วิตามินบี (Vitamin B) คืออะไร

วิตามินบี คือ สารอาหารที่ร่างกายต้องการจากอาหาร เพื่อรักษาระดับการทำงานของเซลล์ในร่างกายให้คงที่ วิตามินบี ละลายได้ในน้ำ และไม่สามารถถูกเก็บสะสมไว้ในร่างกายได้นาน จึงจำเป็นต้องได้รับทุกวัน เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย วิตามินบี มีหลากหลายชนิด ซึ่งวิตามินบีแต่ละชนิดจะช่วยในการทำงานของร่างกายที่แตกต่างกันออกไป โดยกลุ่มของวิตามินบีหลายชนิดนี้จะถูกเรียกรวมกันว่า วิตามินบีรวม

วิตามินบีรวม (Vitamin B Complex) มีอะไรบ้าง

วิตามินบี 1 (ไธอะมีน)

ช่วยเร่งการเผาผลาญสารอาหาร เป็นโคเอนไซม์ (Coenzyme) ช่วยเร่งกระบวนการนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ช่วยให้ระบบประสาทและกล้ามเนื้อทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

วิตามินบี 2 (ไรโบฟลาวิน)

ทำหน้าที่เป็นโคเอนไซม์ช่วยการเผาผลาญ ช่วยเสริมสุขภาพของผิวหนัง ช่วยบำรุงระบบประสาท ช่วยบำรุงสายตา ช่วยให้เม็ดเลือดแดงคงสภาพดี ช่วยในกระบวนการใช้ออกซิเจน ทำให้การหายใจระดับเซลล์ดีขึ้น

วิตามินบี 3 (ไนอะซิน)

ช่วยบำรุงสมองและระบบประสาท ช่วยเสริมสุขภาพของผิวหนัง ลิ้น และเนื้อเยื่อของระบบย่อยอาหาร จำเป็นสำหรับการสังเคราะห์ฮอร์โมนเพศ ช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือด

วิตามินบี 5 (แพนโทธีนิค แอซิด)

เป็นส่วนประกอบของโคเอนไซม์เอ ช่วยกระตุ้นให้ผลิตฮอร์โมนสำคัญต่างๆ ช่วยกระตุ้นการผลัดเซลล์ผิวหนัง ช่วยปกป้องเซลล์จากการถูกทำลายโดยรังสียูวี รักษาความสมดุลของของเหลวในเนื้อเยื่อ ช่วยร่างกายดูดซึมและนำวิตามินบี 2 ไปใช้ให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพ

วิตามินบี 6 (ไพริดอกซีน)

เป็นส่วนประกอบของโคเอนไซม์ในการเร่งการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน ช่วยสร้างสารสื่อประสาท ช่วยควบคุมการทำงานของสมองและเนื้อเยื่อ และการแสดงพฤติกรรมต่างๆ ช่วยในการสร้างกรดอะมิโนที่ไม่จำเป็นต่อร่างกาย ช่วยในการสังเคราะห์และควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของสารพันธุกรรมดีเอ็นเอ (DNA) และอาร์เอ็นเอ (RNA)

วิตามินบี 7 (ไบโอติน)

ช่วยในการป้องกันการอักเสบที่ผิวหนัง ป้องกันผมร่วงและเสริมสร้างระบบประสาท จำเป็นต่อกระบวนการเผาผลาญในเซลล์ ช่วยเสริมความแข็งแรงผิว ช่วยเสริมความแข็งแรงของรากผม ช่วยให้เส้นผมงอกเร็วขึ้น ลดหนังศีรษะเป็นสะเก็ด

วิตามินบี 9 (กรดโฟลิก)

ช่วยการผลิตน้ำดีในการย่อยไขมัน ช่วยเพิ่มการดูดซึมไขมัน ช่วยเผาผลาญน้ำตาลและกรดอะมิโน ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดงที่ไขกระดูก

วิตามินบี 12 (ไซยาโนโคบาลามิน)

เป็นโคเอนไซม์ที่จำเป็นในการเผาผลาญพลังงาน ช่วยในการสังเคราะห์ดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอ มีผลต่อการดูดซึมและการใช้กรดโฟลิกในร่างกาย

vitb_fatigue_detail2.jpg

ทำไมต้องเสริมวิตามินบี?

เพราะร่างกายเรามีการสูญเสียวิตามินได้อยู่ตลอดเวลา จากสาเหตุต่างๆ ดังนี้

  • ความเครียดที่มากขึ้น ทำให้ร่างกายต้องใช้วิตามินมากขึ้น
  • ร่างกายทำงานต่อเนื่องนานๆ หรือออกกำลังกายหนัก ซึ่งจำเป็นต้องใช้วิตามินมากขึ้น
  • การพักผ่อนไม่เพียงพอ นอนหลับน้อย ทำให้สูญเสียวิตามินบีรวมได้ง่าย
  • การดื่มเครื่องดื่มชา กาแฟ ทำให้สูญเสียวิตามินบีไปกับปัสสาวะมากขึ้น
  • สารปนเปื้อนที่มากับอาหารนอกบ้าน ยาฆ่าแมลงในผักผลไม้ ทำให้ร่างกายต้องใช้วิตามินบีรวมสูงขึ้น

กินวิตามินบีมากเกินไป มีผลเสียหรือไม่?

วิตามินบีรวม 8 ชนิด เป็นวิตามินละลายนํ้า ไม่สะสมในร่างกาย บางส่วนจะมีการขับออกทางปัสสาวะ อย่างไรก็ตาม บางคนที่กินวิตามินบีรวมขนาดสูงเป็นเวลานานๆ ร่างกายจะปรับให้มีการขับวิตามินเร็วตาม เพื่อรักษาสมดุล จึงอาจเกิดอาการขาดวิตามินบี ในช่วงที่หยุดกินทันที

วิตามินบีรวม เหมาะกับใครบ้าง

  • เหมาะกับผู้คนส่วนใหญ่ ที่ต้องการมั่นใจว่าร่างกาย ได้รับสารอาหารที่จำเป็นตลอดเวลาที่ทำงาน
  • เหมาะกับผู้ที่กินอาหารได้ไม่หลากหลาย เช่น ผู้ที่กำลังควบคุมหรือลดน้ำหนัก หรือผู้ที่กินอาหารมังสวิรัติ เป็นต้น
  • เหมาะกับผู้ที่สูญเสียวิตามินได้ง่าย เช่น ออกกำลังกายหนัก ดื่มเครื่องดื่มชา กาแฟ หรือ ต้องดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เมื่อออกสังคม
  • เหมาะกับผู้สูงอายุ เพราะร่างกายจะดูดซึมสารอาหาร และวิตามิน เกลือแร่ต่างๆ ได้ช้าและน้อยลง

ถึงเวลาบอกลาความเหนื่อยล้าด้วยวิตามินบี

รู้หรือไม่ว่า ปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยที่สุดในสังคมปัจจุบัน คือ ‘อาการอ่อนเพลีย’ อุบัติการณ์โรคอ่อนเพลียเรื้อรัง พบได้สูงถึง 17.7% ในคนวัยทำงาน งานวิจัยพบว่า ความอ่อนเพลีย ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลงได้ถึง 54% และหากเป็นต่อเนื่องจนเรื้อรัง อาจเป็นสัญญาณความเจ็บป่วยของร่างกายได้

อาการอ่อนเพลียทางร่างกายมีความแตกต่างกันในแต่ละคน บางคนอาจมีอาการอ่อนเพลียเพียงร่างกายเท่านั้น แต่บางคน อ่อนเพลียทั้งกาย จิตใจซึมเศร้า และกระทบกับคนรอบข้างได้ อาการอ่อนเพลียเรื้อรังมากกว่า 6 เดือน แพทย์จะเรียกว่า ‘โรคอ่อนเพลียเรื้อรัง’ และจัดเป็นอาการไม่สบายที่ต้องการการรักษา

สาเหตุของอาการอ่อนเพลีย

สาเหตุที่พบได้บ่อยๆ เช่น พักผ่อนไม่เพียงพอ ตรากตรำทำงานหนัก อากาศที่ร้อนจัด ความวิตกกังวล ความเครียด ขาดสารอาหาร หรืออาจเกิดจากโรค เช่น โรคติดเชื้อ หรือการเจ็บป่วยอื่นๆ ส่วนใหญ่จะมีลักษณะร่วมอย่างหนึ่ง คือ ร่างกายไม่สามารถผลิตพลังงานให้เพียงพอต่อเนื่องและทันกับความต้องการของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย

โดยทั่วไป ร่างกายของเราจะมีระบบดูดซึมสารอาหาร คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน เข้าสู่ร่างกาย เพื่อสำรองเป็นพลังงานไว้ใช้ให้เพียงพอ แต่สารอาหารเหล่านี้ ยังไม่สามารถนำไปใช้เป็นพลังงานในร่างกายได้ในทันที แต่จะต้องนำไปผ่านกระบวนการเปลี่ยนสารอาหารเป็นพลังงานก่อน โดยจำเป็นต้องมีทั้งสารอาหารที่เพียงพอและวิตามินบีรวม ทั้ง 8 ชนิด เพื่อให้กระบวนการมีประสิทธิภาพ และสามารถผลิตพลังงานไปให้ร่างกายใช้ได้ทัน

vitb_fatigue_detail3.jpg

เทคโนโลยี Dual Action ในวิตามินบีรวม

หรือเทคโนโลยีการปลดปล่อย 2 ขั้น ที่บรรจุวิตามินบี 8 ชนิดที่จำเป็นไว้ใน 1 เม็ด

  • ในชั่วโมงแรก ด้านสีเหลืองเข้ม จะปลดปล่อยวิตามินบี 2 และวิตามินบี 12 ในกระเพาะอาหาร
  • หลังจากนั้น ด้านสีเหลืองอ่อน จะค่อยๆ ปลดปล่อยวิตามินบีอีก 6 ตัว (บี 1 บี 3 บี 5 บี 6 บี 7 และบี 9) เพื่อดูดซึมที่ลำไส้
  • การปลดปล่อยแบบ 2 ขั้น ช่วยให้ร่างกายดูดซึม และรักษาระดับวิตามินบีรวมได้ดีขึ้น ทำให้ไม่จำเป็นต้องกินวิตามินขนาดสูงๆ
  • จะอยู่ยาวนานถึง 8 ชั่วโมง ทำให้ร่างกายได้รับวิตามินบีรวมทั้ง 8 ชนิด ตลอดระยะเวลา 8 ชั่วโมง
  • ไม่ต้องกินหลายครั้ง ไม่ระคายเคืองกระเพาะอาหาร
ข้อมูลอ้างอิง

1. Chang-Gue S. Review of the Prevalence of Chronic Fatigue Worldwide. The Journal of Korean Oriental Medicine; 2012. Vol.33. No.2. 25-33.

2. JOSEPH RY, SARAH MT. Chronic Fatigue Syndrome: Diagnosis and Treatment. Am Fam Physician. 2012 Oct 15;86(8):741-746.

3. David O. Kennedy. B Vitamins and the Brain: Mechanisms, Dose and Efficacy—A Review. Nutrients. 2016 Feb; 8(2): 68.

4. THAI RECOMMENDED DAILY INTAKES-THAI RDI, บัญชีหมายเลข 3, เอกสารแนบท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 182) พ.ศ. 2541

5. Kerns, J.C.; Arundel, C.; Chawla, L.S. Thiamin deficiency in people with obesity. Adv. Nutr. Int. Rev. J. 2015, 6, 147–153.

6. Bates, C.J. Thiamine. In Handbook of Vitamins, 4th ed.; Zempleni, J., Rucker, R.B., McCormick, D.B., Suttie, J.W., Eds.; CRC Press: Boca Raton, FL, USA, 2007.

7. Rivlin, R.S. Riboflavin (vitamin B2). In Handbook of Vitamins, 4th ed.; Zempleni, J., Rucker, R.B., McCormick, D.B., Suttie, J.W., Eds.; CRC Press: Boca Raton, FL, USA, 2007.

8. Sinigaglia-Coimbra, R.; Lopes, A.C.; Coimbra, C.G. Riboflavin deficiency, brain function, and health. In Handbook of Behavior, Food and Nutrition; Springer: Berlin, Germany, 2011; pp. 2427–2449.

9. Kirkland, J.B. Niacin. In Handbook of Vitamins, 4th ed.; Zempleni, J., Rucker, R.B., McCormick, D.B., Suttie, J.W., Eds.; CRC Press: Boca Raton, FL, USA, 2007.

10. Rucker, R.B.; Bauerly, K. Pantothenic acid. In Handbook of Vitamins, 5th ed.; Zempleni, J., Suttie, J.W., Gregory, J.F., III, Stover, P.J., Eds.; CRC Press: Boca Raton, FL, USA, 2013.

11. Dakshinamurti, S.; Dakshinamurti, K. Vitamin b6 . In Handbook of Vitamins, 5th ed.; Zempleni, J., Suttie, J.W., Gregory, J.F., III, Stover, P.J., Eds.; CRC Press: Boca Raton, FL, USA, 2013.

12. Morris, M.S.; Picciano, M.F.; Jacques, P.F.; Selhub, J. Plasma pyridoxal 51 -phosphate in the us population: The national health and nutrition examination survey, 2003–2004. Am. J. Clin. Nutr. 2008, 87, 1446–1454.

13. Mock, D.M. Biotin. In Handbook of Vitamins, 4th ed.; Zempleni, J., Rucker, R.B., McCormick, D.B., Suttie, J.W., Eds.; CRC Press: Boca Raton, FL, USA, 2007.

14. Reynolds, E. Vitamin B12, folic acid, and the nervous system. Lancet Neurol. 2006, 5, 949–960.

15. Green, R.; Miller, J. Vitamin B12. In Handbook of Vitamins, 4th ed.; Zempleni, J., Rucker, R.B., McCormick, D.B., Suttie, J.W., Eds.; CRC Press: Boca Raton, FL, USA, 2007.

16. Huskisson, E.; Maggini, S.; Ruf, M. The role of vitamins and minerals in energy metabolism and well-being. J. Int. Med. Res. 2007, 35, 277–289.

shop now