รู้หรือไม่ ? คนไทยถึง 90% เสี่ยงเป็น โรคกระดูกพรุน โดยที่ไม่รู้ตัว และผู้หญิงมีโอกาสเป็นมากกว่าผู้ชาย
โดยแต่ละคนต้องเสียค่ารักษาเฉลี่ยปีละถึง 3 แสนบาท ซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากการขาดแคลเซียม
—
ทำไมร่างกายเราถึงขาดแคลเซียม ?
เพราะร่างกายเราดูดซึมแคลเซียมได้น้อยลงเรื่อยๆ ตามวัย และมักได้รับจากอาหารไม่เพียงพอ
โดยร่างกายเราต้องการแคลเซียมประมาณวันละ 800-1,000 มิลลิกรัม แต่คนไทยรับประทานแคลเซียมโดยเฉลี่ยเพียงวันละ 361 มิลลิกรัม เป็นสาเหตุให้ร่างกายขาดแคลเซียม เสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน
—
บอกลากระดูกพรุนด้วยคุณประโยชน์จาก 6 สารอาหาร
แคลเซียม
- ทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง กล้ามเนื้อและระบบประสาททำงานอย่างเป็นปกติ
- กระตุ้นการแข็งตัวของเลือดหลังการบาดเจ็บ
- ควบคุมการทำงานของเอนไซม์และการเต้นของหัวใจ รวมทั้งช่วยในการนอนหลับ
- คนแต่ละวัยต้องการปริมาณแคลเซียมในแต่ละวันไม่เท่ากัน โดยทั่วไปคือประมาณ 800 - 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน
แมกนีเซียม
- ผู้ช่วยสำคัญในการทำงานของกล้ามเนื้อให้เคลื่อนไหวไม่ติดขัด
- ลดอาการเกิดตะคริว และควบคุมการขนส่งและการดูดซึมแคลเซียมเพื่อนำไปใช้ประโยชน์
- มีส่วนร่วมในการสร้างความแข็งแรงให้กับกระดูกและฟัน
- ควรบริโภคแมกนีเซียม 400 - 450 มิลลิกรัมต่อวัน
- สัดส่วนการเสริมแคลเซียมต่อแมกนีเซียมที่เหมาะสมสำหรับการสร้างกระดูกและฟันที่นิยมคือ 2:1
วิตามินดี
- ช่วยเพิ่มการดูดซึมของแคลเซียมในกระเพาะอาหาร
- รักษาระดับความเข้มข้นของแคลเซียมและฟอสเฟตในเลือด เพื่อให้การสะสมแร่ธาตุของกระดูกเป็นไปตามปกติ
- ควรได้รับวิตามินดีประมาณวันละ 400 หน่วยสากล จากอาหารและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ทองแดง
- สร้างความแข็งแรงให้กับกระดูก
- ช่วยยับยั้งการสลายกระดูกโดยยับยั้งการทำงานของ Osteoclast จึงเหมาะกับผู้สูงวัยที่อัตราการสลายของกระดูกเพิ่มสูงขึ้น
- ร่างกายต้องการในปริมาณเพียง 2-5 มิลลิกรัมต่อวัน
สังกะสี
- ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย และช่วยให้สุขภาพผิวหนังเป็นปกติ
- ช่วยรักษาอาการบาดเจ็บของกระดูก
- ช่วยยับยั้งการหลั่งฮอร์โมน Calcitonin จากต่อมไทรอยด์ โดยจะยับยั้งการสลายเกลือแร่ที่กระดูก
- ปกติร่างกายต้องการสังกะสี 6 - 22 มิลลิกรัมต่อวัน
แมงกานีส
- จำเป็นต่อพัฒนาการของเนื้อเยื่อกระดูกและข้อต่อ
- ทำงานเป็นโคแฟกเตอร์ของเอนไซม์บางชนิดต่อการสร้างเนื้อกระดูก
- ร่างกายต้องการแมงกานีสในปริมาณ 3 - 4 มิลลิกรัมต่อวัน
—
แคลเซียมเหมือนกัน ที่ไม่เหมือนกัน
แคลเซียมมีหลายชนิด แต่ทำไมผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียมส่วนใหญ่ ถึงเลือกใช้ แคลเซียมคาร์บอเนต?
ให้ปริมาณแคลเซียมสูงถึง 40% ถือว่าสูงมาก เมื่อเทียบกับชนิดอื่น
ให้แคลเซียมสูง จึงไม่ต้องใช้วัตถุดิบในปริมาณมาก ทำให้เม็ดผลิตภัณฑ์มีขนาดเล็กกลืนง่าย
สกัดได้จากวัตถุดิบธรรมชาติ จึงมีความปลอดภัยสูง
คุ้มค่า คุ้มราคากว่า เมื่อเปรียบเทียบกับเกลือแคลเซียมชนิดอื่น
อาจจะมีข้อจำกัดที่ต้องอาศัยกรดในการละลาย แต่แก้ไขได้ง่ายๆ ด้วยการรับประทานพร้อมอาหาร
—
นอกจาคุณประโยชน์แล้วแหล่งที่มาก็สำคัญ
ผลิตภัณฑ์แคลเซียมในท้องตลาดส่วนใหญ่ มักเป็นแคลเซียมสังเคราะห์ หากอยากได้ผลิตภัณฑ์ที่มาจากธรรมชาติ ควรใส่ใจที่มาของวัตถุดิบด้วย
แคลเซียม
ตามธรรมชาติมักอยู่ในรูปแคลเซียมคาร์บอเนต ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมักจะสกัดแคลเซียมคาร์บอเนตจากแร่ธาตุในดินหรือหินปูน รวมถึงได้จากเปลือกหอยนางรม เป็นต้น
แมกนีเซียม
วัตถุดิบตามธรรมชาติที่ให้แร่ธาตุแมกนีเซียม คือ น้ำทะเล และหินปูน ซึ่งถูกนำมาสกัดได้เป็นแมกนีเซียมออกไซด์ ซึ่งนิยมนำมาใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อให้แร่ธาตุแมกนีเซียม
วิตามินดี
ถึงแม้ร่างกายมนุษย์จะสามารถสังเคราะห์วิตามินดีได้เมื่อได้รับแสงแดด แต่ด้วยพฤติกรรมหลีกเลี่ยงแสงอาทิตย์ของคนปัจจุบัน พบว่าอุบัติการณ์ขาดวิตามินดีของคนไทยมากขึ้นเรื่อยๆ วิตามินดีจากแหล่งธรรมชาติอื่นจึงถูกนำมาทดแทน เช่น วิตามินดีที่ได้จากไขที่สกัดจากขนแกะ
อัลฟัลฟา
ช่วยขจัดสารตกค้างในร่างกาย ต่อต้านการอักเสบในผู้ที่มีอาการปวดข้อต่อและปวดกระดูก อัลฟัลฟาเป็นพืชตระกูลถั่ว พืชชนิดนี้นอกจากจะมีแคลเซียมและแมกนีเซียมในปริมาณไม่น้อยแล้ว ยังมีไฟโตนิวเทรียนท์หลายชนิด เช่น ไอโซฟลาโวน คูเมสแทน และลิกแนน ในปริมาณสูง