ปรับสมดุลไมโครไบโอมของผิว ช่วยลดน้ำหนัก ลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ บำรุงกระดูก ลดน้ำตาลในเลือด และบำรุงสุขภาพลำไส้

เมล็ดเชีย คืออะไร?

เมล็ดเชีย หรือ เมล็ดเจีย หรือ เชียซีด (Chia Seed) คือ ธัญพืชขนาดเล็กชนิดหนึ่งลักษณะเป็นรูปไข่เรียวรีคล้ายกับเม็ดแมงลัก มีหลากหลายสี เช่น สีขาว สีดำ สีน้ำตาลเทา หรือสีครีม เมื่อแช่น้ำจะเกิดการพองตัว สามารถทานได้โดยไม่ต้องแปรรูป นิยมนำมาโรยบนเมนูอาหารและเครื่องดื่มต่างๆ เนื่องจากเมล็ดเชียเป็นพืชที่มีประโยชน์ ให้พลังงานสูง และเต็มไปด้วยสารอาหารมากมาย โดยเฉพาะเมล็ดเชียขาว มีกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่ช่วยรักษาสมดุลของไมโครไบโอมผิว ให้ผิวแข็งแรง และสมดุล โปรตีน เส้นใยอาหาร และสารต้านอนุมูลอิสระ ไปจนถึงแร่ธาตุและวิตามินต่างๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย1,2 ทำให้เมล็ดเชียได้รับความนิยมไปทั่วโลกสำหรับผู้ที่สนใจเรื่องผิวพรรณและต้องการรักษารูปร่าง

ประโยชน์ของเมล็ดเชีย

มีงานวิจัยหลายชิ้นที่พูดถึงประโยชน์ของเมล็ดเชีย ซึ่งเต็มไปด้วยสารอาหารสำคัญที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ทำให้ในปัจจุบันคนที่ต้องการลดน้ำหนักมักจะนึกถึงการกินเมล็ดเชียเป็นอันดับแรก และเมล็ดเชียก็ยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย ดังนี้

ช่วยลดน้ำหนัก

เมล็ดเชียมีส่วนช่วยให้ลดน้ำหนักได้ เนื่องจากในเมล็ดเชียมีเส้นใยอาหารและโปรตีนค่อนข้างสูง ทำให้เมื่อกินเข้าไปจะรู้สึกอิ่มได้เร็วและนานขึ้น นอกจากนี้ด้วยคุณสมบัติที่จะขยายตัวเมื่อถูกแช่ในน้ำจะช่วยให้รู้สึกอิ่มได้ง่ายขึ้นเช่นกัน จากการวิจัยพบว่ากลุ่มคนที่กินเมล็ดเชียคู่กับโยเกิร์ตเป็นอาหารเช้านั้นจะเพิ่มรู้สึกอิ่มมากกว่าคนที่ไม่ได้กินเมล็ดเชีย3,7 อีกทั้งมีบางงานวิจัยพบว่ากลุ่มคนที่กินเมล็ดเชียช่วยให้น้ำหนักและรอบเอวลดลงได้2

เริ่มต้นลดน้ำหนัก

ช่วยส่งเสริมให้ผิวสุขภาพดี

เมล็ดเชียช่วยส่งเสริมให้ผิวดูสุขภาพดีขึ้นได้ ไม่ใช่เพียงจากการกินเท่านั้น การใช้เครื่องสำอางหรือผลิตภัณฑ์สกินแคร์ที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากเมล็ดเชียขาวซึ่งมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ยังสามารถช่วยให้ผิวกระจ่างใส ชะลอการเกิดริ้วรอย ป้องกันผิวแห้ง9 ช่วยให้ผิวแลดูแข็งแรงสุขภาพดีขึ้นได้อีกด้วย

ช่วยปรับสมดุลไมโครไบโอมของผิว

ประโยชน์ของเมล็ดเชียมีส่วนช่วยในการปรับสมดุลไมโครไบโอมของผิว ไม่ว่าจะจากการกินเมล็ดเชียที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 และการใช้ผลิตภัณฑ์สกินแคร์ที่มีส่วนผสมของเมล็ดเชียขาว จะช่วยทำให้โครงสร้างผิวแข็งแรงและทำให้ไมโครไบโอมของผิวมีความสมดุลมากขึ้น10

ช่วยกักเก็บความชุ่มชื้นให้ผิว

การใช้ผลิตภัณฑ์สกินแคร์ที่มีส่วนผสมของน้ำมันเมล็ดเชียขาว มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างความแข็งแรงของผิวชั้นนอก ซึ่งเป็นเกราะป้องกันช่วยกักเก็บความชุ่มชื้นให้ผิว ช่วยบำรุงฟื้นฟูผิวแห้งเสียจากปัจจัยสิ่งแวดล้อม สภาพอากาศ มลภาวะต่างๆ10

มีส่วนช่วยในการต้านอนุมูลอิสระ

ในเมล็ดเชียเต็มไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น Chlorogenic acid, Caffeic acid, Myricetin, Quercetin และ Kaempferol3 ซึ่งการได้รับสารต้านอนุมูลอิสระที่เพียงพอมีส่วนช่วยในการทำให้สารอนุมูลอิสระมีความเป็นกลาง ปรับสมดุลระบบต่างๆ ภายในร่างกาย ช่วยลดการเกิด Oxidative stress หรือ Nitrosative stress ที่เป็นปัจจัยทำให้เกิดโรคเรื้อรังอื่นๆ ตามมา11

ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ

การกินเมล็ดเชียซึ่งเป็นธัญพืชที่มีเส้นใยอาหารและโอเมก้า 3 สูง ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจได้3 มีการวิจัยพบว่าการบริโภคเส้นใยอาหารจะช่วยลดไขมันและคอเลสเตอรอลในเลือด12 รวมไปถึงกรดไขมันโอเมก้า 3 Alpha-Linolenic Acid (ALA) ซึ่งพบว่ามีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้2

บำรุงสุขภาพกระดูก

เมล็ดเชียอุดมไปด้วยแร่ธาตุที่สำคัญต่อสุขภาพกระดูกและฟัน ไม่ว่าจะเป็น แคลเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม โพแทสเซียม3,4 มีผลการวิจัยพบว่าการได้รับแร่ธาตุจำเป็นที่เพียงพอจะช่วยเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูก จึงลดโอกาสเกิดกระดูกพรุน ดังนั้นการกินเมล็ดเชียจึงมีส่วนช่วยบำรุงให้กระดูกแข็งแรงขึ้นได้13

ช่วยลดน้ำตาลในเลือด

การกินเมล็ดเชียช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและช่วยลดความเสี่ยงของภาวะดื้ออินซูลินได้ คือมีส่วนช่วยให้เซลล์ในร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินได้ดีมากขึ้น เนื่องจากเส้นใยอาหาร กรดไขมัน และโปรตีนในเมล็ดเชียมีประโยชน์ช่วยชะลอกระบวนการเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตให้เป็นน้ำตาลของร่างกายให้ช้าลง จึงทำให้ลดระดับน้ำตาลที่จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้4 จากการวิจัยพบว่ามีส่วนช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานได้15

เริ่มต้นลดน้ำหนัก

มีส่วนช่วยเรื่องความดันโลหิตสูง

ในเมล็ดเชียมีกรด Chlorogenic ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลดระดับความดันโลหิตได้3 มีการวิจัยศึกษาเกี่ยวกับประโยชน์ของเมล็ดเชียกับการรักษาโรคความดันโลหิตสูงซึ่งเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด5 พบว่ากลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูงทั้งที่กำลังรับยารักษาและไม่ได้รับยารักษา ที่กินเมล็ดเชียเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ มีระดับความดันโลหิต รวมถึงระดับไขมันในเลือดลดลง2

เมล็ดเชีย ช่วยเรื่องลดน้ำหนักอย่างไร?

การกินเมล็ดเชียมีส่วนช่วยในการลดน้ำหนัก เนื่องจากในเมล็ดเชียเต็มไปด้วยเส้นใยอาหาร โปรตีน กรดไขมันดี แร่ธาตุ วิตามิน และสารต้านอนุมูลอิสระต่างๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็น ระบบย่อยอาหารทำงานเป็นปกติ ที่สำคัญคือช่วยลดความอยากอาหาร ทำให้รู้สึกอิ่มได้ง่ายและนานขึ้น3,7

เมล็ดเชีย ช่วยเรื่องผิวอย่างไร?

เมล็ดเชียนอกจากจะใช้กินเพื่อรับสารอาหารต่างๆ ทั้งวิตามิน แร่ธาตุ สารต้านอนุมูลอิสระต่างๆ ที่ช่วยบำรุงผิวจากภายในแล้ว ยังมีเครื่องสำอางหรือผลิตภัณฑ์สกินแคร์ที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากเมล็ดเชียขาวซึ่งมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยให้ผิวกระจ่างใส ชะลอการเกิดริ้วรอย9 ช่วยกักเก็บความชุ่มชื้นป้องกันผิวแห้ง มีส่วนช่วยในการปรับสมดุลไมโครไบโอมของผิว10 ช่วยให้ผิวแลดูแข็งแรงสุขภาพดีขึ้นได้

อ่านเพิ่มเติมเรื่องเมล็ดเชียขาว คลิก

วิธีการใช้เมล็ดเชียให้ได้ประโยชน์มากที่สุด

นำมาประกอบอาหาร

เมล็ดเชียสามารถกินได้ทั้งแบบแห้ง หรือแบบแช่น้ำ โดยสามารถกินคู่กับอาหารหรือเครื่องดื่มต่างๆ ได้ตามชอบ สำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องท้องอืด ท้องผูก ขับถ่ายยากควรกินเมล็ดเชียแบบแช่น้ำเท่านั้น โดยไม่ได้มีกำหนดอัตราส่วนในการแช่น้ำแบบตายตัว แต่ที่เหมาะสมคือเมล็ดเชีย 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำไม่น้อยกว่า 400 cc

โดยคนที่ยังไม่เคยกินเมล็ดเชียมาก่อน ควรเริ่มกินในปริมาณน้อยประมาณ 2 - 3 ช้อนชาต่อวันเพื่อให้ร่างกายคุ้นเคยก่อนแล้วจึงค่อยปรับปริมาณให้เพิ่มขึ้น แต่ไม่ควรบริโภคเมล็ดเชียเกิน 6 ช้อนโต๊ะต่อวัน1

สกัดเมล็ดเชียเป็นสกินแคร์

สารสกัดในเมล็ดเชีย มีประสิทธิภาพในการฟื้นบำรุงผิว เหมาะสำหรับนำมาใช้ในสกินแคร์เพื่อช่วยกักเก็บความชุ่มชื้น และเติมเกราะป้องกันความชุ่มชื้นของผิว ช่วยปรับปรุงให้ผิวมีความยืดหยุ่น อวบอิ่ม และอ่อนนุ่มยิ่งขึ้น เพียงทาลงบนใบหน้าและลำคอหลังจากล้างทำความสะอาดหน้า18 หรือหากต้องการขัดผิว สามารถนำเมล็ดเชียมาขัดไปบนผิวขณะอาบน้ำ เพื่อช่วยขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว19 และช่วยทำความสะอาดสิ่งสกปรกออกจากรูขุมขน ให้ความชุ่มชื้น ไม่ทำลายเกราะป้องกันผิวหนัง หรือทำให้ผิวของคุณแดงหรืออักเสบ เป็นวิธีที่อ่อนโยน ทำให้ผิวเรียบเนียน นุ่ม และสะอาด

ควรใช้เมล็ดเชียในปริมาณเท่าไรต่อวัน

เมล็ดเชียในอาหารเสริม

เมล็ดเชียสามารถใช้ได้ทุกเพศทุกวัย แต่ควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสม สำหรับการกินเมล็ดเชียเป็นอาหารเสริมควรอ่านคำแนะนำบนฉลากก่อนกิน เพื่อให้ได้ปริมาณสารสกัดจากเมล็ดเชียในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งแต่ละวัยหรือแต่ละกลุ่มคนควรกินเมล็ดเชียในปริมาณที่แตกต่างกัน ดังนี้

  • เด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี ควรกินประมาณ 1 ช้อนโต๊ะต่อวัน
  • ผู้ใหญ่ ควรกินประมาณ 15 กรัม หรือ 2 ช้อนโต๊ะต่อวัน
  • ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ควรกินแบบป่นประมาณ 33-41 กรัม ทุก 3 เดือน17

เริ่มต้นลดน้ำหนัก

สกินแคร์ที่มีเมล็ดเชียเป็นส่วนผสม

ในการใช้สกินแคร์ที่มีส่วนประกอบเป็นเมล็ดเชีย ควรใช้วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น หลังจากล้างทำความสะอาดผิวหน้า หรือบ่อยครั้งตามต้องการ

ข้อควรระวังในการใช้เมล็ดเชีย

เมล็ดเชียค่อนข้างปลอดภัยต่อร่างกาย แต่มีข้อยกเว้นที่อาจจะส่งผลต่อคนบางกลุ่ม ซึ่งมีกลุ่มคนที่ควรระมัดระวังในการใช้เมล็ดเชีย ดังนี้

  • คนที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบกระเพาะอาหารและลำไส้1,6,17
  • คนที่ต้องเข้ารับการศัลยกรรม ผ่าตัด หรือมีประวัติการใช้ยาแอสไพริน เพราะจะมีผลต่อภาวะเลือดแข็งตัวช้า1,17
  • คนที่เป็นโรคแพ้โปรตีนในธัญพืช (กลูเตน)1,6
  • ผู้ชายที่มีปัญหาเรื่องต่อมลูกหมาก เนื่องจากการกินเมล็ดเชียมากเกินไปจะกระตุ้นความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก1,17
  • ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร1,17
  • ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตต่ำ อาจทำให้เกิดอาการช็อก หรือหมดสติได้1,17

สรุป

เมล็ดเชีย คือ ธัญพืชที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่สำคัญและมีประโยชน์ต่อร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นโปรตีน เส้นใยอาหาร สารต้านอนุมูลอิสระ แร่ธาตุ และวิตามินต่างๆ มากมาย ซึ่งมีส่วนช่วยในเรื่องของการลดน้ำหนัก การบำรุงผิวให้กระจ่างใส กักเก็บความชุ่มชื้น และเพิ่มความสมดุลให้ไมโครไบโอมของผิว ส่งผลให้ผิวดูสุขภาพดี หากผิวหมองคล้ำจากแสงแดด มลภาวะ ด้วยประสิทธิภาพของสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีเยี่ยม ช่วยต่อสู้กับความเสียหายของผิวจากอนุมูลอิสระ รวมถึงยังช่วยเพิ่มการผลิตคอลลาเจน ให้ผิวกระชับขึ้น ดูอ่อนกว่าวัย

ข้อมูลอ้างอิง
  1. Sanook (health). เมล็ดเจีย ธัญพืชสำหรับลดความอ้วนได้ผล. sanook.com. Retrieved 10 January 2024.
  2. PobPad (การมีสุขภาพดี). เมล็ดเจีย ประโยชน์ดีต่อสุขภาพ. pobpad.com. Retrieved 10 January 2024.
  3. Kris Gunnars and Lizzie Streit. 7 Enticing Health Benefits of Chia Seeds. healthline.com. Published 7 December 2023. Retrieved 10 January 2024.
  4. Heidi Borst and Toby Amidor, M.S., R.D., C.D.N, F.A.N.D.. 6 Health Benefits Of Chia Seeds, According To Science. forbes.com. Published 9 January 2024. Retrieved 10 January 2024.
  5. Adda Bjarnadottir, MS, RDN (Ice). Chia Seeds 101: Nutrition Facts and Health Benefits. healthline.com. Published 11 May 2023. Retrieved 10 January 2024.
  6. WebMD Editorial Contributors. Health Benefits of Chia Seeds. webmd.com. Published 11 May 2023. Retrieved 10 January 2024.
  7. Aylin Ayaz, Asli Akyol, Elif Inan-Eroglu, Arzu Kabasakal Cetin, Gulhan Samur and Filiz Akbiyik. Chia seed ( Salvia Hispanica L.) added yogurt reduces short-term food intake and increases satiety: randomised controlled trial. pubmed.ncbi.nlm.nih.gov. Published 21 September 2017. Retrieved 10 January 2024.
  8. Amway : NUTRITION. From our farms: What are white chia seeds?. amwayglobal.com. Published 11 June 2021. Retrieved 10 January 2024.
  9. Amway : NUTRITION. Superfood spotlight: What is chia?. amwayglobal.com. Published 17 November 2020. Retrieved 10 January 2024.
  10. Amway. Ingredient spotlight: White chia seeds. amway.com. Published 27 March 2023. Retrieved 10 January 2024.
  11. Ergul Belge Kurutas. The importance of antioxidants which play the role in cellular response against oxidative/nitrosative stress: current state. ncbi.nlm.nih.gov. Published 25 July 2016. Retrieved 10 January 2024.
  12. Marc P. McRae. Dietary Fiber Is Beneficial for the Prevention of Cardiovascular Disease: An Umbrella Review of Meta-analyses. ncbi.nlm.nih.gov. Published 25 October 2017. Retrieved 10 January 2024.
  13. Evelyn M. Montes Chañi, Sandaly O. S. Pacheco, Gustavo A. Martínez, Maykon R. Freitas, Joaquin G. Ivona, Javier A. Ivona, Winston J. Craig and Fabio J. Pacheco. Long-Term Dietary Intake of Chia Seed Is Associated with Increased Bone Mineral Content and Improved Hepatic and Intestinal Morphology in Sprague-Dawley Rats. ncbi.nlm.nih.gov. Published 19 July 2018. Retrieved 10 January 2024.
  14. Ahmet Afşin Oktay, Halis Kaan Akturk, Kerim Esenboğa, Fahad Javed, Nichole M Polin, Eiman Jahangir. Pathophysiology and Prevention of Heart Disease in Diabetes Mellitus. pubmed.ncbi.nlm.nih.gov. Published 10 May 2017. Retrieved 10 January 2024.
  15. Vladimir Vuksan, Dana Whitham, John L Sievenpiper, Alexandra L Jenkins, Alexander L Rogovik, Richard P Bazinet, Edward Vidgen and Amir Hanna. Supplementation of conventional therapy with the novel grain Salba (Salvia hispanica L.) improves major and emerging cardiovascular risk factors in type 2 diabetes: results of a randomized controlled trial. pubmed.ncbi.nlm.nih.gov. Published 8 August 2007. Retrieved 10 January 2024.
  16. Luciana Tavares Toscano, Cássia Surama Oliveira da Silva, Lydiane Tavares Toscano, Antônio Eduardo Monteiro de Almeida, Amilton da Cruz Santos and Alexandre Sérgio Silva. Chia flour supplementation reduces blood pressure in hypertensive subjects. pubmed.ncbi.nlm.nih.gov. Published December 2014. Retrieved 10 January 2024.
  17. Kapook (Health). เมล็ดเจีย (เมล็ดเชีย) ธัญพืชมากประโยชน์ ขุมทรัพย์แห่งสุขภาพ. health.kapook.com. Published 11 October 2020. Retrieved 10 January 2024.
  18. Perriconemd. The Benefits of Chia Seeds for Beautiful, Healthy-Looking Skin. perriconemd.com. Retrieved 10 January 2024.
  19. Sushma Singh. 10 Chia Seeds Benefits For Skin & How To Add It To Your Skincare Routine. blog.organicharvest.in. Published 28 November 2023. Retrieved 10 January 2024.
shop now