Peptide หรือเปปไทด์ คือ หน่วยย่อยที่สุดของโปรตีน โดยเปปไทด์จะมีการเรียงต่อกันเป็นสายคล้ายลูกปัดของสร้อยข้อมือ สายคล้องนั้นเรียกว่า พันธะเปปไทด์ หรือพันธะที่ยึดโปรตีนกรดอะมิโนเอาไว้ และเมื่อมีเปปไทด์จำนวนมากมาเชื่อมต่อกันก็จะทำให้เกิดเป็นพอลิเปปไทด์ชนิดใหม่ๆ ขึ้นมา เช่น ไดเปปไทด์ โอลิโกเปปไทด์ และไตรเปปไทด์ 

โดยพันธะเปปไทด์ หรือพอลิเปปไทด์ที่คอยเชื่อมกันไว้ ประกอบขึ้นจากจำนวนกรดอะมิโนตั้งแต่ 2-50 ตัว ซึ่งกรดอะมิโนเหล่านี้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ กรดอะมิโมจำเป็น ที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้ ต้องอาศัยการกินเพิ่มเข้าไปเท่านั้น  และกรดอะมิโนทั่วไป ที่ร่างกายสามารถสร้างขึ้นเองได้

พันธะเปปไทด์หรือพอลิเปปไทด์แต่ละสายมีหน้าที่การทำงาน และโครงสร้างทางเคมีที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งมีความสำคัญต่อกระบวนการทำงานของเซลล์ต่างๆ ของร่างกายอย่างมีนัยยะสำคัญ ทั้งในด้านของการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายเมื่อเกิดบาดแผล และการทำงานร่วมกันกับเซลล์อื่นๆ

ดังนั้น เปปไทด์ จึงเป็นอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เมื่อกินเข้าไปแล้วย่อมส่งผลดีต่อการสร้างกล้ามเนื้อ เพราะช่วยเสริมสร้างการสร้างกล้ามเนื้อตั้งแต่ระดับการสังเคราะห์เซลล์ นอกจากนี้ เปปไทด์ ยังมีส่วนสำคัญในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอีกด้วย 

นอกจากการกินเปปไทด์ที่ได้จากอาหารทั่วไปตามธรรมชาติ เช่น เนื้อสัตว์ ปลา สัตว์ทะเลที่มีเปลือกแข็ง ถั่วเหลือง ถั่วลันเตา ข้าวโอ๊ต เมล็ดแฟลกซ์ เมล็ดป่าน และข้าวสาลี ปัจจุบันยังมีการนำเปปไทด์จากวัตถุดิบต่างๆ เหล่านั้นมาใช้ในรูปแบบของยา และอาหารเสริม เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ตรงจุดมากขึ้น 

Peptide แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร

Peptide แต่ละประเภทนั้นแตกต่างกันที่จำนวน และตำแหน่ง โดยพันธะเปปไทด์ แต่ละตัวมีชื่อเรียก และหน้าที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

Dipeptide (ไดเปปไทด์) 

Dipeptide (ไดเปปไทด์) เกิดจากกรดอะมิโน 2 ตัวมาเชื่อมกันด้วยพันธะเคมี เรียกว่า พันธะเปปไทด์5 ซึ่ง Dipeptide (ไดเปปไทด์) มีส่วนช่วยกระตุ้นการหลั่งเอนไซม์ของน้ำย่อยในลำไส้เล็ก ร่วมกับไฮโดรไลซ์ไดแซ็กคาไรด์ และพอลินิวคลีโอไทด์9

Tripeptide (ไตรเปปไทด์)

Tripeptide (ไตรเปปไทด์) เกิดจากกรดอะมิโน 3  ตัวมาเชื่อมกันด้วยพันธะเคมี ที่เรียกว่า พันธะเปปไทด์ เช่น กลูตาไทโอน ซึ่งประกอบด้วยกรดกลูตามิก กรดซิสเตอีน และกรดไกลซีน ซึ่งไตรเปปไทด์อย่างกลูตาไทโอนนั้นมีประโยชน์หลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการช่วยขับของเสียออกจากร่างกาย ทั้งแอลกอฮอล์ และสารพิษต่างๆ นอกจากนี้ กลูตาไทโอนยังช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ภายในร่างกาย และยังมีคุณสมบัติพิเศษในการช่วยลดเม็ดสี ช่วยลดการกระจุกตัวของเมลานิน ทำให้ผิวดูกระจ่างใส6-7

Oligopeptide (โอลิโกเปปไทด์) 

Oligopeptide (โอลิโกเปปไทด์) เกิดจากกรดอะมิโน 3-20 ตัวมาเชื่อมกันด้วยพันธะเคมี ซึ่งโอลิโกเปปไทด์นั้นสามารถช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตและซ่อมแซมผิว เพิ่มความชุ่มชื้น รวมถึงการต่อต้านอนุมูลอิสระ จึงนิยมนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์ดูแลผิว8-11

Dual Peptide คืออะไร

Dual Peptide คืออะไร มีส่วนช่วยในการสร้างกล้ามเนื้อในช่วงวัยต่างๆ อย่างไร

นอกจากพันธะเปปไทด์ หรือพอลิเปปไทด์ของกรดอะมิโนที่กล่าวมาทั้ง 3 ประเภทแล้ว นักวิจัย ยังได้คิดค้นการนำเปปไทด์จากแหล่งที่มาหลายๆ แหล่ง มารวมกัน เพื่อทดสอบในความสามารถในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อหรือที่เรียกว่า ดูอัลเปปไทด์ ที่เกิดจากการนำเปปไทด์ชนิดใดก็ได้ จำนวน 2 ชนิดมาใช้ร่วมกัน 

ยกตัวอย่างเช่น หากนำเปปไทด์ถั่วเหลือง และเปปไทด์ถั่วลันเตามาผสานกัน ในอัตราส่วนที่เหมาะสม จะทำให้เกิดเป็นดูอัลเปปไทด์ ที่นอกจากจะช่วยในการสร้างกล้ามเนื้อ ยังทำให้กล้ามเนื้อเรียงตัวเป็นเส้น ซึ่งส่งผลให้มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมากขึ้น เหมาะสำหรับคนที่ชอบออกกำลังกาย คนที่มี active lifestyle ตลอดจนกลุ่มคนวัยกลางคนไปจนถึงผู้สูงอายุที่อาจมีภาวะโปรตีนสลาย มีความต้องการในการดูแลร่างกายมากเป็นพิเศษ 

ผู้ที่ชอบออกกำลังกาย

จากผลการวิจัยในปี 2013 ของ Jim Stoppani, Timothy Scheett, James Pena, Chuck Rudolph และ Derek Charlebois พบว่าการกินอาหารเสริมที่มีส่วนผสมของ dual peptide สามารถช่วยลดความเหนื่อยล้าจากการออกกำลังกาย และยังช่วยให้สามารถออกกำลังได้นานขึ้นอีกด้วย12

นอกจากนี้ การกินอาหารเสริมดูอัลเปปไทด์ยังช่วยเพิ่มระดับการเผาผลาญของร่างกาย หรือเมตาบอลิซึมให้เพิ่มมากขึ้น และลดโอกาสบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ ยกตัวอย่างเช่น เคราติน ไคร์เนส หรือเอนไซม์ที่ดูแลกล้ามเนื้อของร่างกายและกล้ามเนื้อของหัวใจ ตลอดจน แลคติกไฮโดรจีเนส ที่ทำหน้าที่เป็นเอนไซม์คอยแจ้งเตือนว่าในตอนนี้ร่างกายมีกล้ามเนื้อบาดเจ็บตรงไหนบ้าง

ดังนั้น ทางทีมวิจัยจึงสรุปว่า dual peptide ทำให้สามารถออกกำลังกายได้นานขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องดีสำหรับคนชอบออกกำลังกาย ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่ชื่นชอบการออกกำลังกาย จึงจำเป็นต้องกินโปรตีนที่เสริมดูอัลเปปไทด์เพื่อช่วยในการเสริมสร้างและฟื้นฟูกล้ามเนื้อมากยิ่งขึ้น

คนที่มี Active Lifestyle

คนที่มี Active Lifestyle

สำหรับคนที่มี active lifestyle ชอบกิจกรรม adventure หรืออาชีพที่ใช้แรงมากๆ เช่น เชฟ ครูสอนโยคะ ถือเป็นกลุ่มคนที่ต้องการโปรตีนอย่าง dual peptide ไปช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อสำหรับการเคลื่อนไหวในกิจกรรมต่างๆ ระหว่างวัน

โดยในปี 2015 ได้มีการทดสอบผลลัพธ์ของ dual peptide หรือดูอัลเปปไทด์ ด้วยการใช้อาหารเสริมโปรตีนอย่าง อาร์จีนีน (Arginine) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่งเข้ามาในการทดลองที่กลุ่มตัวอย่างต้องวิ่งแบบสปรินต์ติดต่อกัน  2 วัน ในการทดลองนี้ มีสมาชิกผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นผู้หญิงจำนวน 7 คน และเป็นผู้ชายจำนวน 15 คน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดเคยเข้าแข่งขันแฮนด์บอลในระดับนานาชาติมาแล้ว  โดยผู้เข้าร่วมการวิจัยต้องจำลองการเล่นเกมแฮนด์บอลติดต่อกัน 2 วัน

ผู้ทำการทดลองพบว่า ประสิทธิภาพการวิ่งสปรินต์ในวันที่ 2 นั้นดีขึ้นมากในกลุ่มนักกีฬาที่ได้กินอาหารเสริมเข้าไป เมื่อเทียบกับอีกกลุ่มที่ได้กินยาหลอก ด้วยเหตุนี้ จึงสามารถสรุปผลการทดลองนี้ได้ว่า การกินดูอัลเปปไทด์มีส่วนช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และการเคลื่อนไหวของร่างกายอย่างมีนัยยะสำคัญต่อนักกีฬา และคนที่ต้องใช้แรงมากอย่างต่อเนื่องในชีวิตประจำวัน2

กลุ่มวัยกลางคนไปจนถึงผู้สูงอายุ

ไม่เพียงแค่นักกีฬา คนที่ออกกำลังกาย หรือคนที่ต้องใช้แรงมากๆ ในชีวิตประจำวันเท่านั้นที่ต้องการดูอัลเปปไทด์เข้าไปช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และลดความเหน็ดเหนื่อยของร่างกาย แต่กลุ่มคนวัยกลางคนไป จนถึงผู้สูงอายุเองก็ต้องการดูอัลเปปไทด์ เพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย และการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน

เนื่องจากร่างกายของมนุษย์เจริญเติบโตสูงสุดเมื่อมีอายุ 25-30 ปี หลังจากนั้นจะเข้าสู่สภาวะเสื่อมถอย ค่อยๆ แก่ชราลงตามลำดับ จึงทำให้กลุ่มคนวัยกลางคนไปจนถึงผู้สูงอายุควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เพื่อซ่อมแซมร่างกาย โดยเฉพาะการรักษามวลกล้ามเนื้อ และข้อต่อต่างๆ

อาหารที่มีเปปไทด์สูง

ไม่ว่าคุณจะเป็นคนที่ชอบออกกำลังกาย คนที่ใช้แรงกายมากๆ ในชีวิตประจำวัน กลุ่มคนวัยกลางคน ไปจนถึงผู้สูงอายุ หรือคนในช่วงวัยอื่นๆ ก็ตาม ร่างกายของเราล้วนต้องการอาหารที่มีเปปไทด์เป็นองค์ประกอบทั้งสิ้น โดยอาหารที่มีเปปไทด์คุณภาพ หรือโปรตีนสูง มีตัวอย่างดังต่อไปนี้

ถั่วเหลือง

เปปไทด์ ในถั่วเหลือง คือ หน่วยย่อยของโปรตีนที่ได้จากการย่อยสลายของถั่วเหลือง โดยใช้เอนไซม์ protease ก่อนจะถูกดูดซึมในลำไส้เล็ก และผ่านกระบวนการแตกตัวจนได้เป็นกรดอะมิโนจำเป็นต่างๆ อย่างกรดอะมิโนไลซีน (Lysine) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และซ่อมแซมส่วนต่างๆ ของร่างกาย13-14

ข้าวสาลี

ถั่วลั่นเตา

เปปไทด์ในถั่วลันเตามีที่ชื่อเรียกว่า Pea Peptide15 ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีสารอาหารสำคัญอย่าง กรดอะมิโนจำเป็นที่ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ โดยเฉพาะไลซีน (Lysine)17 และแอล-อาร์จินีน (L-arginine) ที่สามารถช่วยในเรื่องของการเจริญเติบโต ซ่อมแซม และเสริมสร้างกล้ามเนื้อได้ นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาจาก Journal International Society of Sports Nutrition ที่ตีพิมพ์ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2015 พบว่าโปรตีนจากถั่วลันเตาสามารถเสริมสร้างกล้ามเนื้อ Biceps แทนเวย์โปรตีนได้16

ข้าวสาลี

เปปไทด์ในข้าวสาลี มีชื่อเรียกว่า Wheat Peptide ที่เป็นผลพลอยได้จากไฮโดรไลซ์โปรตีนข้าวสาลี โดยเปปไทด์ในข้าวสาลีนั้นมีประโยชน์ต่อร่างกายมากมายหลายประการ เช่น มีความสามารถในการต่อต้านอนุมูลอิสระ ลดความดันโลหิตสูง และช่วยลดระดับคอเรสเตอรอลในร่างกาย รวมถึงยังมีการศึกษาจาก Journal of Functional Foods ว่าเปปไทด์ข้าวสาลี สามารถช่วยปรับปรุงโครงสร้างและความหนาแน่นของมวลกระดูก สำหรับผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุนในวัยชราได้อีกด้วย20

เนื้อสัตว์ และอาหารทะเล

เปปไทด์ ในเนื้อสัตว์ประกอบไปด้วยกรดอะมิโนที่จำเป็นมากมาย ซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพและร่างกาย โดยมีการศึกษาที่พบว่าเปปไทด์จากเนื้อสัตว์ อย่าง เนื้อหมู เนื้อวัว และเนื้อไก่ โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ที่ผ่านกระบวนการถนอมอาหารในรูปแบบต่างๆ จะสามารถยับยั้ง Angioten-Converting Enzyme หรือ ACE ที่ส่งผลต่อความเข้มข้นของโซเดียม และก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง (Anti-Hypertensive Activity) ได้18-19

อีกทั้งเปปไทด์ในเนื้อสัตว์ เนื้อปลา หรืออาหารทะเล ยังสามารถต่อต้านอนุมูลอิสระ (Anti-Oxidant) ที่เป็นตัวการในการก่อให้เกิดโรคชรา และภาวะเสื่อมสภาพของร่างกายได้

เมล็ดแฟลกซ์

เปปไทด์ในเมล็ดแฟลกซ์ มีชื่อเรียกว่า กรดอัลฟ่าไลโนเลนิก (ALA) ซึ่งเป็นหนึ่งในกรดไขมันโอเมก้า 3 แต่เมล็ดแฟลกซ์และน้ำมันเมล็ดแฟลกซ์นั้นมีคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ที่ต่ำกว่า นอกจากนี้ยังช่วยทำให้ไตของผู้ป่วยโรคแพ้ภูมิตัวเองกลับมาทำงานได้ดีขึ้น โดยการกินเมล็ดแฟลกซ์บด 

แต่อย่างไรก็ดี ไม่ควรกินเมล็ดแฟลกซ์เกิน 40 กรัมต่อวัน มิฉะนั้นอาจเกิดผลข้างเคียง เช่น เกิดอาการร้อนวูบวาบและเหงื่อออกตอนกลางคืนได้10

สรุป

เมื่อทราบแล้วว่าเปปไทด์ มีความสำคัญต่อการสร้างกล้ามเนื้อ เสริมการทำงานร่วมกับฮอร์โมน และเอนไซม์ชนิดต่างๆ ผู้ที่สนใจดูแลสุขภาพจึงควรเสริมเปปไทด์เพิ่มเติมจากอาหารพื้นฐาน ที่อาจให้โปรตีนได้ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย โดยอาจเลือกใช้อาหารเสริมโปรตีนที่มีพันธะเปปไทด์จากถั่วเหลือง ถั่วลันเตา และข้าวสาลี ที่เป็นโปรตีนจากพืชคุณภาพสูง ไม่มีไขมันและคอเลสเตอรอล

ข้อมูลอ้างอิง

  1. Shishira Sreenivas and Brunilda Nazario, MD. Medically Reviewed by Brunilda Nazario, MD. What Are Peptides?. webmd.com. Reviewed and Published 25 March 2021. Retrieved 28 April 2023.

  2. Alan Carter, Pharm.D. and Adrienne Stinson. Health benefits of BCAAs. medicalnewstoday.com. Published 2 March 2019. Retrieved 28 April 2023.

  3. Jillian Kubala, RD. and Suzanne Fisher, MS.. What Are Peptides and What Are They Used For?. health.com. Published 1 March 2023. Retrieved 28 April 2023.

  4. Alina Petre, MS, RD (NL). Medically Reviewed by Grant Tinsley, Ph.D., CSCS,*D, CISSN Peptides for Bodybuilding: Do They Work, and Are They Safe?. nutrition-healthline.com. Published 3 December 2020. Retrieved 28 April 2023.

  5. พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์, เกียรติคุณ และนิธิยา รัตนาปนนท์. Dipeptide / ไดเปปไทด์. foodnetworksolution.com. Published No Date. Retrieved 29 April 2023.

  6. พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์, เกียรติคุณ และนิธิยา รัตนาปนนท์. Tripeptide / ไตรเปปไทด์. foodnetworksolution.com. Published No Date. Retrieved 29 April 2023.

  7. พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์, เกียรติคุณ และนิธิยา รัตนาปนนท์. Glutathione / กลูตาไทโอน. foodnetworksolution.com. Published No Date. Retrieved 29 April 2023.

  8. พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์, เกียรติคุณ และนิธิยา รัตนาปนนท์. Oligopeptide / โอลิโกเปปไทด์. foodnetworksolution.com. Published No Date. Retrieved 29 April 2023.

  9. พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์, เกียรติคุณ และนิธิยา รัตนาปนนท์. น้ำย่อยจากลำไส้เล็ก. foodnetworksolution.com. Published No Date. Retrieved 29 April 2023.

  10. R. Morgan Griffin. Medically Reviewed by Melinda Ratini, MS, DO. Flaxseed. Webmd.com. Published 26 March 2021.  Retrieved 29 April 2023.

  11. Bobby Reddy, Tiffany Jow, Basil M Hantash. Bioactive oligopeptides in dermatology: Part I. Experimental Dermatology 2012 Aug;21(8):563-8. Pubmed.ncbi.nlm.nih.gov. Published 10 May 2012. Retrieved 3 May 2023.

  12. Jim Stoppani, Timothy Scheett, James Pena, Chuck Rudolph & Derek Charlebois. Consuming a supplement containing branched-chain amino acids during a resistance-training program increases lean mass, muscle strength and fat loss. jissn.biomedcentral.com. Published 31 July 2009. Retrieved 3 May 2023.

  13. สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรมวิทยาศาสตร์บริการ. Soy peptide คืออะไร และมีอยู่ในไหน?. อาหาร (วารสาร) 2009 July-September; 39 (3):233-234. siweb1.dss.go.th. Published No Date. Retrieved 3 May 2023.

  14. Cynthia Chatterjee, Stephen Gleddie, and Chao-Wu Xiao. Soybean Bioactive Peptides and Their Functional Properties. Nutrients 2018 Sep; 10(9): 1211. mdpi.com. Published 1 September 2018. Retrieved 3 May 2023.

  15. Zhong Shi Du Qing (Shandong) Biotechnology Company, Wuhan Sports University, Shandong University, and Amway (Shanghai) Innovation & Science Co., Ltd.. Pea Peptide Supplementation in Conjunction With Resistance Exercise Promotes Gains in Muscle Mass and Strength. Frontiers in Nutrition 2022; 9: 878229. ncbi.nlm.nih.gov. Published 7 July 2022. Retrieved 3 May 2023.

  16. Nicolas Babault, Christos Païzis, Gaëlle Deley, Laetitia Guérin-Deremaux, Marie-Hélène Saniez, Catherine Lefranc-Millot & François A Allaert. Pea proteins oral supplementation promotes muscle thickness gains during resistance training: a double-blind, randomized, Placebo-controlled clinical trial vs. Whey protein. jissn.biomedcentral.com. Published 21 January 2015. Retrieved 3 May 2023.

  17. เมดไทย. ไลซีน (Lysine) ประโยชน์ของไลซีน 13 ข้อ !. medthai.com. Published 2 July 2020. Retrieved 3 May 2023.

  18. Post Today. ประโยชน์ของ ‘เปปไทด์’ ในเนื้อสัตว์. posttoday.com. Published 13 September 2017. Retrieved 3 May 2023.

  19. Joseph Thomas Ryan, Reynolds Paul Ross, Declan Bolton, Gerald F. Fitzgerald, and Catherine Stanton. 2011. Bioactive Peptides from Muscle Sources: Meat and Fish. ncbi.nlm.nih.gov. Retrieved 3 May 2023.

  20. College of Food Science and Engineering/Collaborative Innovation Center for Modern Grain Circulation and Safety/Key Laboratory of Grains and Oils Quality Control and Processing, Nanjing University of Finance and Economics, School of Traditional Chinese Medicine & School of Integrated Chinese and Western Medicine, Nanjing University of Chinese Medicine. A peptide from wheat germ abolishes the senile osteoporosis by regulating OPG/RANKL/RANK/TRAF6 signaling pathway. Phytomedicine Volume 104, September 2022, 154304. Sciencedirect.com. Published 30 June 2022. Retrieved 3 May 2023.

shop now