พาร์สลีย์มีส่วนช่วยเรื่องโรคหัวใจและหลอดเลือด ลดความดันโลหิต มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ช่วยต้านอนุมูลอิสระ บำรุงกระดูก บำรุงสายตา และต้านมะเร็ง1

ผักใบเล็กที่เรามักเจอบ่อยๆ ในการใช้ตกแต่งจานอาหารอย่าง “พาร์สลีย์” แท้จริงแล้วมีประโยชน์มากกว่าใช้ตกแต่งเพื่อความสวยงาม โดยพาร์สลีย์มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่าที่คิด ด้วยผลงานวิจัยที่ออกมาพบว่าพาร์สลีย์มีสรรพคุณอยู่มากมาย ซึ่งพาร์สลีย์สามารถนำมาปรุงอาหารได้หลากหลายเมนูโดยเฉพาะอาหารตะวันตก บทความนี้จะพาไปรู้จักกับผักใบเล็กแต่เต็มไปด้วยคุณประโยชน์อย่างพาร์สลีย์กัน

ทำความรู้จัก พาร์สลีย์ คืออะไร?

พาร์สลีย์ (Parsley) หรือ พาร์สเลย์ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Petroselinum crispum (Mill.) ซึ่งพาร์สลีย์ คือสมุนไพรชนิดหนึ่งที่ถูกจัดอยู่ในวงศ์ผักชี เป็นผักใบเล็ก มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว

  • ต้นพาร์สลีย์เป็นพืชขนาดเล็กลำต้นตั้งตรงคล้ายต้นผักชี
  • ก้านมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม
  • ใบพาร์สลีย์เป็นใบเดี่ยวสีเขียว มีทั้งใบหยิกและใบแบนคล้ายผักชีใบเล็ก
  • ดอกพาร์สลีย์ออกเป็นช่อแบบเป็นซี่ของก้านร่ม มีดอกย่อยขนาดเล็กประมาณ 10-12 ดอก กลีบดอกเป็นสีขาว สีเหลืองหรือสีเหลืองอมเขียว
  • ผลของพาร์สลีย์มีกลิ่นหอมสีน้ำตาลแดงสลับขาว เป็นเมล็ดขนาดเล็กรูปไข่หรือรูปสามเหลี่ยม2

ถึงแม้ว่าพาร์สลีย์จะเป็นผักใบเล็กแต่เต็มไปด้วยสรรพคุณมากมายที่ดีต่อสุขภาพของหัวใจและสุขภาพของร่างกาย ทั้งช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต ช่วยในการย่อยอาหาร2 โรคภูมิแพ้ ลดการอักเสบต่างๆ

ปัจจุบันพาร์สลีย์ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในฐานะสมุนไพร เครื่องเทศ สามารถใช้ประโยชน์จากพาร์สลีย์ได้ทุกส่วน โดยการนำไปประกอบอาหารได้หลากหลายเพื่อให้ได้กลิ่นหอมและรสขมอ่อนๆ3 ทั้งการใส่ลงไปในสลัด ซอส หรือเพิ่มลงในซุป เป็นต้น

พาร์สลีย์ กับประโยชน์ด้านสุขภาพที่น่าสนใจ

พืชใบเล็กที่สรรพคุณไม่น้อยอย่างพาร์สลีย์ ที่นอกจากจะมีความสวยงาม มีกลิ่นหอม และมักจะถูกนำเอาไปตกแต่งจานอาหารให้มีความสวยงามแล้ว พาร์สลีย์ยังมีประโยชน์ที่สำคัญต่อการบำรุงร่างกายในด้านต่างๆ ดังนี้

บำรุงสุขภาพหัวใจ

พาร์สลีย์เป็นสมุนไพรที่มีสารอาหารเยอะที่สามารถช่วยให้สุขภาพของหัวใจดีขึ้น ตัวอย่างเช่น เป็นแหล่งวิตามินบีโฟเลตที่ดี ซึ่งการกินโฟเลตในปริมาณมากจะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจได้มากถึง 38%4 ด้วยกัน ซึ่งโฟเลตจะช่วยลดระดับของกรดอะมิโนโฮโมซิสเทอีน จึงลดความเสี่ยงโรคหัวใจได้ด้วย

จากการศึกษา พบว่าร่างกายได้รับโฟเลตไม่เพียงพอ อาจเกิดความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันได้6 นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยพบว่า หากมีสารโฮโมซิสเทอีนมากเกินไปอาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพหัวใจได้ โดยโฮโมซิสเทอีนจะทำให้เกิดความเสียหายต่อผนังด้านในของหลอดเลือดแดงและการทำงานของหลอดเลือดแดง จนอาจส่งผลให้เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองอุดตันได้5

บำรุงหัวใจ
เสริมภูมิคุ้มกัน

อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ

จากงานวิจัยพบว่า ในพาร์สลีย์อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระจำนวนมาก7 ได้แก่ วิตามินซี ฟลาโวนอยด์ และแคโรทีนอยด์3,4 โดยในวิตามินซีจะช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ฟลาโวนอยด์จะช่วยลดความเสี่ยงในโรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจ โรคเบาหวาน หรือโรคมะเร็งลำไส้ ได้อีกด้วย ส่วนแคโรทีนอยด์สามารช่วยลดความเสี่ยงในโรคบางชนิด รวมไปถึงโรคมะเร็งปอด

ต้านเชื้อแบคทีเรีย

พาร์สลีย์ สามารถช่วยลดการเกิดเชื้อรา ยีสต์ และเชื้อแบคทีเรียที่อันตราย8 โดยมีงานศึกษาจากหลอดทดลองว่า สารสกัดจากพาร์สลีย์สามารถช่วยต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ S. aureus ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่เจริญเติบโตในอาหารที่ทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ นอกจากนี้ยังสามารถป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อ Listeria และ Salmonella ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียประเภทที่ก่อให้เกิดอาหารเป็นพิษเช่นกัน

ช่วยขับปัสสาวะ

พาร์สลีย์ช่วยกระตุ้นการทำงานของไต เพราะอุดมไปด้วย Apigenin ซึ่งเป็นสารที่ทำให้ขับปัสสาวะออกมา โดยทั้งเมล็ดและต้นพาร์สลีย์สามารถใช้เป็นยาขับปัสสาวะได้2

บำรุงกระดูก

พาร์สลีย์อุดมไปด้วยวิตามินเคซึ่งเป็นสารอาหารที่สำคัญสำหรับกระดูก9 ช่วยทำให้กระดูกแข็งแรงขึ้น เพิ่มความหนาแน่นของกระดูก ด้วยเหตุนี้จึงสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดกระดูกหักได้3

บำรุงสายตา

แคโรทีนอยด์ 3 ชนิดอย่างลูทีน เบต้าแคโรทีน และซีแซนทีนที่พบในพาร์สลีย์มีส่วนช่วยในการปกป้องดวงตาและเสริมประสิทธิภาพการมองเห็นที่ดี ซึ่ป้องกันโรคจอประสาทตาเสื่อมที่เกี่ยวข้องกับอายุ (AMD) อันเป็นความเสี่ยงที่อาจทำให้ตาบอดได้ในอนาคต3,10

ลดโอกาสเกิดเซลล์มะเร็ง

สารประกอบที่อยู่ในพาร์สลีย์สามารถลดโอกาสเกิดเซลล์มะเร็งได้ อย่างฟลาโวนอยด์11 สารต้านอนุมูลอิสระสามารถลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ วิตามินซี ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดเซลล์มะเร็งต่างๆ เช่น มะเร็งต่อมลูกหมากได้อีกด้วย3

พาร์สลีย์ กับคุณค่าทางโภชนาการ

พาร์สลีย์ มีประโยชน์ในด้านโภชนาการเป็นอย่างมาก เพราะอุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญที่ดีต่อสุขภาพอยู่มากมาย4,12 คือ วิตามินเอ วิตามินซี และวิตามินเค

พาร์สลีย์ มีวิธีการกินอย่างไรบ้าง

พาร์สลีย์สามารถนำมากินได้หลายวิธี ตั้งแต่อาหารเสริม นำไปดื่มเป็นชา ไปจนถึงพาร์สลีย์แห้งที่นำไปใส่ในอาหารประเภทต่างๆ โดยสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมของวิธีการกินได้ดังนี้

อาหารเสริม

หากกินพาร์สลีย์ในรูปแบบอาหารเสริมจะทำให้ได้รับประโยชน์ได้อย่างเต็มที่แม้กินในปริมาณน้อย เพราะพาร์สลีย์ได้ถูกสกัดมาจนเข้มข้นแล้ว การกินอาหารเสริมพาร์สลีย์เพียง 1 เม็ดอาจเทียบเท่ากับการกินพาร์สลีย์หลายกรัมด้วยกัน ทำให้ไม่ต้องมากินพาร์สลีย์ในปริมาณมาก

บำรุงหัวใจ
เสริมภูมิคุ้มกัน

ชาพาร์สลีย์

การนำพาร์สลีย์มาทำชาเป็นอีกหนึ่งเมนูที่น่าสนใจ เพราะชาพาร์สลีย์หอมๆ นี้สามารถดื่มได้ทั้งร้อนและเย็น กำหนดความอ่อน-เข้มของชาได้ รวมไปถึงกำหนดรสชาติได้ตามส่วนผสมที่ใส่ลงไป รวมถึงสะดวกสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการกินพาร์สลีย์ในมื้ออาหาร13

ชงชาพาร์สลีย์ด้วยวิธีง่ายๆ โดยการนำใบพาร์สลีย์และก้านสดหรือแห้งมาสับละเอียด 2 ถ้วยตวงไปต้มกับน้ำเปล่า 4 ถ้วยให้เดือด จากนั้นแช่ทิ้งไว้ตามความต้องการ หากอยากได้ชาอ่อนให้แช่ไว้ 30 วินาที - 1 นาที หากอยากได้ชาเข้มให้แช่ไว้ 1-3 นาที อาจใส่มะนาวและน้ำผึ้งเข้าไปเพื่อเพิ่มรสชาติตามใจชอบ

พาร์สลีย์แห้ง

ใบพาร์สลีย์แห้งเมื่อบดจะมีกลิ่นหอมฉุนและรสค่อนข้างขม14 มีงานวิจัยพบว่าใบพาร์สลีย์อบแห้งมีสารต้านอนุมูลอิสระมากกว่าใบสดถึง 17 เท่า3 โดยใบพาร์สลีย์แห้งสามารถนำมาใส่ในอาหารประเภทต่างๆ ได้ เช่น พิซซ่า พาสต้า ซุปสตูว์ สลัด

ข้อควรระวังในการกินพาร์สลีย์ มีอะไรบ้าง

แม้ว่าพาร์สลีย์มีประโยชน์อยู่มาก แต่ก็มีข้อควรระวัง3 ดังนี้

  • ก่อให้เกิดอาการแพ้ โดยอาจเกิดปฏิกิริยาการแพ้ตั้งแต่เบาๆ ไปจนถึงรุนแรง หากสงสัยว่ามีอาการแพ้ต้องรีบไปพบแพทย์โดยด่วน
  • สตรีมีครรภ์ควรต้องได้รับการแนะนำจากแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพ เพราะในพาร์สลีย์มีสารบางอย่าง เช่น apiol และ myristicin หากได้รับปริมาณมากเกินไปจะส่งผลต่อการหดตัวของมดลูกจนนำไปสู่สภาวะแท้งหรือคลอดก่อนกำหนดได้
  • การปวดท้อง เพราะในพาร์สลีย์มีเส้นใยอยู่มาก หากกินพาร์สลีย์มากเกินไปจะส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร
  • ผู้ที่ไตมีความผิดปกติ เนื่องจากในพาร์สลีย์มีออกซาเลตอาจทำให้เกิดนิ่วในไตได้
  • ปฏิกิริยาระหว่างยา ในพาร์สลีย์ มีสารบางอย่างที่ส่งผลกระทบต่อตัวยาบางชนิด เช่น ยาละลายลิ่มเลือด เนื่องจากวิตามินเคในพาร์สลีย์ อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพของยาได้

บำรุงหัวใจ
เสริมภูมิคุ้มกัน

สรุป

พาร์สลีย์ผักใบเล็กที่เต็มไปด้วยคุณภาพมีสารอาหารสำคัญอยู่มากมายไม่ว่าจะเป็นวิตามินบี และโฟเลตที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ วิตามินเคที่ส่งผลต่อมวลกระดูกลดความเสี่ยงกระดูกหัก มีสารต้านอนุมูลอิสระอย่างวิตามินซี แคโรทีนอยด์ ฟลาโวนอยด์ ที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง เบต้าแคโรทีนที่ช่วยปกป้องดวงตาลดการเสี่ยงที่จะเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมอีกด้วย แต่หากกินพาร์สลีย์มากเกินไปอาจส่งผลให้ปวดท้องได้ด้วยเส้นใยที่มีอยู่เยอะของพาร์สลีย์ ปฏิกิริยาในสารประกอบของพาร์สลีย์ต่อยาบางชนิดที่ส่งผลต่อตัวยา การคลอดก่อนกำหนดหรือภาวะแท้งในสตรีมีครรภ์ได้ด้วยสารประกอบที่ส่งผลต่อการหดตัวของมดลูก แม้ว่าพาร์สลีย์จะอุดมไปด้วยประโยชน์แต่ก็มีข้อควรระวังการกินบางอย่างเพื่อไม่ให้ส่งผลร้ายต่อร่างกายได้

ข้อมูลอ้างอิง
  1. Pobpad. Parsley พืชใบจิ๋ว ประโยชน์แจ๋ว. Pobpad.com. Retrieved 17 Nov 2023.
  2. เมดไทย. 16 สรรพคุณและประโยชน์ของพาร์สลี่ย์ ! (Parsley). Medthai.com. Published 5 Dec 2020. Retrieved on 18 Nov 2023.
  3. วิกานดา รัตนพันธ์. 8 ประโยชน์ยอดเยี่ยมของพาร์สลีย์ (Benefits of Parsley). ihealzy.com. Published 5 Dec 2020. Retrieved on 18 Nov 2023.
  4. Maria Zamarripa. 8 Impressive Health Benefits and Uses of Parsley. healthline.com. Published 5 Apr 2019. Retrieved on 18 Nov 2023.
  5. Paul Ganguly et al. Role of homocysteine in the development of cardiovascular disease. Pubmed.ncbi.nlm.nih.gov. Published 10 Jan 2015. Retrieved on 18 Nov 2023.
  6. S Voutilainen et al. Low dietary folate intake is associated with an excess incidence of acute coronary events: The Kuopio Ischemic Heart Disease Risk Factor Study. Pubmed.ncbi.nlm.nih.gov. Published 5 June 2001. Retrieved on 18 Nov 2023.
  7. Tasuku Ogita et al. Identification and evaluation of antioxidants in Japanese parsley. Pubmed.ncbi.nlm.nih.gov. Published 13 Apr 2016. Retrieved on 18 Nov 2023.
  8. Nahed M Wahba et al. Antimicrobial effects of pepper, parsley, and dill and their roles in the microbiological quality enhancement of traditional Egyptian Kareish cheese. Pubmed.ncbi.nlm.nih.gov. Published Apr 2010. Retrieved on 18 Nov 2023.
  9. Solmaz Akbari et al. Vitamin K and Bone Metabolism: A Review of the Latest Evidence in Preclinical Studies. Pubmed.ncbi.nlm.nih.gov. Published 27 Jun 2018. Retrieved on 18 Nov 2023.
  10. Rashida Ali et al. Dietary sources of lutein and zeaxanthin carotenoids and their role in eye health. Pubmed.ncbi.nlm.nih.gov. Published 9 Apr 2013. Retrieved on 18 Nov 2023.
  11. Seyed Mohammad Nabavi et al. Apigenin and Breast Cancers: From Chemistry to Medicine.pubmed.ncbi.nlm.nih.gov. Published 2015. Retrieved on 18 Nov 2023.
  12. Poonam Sachdev. Health Benefits of Parsley. Webmd.com. Published 27 Nov 2022. Retrieved on 18 Nov 2023.
  13. Lindsay Sheehan. 15 Interesting Ways To Eat Parsley – Not Just A Garnish.ruralsprout.com. Published 23 Sep 2021. Retrieved on 18 Nov 2023.
  14. Tarladalal. Parsley. Tarladalal.com. Published 23 Nov 2023. Retrieved on 18 Nov 2023.
shop now