“แอล-กลูตามีน” คืออะไร

แอล-กลูตามีน คือ หนึ่งในส่วนประกอบของกลูตามีน ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายใช้สร้างกล้ามเนื้อ และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย แอล-กลูตามีนจึงมีสรรพคุณที่ช่วยฟื้นฟูร่างกาย เพิ่มการเผาผลาญ และเสริมสร้างให้ร่างกายแข็งแรงยิ่งขึ้น

หากต้องการแหล่งแอล-กลูตามีนเพื่อบำรุงร่างกายเพิ่มเติม สามารถเลือกอาหารเสริมที่มีส่วนผสมของแอล-กลูตามีน สารสกัดจากส้มสีเลือด (โมโรบลัดออเร้นจ์) และไอโซมอลทูโลส 3 ส่วนผสมแห่งการเผาผลาญ ช่วยลดปริมาณไขมัน ปรับรูปร่าง และเพิ่มการฟื้นตัวของร่างกายให้ดีขึ้น

ทำความรู้จัก แอล-กลูตามีน คืออะไร

ก่อนทำความรู้จักกับแอล-กลูตามีนนั้น มาทำความรู้จักกับ กลูตามีน ก่อนว่าคืออะไร

กลูตามีน ( Glutamine ) คือกรดอะมิโนอิสระชนิดหนึ่งที่มีมากที่สุดในกระแสเลือด2 เป็นโครงสร้างของโปรตีนที่ร่างกายใช้ในการสร้างกล้ามเนื้อ กระดูก และเนื้อเยื่อ อีกทั้งยังมีส่วนช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย เช่น ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบสมอง และระบบย่อยอาหาร1 โดยปกติแล้วร่างกายสามารถผลิตกลูตามีนขึ้นมาได้เองตามธรรมชาติ และยังสามารถพบได้ในอาหารบางชนิดอีกด้วย แต่กลูตามีนเป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายต้องนำมาใช้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้ที่ต้องใช้กล้ามเนื้อมากๆ หรือมีอาการบาดเจ็บทางร่างกาย2

แอล-กลูตามีน (L-Glutamine) คือ หนึ่งในสารประกอบของกลูตามีน ซึ่งมักจะผลิตออกมาในรูปแบบอาหารเสริมชนิดผง เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมการกีฬา ฟิตเนส รวมไปถึงการเพาะกาย ด้วยความที่มีโมเลกุลเดียวกัน ทำให้แอล-กลูตามีน สามารถเรียกกว้างๆ ว่าเป็นกลูตามีนได้เช่นกัน2

แอล-กลูตามีน มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

เริ่มต้นจากกลูตามีนสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ L-Glutamine กับ D-Glutamine

โดยในร่างกายของสิ่งมีชีวิตนั้นจะมี L-Glutamine จำนวนมากกว่า และยังมีความสำคัญมากกว่า D-Glutamine อีกด้วย เพราะประเภท L สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายได้ ในขณะที่ประเภท D ไม่ได้มีความสำคัญต่อร่างกายมากนัก ทำให้ L-Glutamine ถูกนำมาเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมมากกว่า3-4

แอล-กลูตามีน มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

นอกจากกลูตามีนแล้วนั้นยังมี L-Glutamine ที่สามารถแบ่งออกได้อีก 2 ประเภท คือ

  • Free-form l-glutamine เป็นชนิดที่กินพร้อมกับอาหาร เพื่อให้ร่างกายดูดซึมได้ดีขึ้น

  • Trans-alanyl-glutamine เป็นชนิดกรดอะมิโนที่เกาะติดกับกรดอะมิโนชนิดอื่นๆ สามารถกินในขณะที่ท้องว่างได้ ช่วยให้ย่อยอาหารได้ดีขึ้น2

แอล-กลูตามีน เหมาะกับใคร

แอล-กลูตามีนเหมาะกับผู้ที่ใช้กล้ามเนื้อมากๆ ผู้ที่ต้องการเผาผลาญไขมัน รวมไปถึงผู้ที่กำลังรักษาโรคบางชนิดอยู่ เช่น โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว มีแผลไฟไหม้ มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเอดส์ หรือใช้กับผู้ที่ต้องการเพิ่มความสามารถในการฟื้นฟูร่างกายหลังจากการผ่าตัดหรือบาดเจ็บ นอกจากนั้นยังมีแนวโน้มว่าสามารถใช้กับผู้ที่มีโรคอ้วน โรคมะเร็งปอด และผู้ที่มีอาการท้องร่วงได้5

อย่างไรก็ตาม แอล-กลูตามีนอาจเพิ่มความเสี่ยงให้บางภาวะมีอาการรุนแรงขึ้นได้ จึงไม่เหมาะกับผู้ที่มีภาวะต่อไปนี้

  • ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์และให้นมบุตร

  • ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการทำงานของตับ

  • ผู้ที่เป็นโรคไบโพลาร์

  • ผู้ที่แพ้ผงชูรส

แอล-กลูตามีนกับการเผาผลาญ

แอล-กลูตามีนกับการเผาผลาญ

มีงานวิจัยบ่งชี้ว่าการกินแอล-กลูตามีนสามารถช่วยเผาผลาญไขมันได้ดังต่อไปนี้

  • แอล-กลูตามีนช่วยลดปริมาณไขมัน มีงานวิจัยระบุว่าหลังจากกินแอล-กลูตามีนอย่างต่อเนื่องในระยะเวลาหนึ่ง จะกระตุ้นให้ร่างกายเพิ่มการเผาผลาญกลูโคส และควบคุมระดับอินซูลินให้คงที่ จึงลดการสะสมไขมันในร่างกาย มีผลทำให้น้ำหนักและรอบเอวลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ10

  • แอล-กลูตามีนช่วยให้ออกกำลังกายได้นานขึ้น3 ในขณะที่ออกกำลังกายนั้น ร่างกายจะเกิดความเครียดและส่งผลให้กล้ามเนื้ออ่อนล้า แอล-กลูตามีนจะช่วยให้ระดับอินซูลินลดลง ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดคงที่ ร่างกายจึงใช้มวลกล้ามเนื้อเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดน้อยลง จึงเพิ่มระยะเวลาการออกกำลังกายให้นานขึ้นได้นั่นเอง

  • แอล-กลูตามีนช่วยกระตุ้นการฟื้นตัวของกล้ามเนื้อ แอล-กลูตามีนสามารถเพิ่มระดับโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) ได้ ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของร่างกาย ช่วยให้กล้ามเนื้อฟื้นตัวได้เร็วยิ่งขึ้นหลังจากออกกำลังกาย2

เมื่อแอล-กลูตามีนได้ผสานพลังกับส่วนผสมอื่น อย่าง สารสกัดจากโมโรบลัดออเร้นจ์ และ ไอโซมอลทูโลส กลายเป็น 3 ส่วนผสมแห่งการเผาผลาญ ที่สามารถช่วยปรับรูปร่างให้ดีขึ้นได้ เพียงแค่กินก่อนออกกำลังกาย ก็จะเพิ่มอัตราการเผาผลาญไขมัน และเสริมประสิทธิภาพการออกกำลังกายให้ดียิ่งขึ้น

ประโยชน์ของแอล-กลูตามีน

นอกจากจะมีประโยชน์ที่สำคัญอย่างการช่วยเผาผลาญไขมันแล้ว จากการศึกษาและงานวิจัยต่างๆ ยังให้ข้อมูลว่าแอล-กลูตามีนนั้นมีประโยชน์ในด้านอื่นๆ อีก ดังนี้

ช่วยสมานแผล

โดยปกติแล้วเมื่อร่างกายได้รับบาดเจ็บ มีแผลไฟไหม้ หรือมีแผลผ่าตัด ร่างกายจะปล่อยฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวกับความเครียด และเมื่อฮอร์โมนคอร์ติซอลสูงขึ้น จะส่งผลต่อปริมาณแอล-กลูตามีน ที่มีผลต่อการฟื้นตัวของร่างกาย7

ช่วยให้ลำไส้สุขภาพดี

กลูตามีนเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญต่อเซลล์ในลำไส้ ดังนั้นการกินแอล-กลูตามีนจึงมีส่วนช่วยเสริมสร้างสุขภาพของลำไส้ ทำให้ผนังลำไส้แข็งแรงขึ้น และอาจช่วยในเรื่องลำไส้รั่วและลำไส้แปรปรวนอีกด้วย1

ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทาน

แอล-กลูตามีนเป็นแหล่งพลังงานสำหรับเซลล์ภูมิคุ้มกัน รวมถึงเซลล์เม็ดเลือดขาวและเซลล์ลำไส้บางชนิด

ช่วยบำรุงหัวใจ

แอล-กลูตามีนมีบทบาทสำคัญในสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด โดยทำหน้าที่เป็นสารตั้งต้นสำหรับการสังเคราะห์ DNA โปรตีน และไขมัน นอกจากนี้อาจมีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบได้ ซึ่งจะลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ เช่น ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน โรคเบาหวาน เป็นต้น9

ช่วยบำรุงสมอง

แอล-กลูตามีนมีส่วนช่วยในการบำรุงสมอง เนื่องจากกลูตามีนเป็นสารตั้งต้นของสารสื่อประสาทในสมอง2 หากร่างกายขาดกลูตามีน อาจส่งผลให้เกิดปัญหาทางสมองได้ เช่น โรคไบโพลาร์ ภาวะซึมเศร้า เป็นต้น การกินแอล-กลูตามีนเปรียบเสมือนการบำรุงให้สารสื่อประสาทยังคงทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แอล-กลูตามีนมีในอาหารอะไร ควรกินตอนไหน

แอล-กลูตามีนจะพบได้จากอาหารที่มีโปรตีนเป็นส่วนประกอบ ทั้งในโปรตีนจากสัตว์ เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ และผลิตภัณฑ์นม ตลอดจนพบได้ในแหล่งโปรตีนจากพืช เช่น ถั่ว เต้าหู้ ข้าวโพด ผักโขม ผักชีฝรั่ง เป็นต้น แต่การเลือกกินอาหารให้ได้แอล-กลูตามีนและสารอาหารอื่นๆ อย่างครบถ้วนนั้น อาจเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก จึงมีการผลิตอาหารเสริมแอล-กลูตามีน เพื่อให้กินได้ง่ายขึ้น

โดยปกติแล้วการกินอาหารในแต่ละวัน วันละ 3 มื้อนั้น จะได้รับแอล-กลูตามีนประมาณ 3 - 6 กรัมต่อวัน และไม่ควรได้รับแอล-กลูตามีนเกิน 40 กรัมต่อวัน แต่ในบางคนที่ร่างกายต้องการแอล-กลูตามีนมากกว่าปกติ อาจต้องปรับเปลี่ยนการกินโดยเน้นไปที่โปรตีนมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงการกินอาหารเสริมแอล-กลูตามีน ทั้งนี้ ปริมาณการทานอาหารเสริมนั้น ขึ้นอยู่กับแต่ละผลิตภัณฑ์ว่ามีข้อแนะนำในการกินอย่างไร ดังนั้น ก่อนกินอาหารเสริมควรศึกษาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อย่างถี่ถ้วนเสียก่อน

ผลข้างเคียงของแอล-กลูตามีน

การได้รับแอล-กลูตามีนในปริมาณ 20 - 30 กรัมต่อวันนั้น แทบจะไม่เกิดผลข้างเคียงต่อร่างกายเลย แต่ในบางคนที่เกิดผลข้างเคียงนั้น อาจมีอาการท้องอืด คลื่นไส้ เวียนศีรษะ แสบร้อนกลางอก และปวดท้อง ทั้งนี้ ยังไม่มีงานวิจัยที่ชัดเจนเกี่ยวกับการได้รับแอล-กลูตามีนในปริมาณมาก

ข้อมูลอ้างอิง

  1. Korin Miller. What Are The Benefits Of L-Glutamine And Is It Worth Taking?. womenshealthmag.com. Published 27 September 2022. Retrieved 27 August 2023.

  2. Josh Axe. L-Glutamine Benefits Leaky Gut & Metabolism. draxe.com. Published 6 December 2022. Retrieved 27 August 2023.

  3. Grant Tinsley. Glutamine: Benefits, Uses and Side Effects. healthline.com. Published 13 January 2018. Retrieved 27 August 2023.

  4. Madhu. Difference Between Glutamine and L-Glutamine. differencebetween.com. Published 23 June 2019. Retrieved 27 August 2023.

  5. WebMD. Glutamine - Uses, Side Effects, and More. webmd.com. Retrieved 27 August 2023.

  6. Welbourne T C. Increased plasma bicarbonate and growth hormone after an oral glutamine load. pubmed.gov. Retrieved 27 August 2023.

  7. Al Balushi Ruqaiya M et al. Effect of intravenous GLutamine supplementation IN Trauma patients receiving enteral nutrition study protocol (GLINT Study): a prospective, blinded, randomised, placebo-controlled clinical trial. ncbi.gov. Published 14 November 2011. Retrieved 28 August 2023.

  8. Chu Chia-Chou et al. Pretreatment with alanyl-glutamine suppresses T-helper-cell-associated cytokine expression and reduces inflammatory responses in mice with acute DSS-induced colitis. pubmed.gov. Published 23 September 2012. Retrieved 28 August 2023.

  9. Durante, William. The Emerging Role of l-Glutamine in Cardiovascular Health and Disease. pubmed.gov. Published 4 September 2019. Retrieved 28 August 2023.

  10. Laviano A, Molfino A, Lacaria MT, Canelli A, De Leo S, Preziosa I, Rossi Fanelli F. Glutamine supplementation favors weight loss in nondieting obese female patients. A pilot study. Eur J Clin Nutr. 2014 Nov;68(11):1264-6. doi: 10.1038/ejcn.2014.184. Epub 2014 Sep 17. PMID: 25226827.

shop now