วิตามินอี มีประโยชน์หลายอย่าง แต่หลักๆ คือช่วยให้หลอดเลือดมีความยืดหยุ่นขึ้น ส่งผลให้เลือดไหลเวียนทั่วร่างกายได้ดีขึ้น ลดโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ
อาหารที่มีวิตามินอี
วิตามินอี (Vitamin E) สามารถพบได้ในอาหารทั่วไปที่เรากินกัน อาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินอีมีด้วยกันหลากหลาย พบได้ทั้งในพืชและเนื้อสัตว์ ดังต่อไปนี้
ผักและธัญพืชที่มีวิตามินอีสูง | ผลไม้ที่มีวิตามินอีสูง | เนื้อสัตว์ที่มีวิตามินอีสูง |
---|---|---|
กะหล่ำปลี | มะม่วง | ไก่ |
ผักโขม | กีวี่ | ปลา |
บร็อกโคลี | มะเขือเทศ | เนื้อวัว |
แครอท | กล้วย | หมู |
อัลมอนด์ | สตรอว์เบอร์รี่ | ไข่ |
เฮเซลนัท | ตับ | |
เมล็ดทานตะวัน | ||
ถั่วลิสง |
วิตามินอีสำคัญอย่างไร?
วิตามิน E เป็นหนึ่งในวิตามินที่สำคัญและมีความจำเป็นต่อร่างกาย มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โทโคเฟอรอล (Tocopherol) เป็นวิตามินที่ละลายในไขมันได้ดี มีส่วนช่วยในกระบวนการต้านอนุมูลอิสระตัวร้ายที่ทำลายเซลล์ในร่างกาย ทั้งยังช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดี ลดโอกาสเสี่ยงเกิดลิ่มเลือดอุดตัน หากร่างกายขาดวิตามินอี อาจส่งผลต่อระบบประสาท กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปัญหาด้านสายตา (สูญเสียการมองเห็น) ภาวะโลหิตจาง มะเร็ง ผิวแห้ง ผมร่วง เป็นต้น7
เสริมวิตามินอี
ดีต่อหัวใจและหลอดเลือด
ประโยชน์ของวิตามินอี
วิตามินอี วิตามินที่มีความสำคัญ และมีประโยชน์ไม่แพ้วิตามินตัวอื่นๆ มีความจำเป็นต่อร่างกาย และควรรับวิตามินให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ โดยประโยชน์ของวิตามินอี ได้แก่
ช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอล ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ
คอเรสเตอรอลเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดความเสี่ยงโรคหัวใจ ร่างกายของมนุษย์เราจะมีทั้งไขมันดี (HDL) และไขมันเลว (LDL) ซึ่งไขมันเลวเป็นตัวที่เพิ่มปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ6 Vitamin E มีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด มีงานวิจัยที่ทำการทดลองให้ยาหลอก (Placebo) และวิตามินอี พบว่ากลุ่มที่ได้รับวิตามินอีช่วยลดความดันเลือดขณะหัวใจบีบตัว และยังมีงานวิจัยที่พบว่าการกินวิตามินอีเสริมกับ โอเมก้า 3 มีส่วนช่วยในการลดระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ และไขมันในเลือด ซึ่งสามารถลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจได้
ช่วยป้องกันระบบหลอดเลือดและหัวใจ
วิตามินอีช่วยป้องกันระบบหลอดเลือดหัวใจได้ มีงานวิจัยที่พบข้อมูลว่า วิตามินอีสามารถป้องกันหรือชะลอโรคหลอดเลือดหัวใจ เนื่องจากร่างกายของคนเราจะมีกระบวนการออกซิเดชันของไขมันชนิด LDL (low density lipoprotein) มีผลทำให้เส้นเลือดเกิดความเสียหาย วิตามินเข้าไปช่วยลดการเกิดกระบวนการออกซิเดชันของไขมันชนิด LDL ทำให้การเกาะตัวกันของเกล็ดเลือดลดลง การทำงานของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจดีขึ้น ลดอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคระบบหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งในงานวิจัยของประเทศอังกฤษ พบว่าคนที่ได้รับวิตามินอีประมาณวันละ 400-800 IU อย่างต่อเนื่อง ช่วยลดเกิดโรคหัวใจวายได้ถึง 77%6
ต้านการเกิดอนุมูลอิสระ และชะลอความแก่
อีกหนึ่งคุณสมบัติอันโดดเด่นของวิตามินอี คือ ประโยชน์เรื่องการต้านการเกิดอนุมูลอิสระ การชะลอความแก่นั่นเอง เพราะวิตามินอีทำหน้าที่เปรียบเสมือนกับฟองน้ำที่คอยดูดจับอนุมูลอิสระ จึงถือว่าเป็นสารต้านอนุมูลอิสระชั้นดี ช่วยลดการเกิดโอกาสโรคอื่นๆ ที่เป็นผลจากอนุมูลอิสระอีกด้วย อย่างเช่น โรคอัลไซเมอร์ และมะเร็ง
ในด้านผิวพรรณ การกินอาหารที่มีวิตามินอีพบว่า ช่วยป้องกันผิวจากการทำร้ายของแสงแดด ไม่ให้ผิวไหม้เกรียม ช่วยต้านริ้วรอย และทำให้เซลล์ผิวแข็งแรง ดูสดใส อ่อนกว่าวัย
ช่วยให้หลอดเลือดมีความยืดหยุ่นขึ้น
การไหลเวียนโลหิตที่ไม่ดี ส่งผลต่อปัญหาสุขภาพที่ตามมามากมาย ไม่ว่าจะเป็น อาการการปวดหัว ไมเกรน ปวดเวียนศีรษะ ปวดเมื่อย ใจสั่น และปัญหาการนอนหลับ รวมไปถึงโรคร้ายแรงอื่นๆ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง วิตามินอีมีส่วนช่วยให้หลอดเลือดมีความยืดหยุ่นขึ้น ส่งผลให้ประสิทธิภาพการไหลเวียนของเลือดทั่วร่างกายดีขึ้น ลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรค หรืออาการไม่พึงประสงค์ดังที่กล่าวมาได้
เสริมวิตามินอี
ดีต่อหัวใจและหลอดเลือด
หากร่างกายขาดวิตามินอี จะส่งผลเสียอย่างไร
วิตามินอี (Vitamin E) เป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย หากได้รับวิตามินอีอย่างเพียงพอ เหมาะสม จะช่วยให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานได้เป็นอย่างดี ป้องกันอันตรายจากโรคภัยต่างๆ ได้ หากได้รับวิตามินอีไม่เพียงพอ จะส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น ปัญหาทางระบบประสาท ปัญหาการทรงตัว ปัญหาการกรอกตาผิดปกติ สูญเสียการรับสัมผัส การตอบสนองต่อสิ่งเร้าลดลง กล้ามเนื้ออ่อนแรง เม็ดเลือดแดงแตก ในเด็กทารกอาจพบภาวะโลหิตจาง และน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์3,4
วิธีใช้วิตามินอี
สำหรับวิตามินอีสามารถใช้ได้หลายรูปแบบ อย่างไรก็ตาม ที่ผู้ต้องการเสริมวิตามินอี ควรอ่านฉลาก ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ใช้ปริมาณที่เหมาะสม วิธีใช้วิตามินอี มีดังนี้3
- ควรเก็บยาไว้ในอุณหภูมิไม่เกิน 30 องศาเซลเซียส
- เก็บให้พ้นจากความชื้น และแสงแดด
- ไม่ควรนำมาใช้หากพบว่าตัวยาหมดอายุ
- ควรกินพร้อมอาหาร
- ควรกลืนทั้งเม็ด ไม่ควรหัก บด หรือเคี้ยว
- หากเป็นโรคฟินิลคีโทนูเรีย (Phenylketonuria) ห้ระวังการใช้วิตามินอีชนิดน้ำที่มีสารให้ความหวานที่มีฟีนิลอะลานีน
- ไม่ควรเพิ่มปริมาณยาเป็นสองเท่า
กินวิตามินอีเท่าไหร่ดี?
การกินวิตามินอีให้เพียงพอต่อหนึ่งวันเป็นสิ่งสำคัญ เพราะมีความจำเป็นต่อร่างกาย และช่วยต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการเกิดโรคต่างๆ ได้ เช่น โรคเกี่ยวกับหลอดเลือด หัวใจ สมอง และโรคเกี่ยวกับระบบประสาท เป็นต้น โดยปกติแล้ว คนเราได้รับสารอาหารจากวิตามินอีเพียงพออยู่แล้ว เนื่องจากสามารถพบได้ทั่วไปในอาหารที่กินในแต่ละวัน แต่ก็สามารถกินเพิ่มเพื่อป้องกันโรค หรือดูแลสุขภาพเป็นพิเศษได้
วิตามินอีละลายได้ดีในไขมัน แต่ไม่สามารถละลายในน้ำได้ ร่างกายจึงไม่สามารถขับออกมาทางปัสสาวะได้ดังเช่นวิตามมินอื่นๆ ทำให้เกิดการสะสมในร่างกาย ดังนั้น ควรกินวิตามินอีในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป เพราะทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายได้ โดยอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด ท้องเสีย ตาพร่า ปวดท้อง เส้นเลือดในสมองแตก มะเร็งต่อมลูกหมาก รวมถึงเกิดภาวะแทรกซ้อนในรายที่เป็นโรคหัวใจ หรือเบาหวาน
เพื่อให้ได้สารอาหาร Vitamin E เพียงพอต่อร่างกาย สำหรับบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้มีโรคประจำตัว หรือมีภาวะขาดวิตามินอี1 โดยแต่ละเพศ แต่ละวัยควรได้รับวิตามินอีในปริมาณที่ต่างกัน ดังนี้
เพศ / วัย | ปริมาณวิตามินอีที่ควรได้รับต่อวัน (mg) |
---|---|
เด็กอายุ 1-3 ปี | 6 |
เด็กอายุ 4-8 ปี | 7 |
เด็กอายุ 9-13 ปี | 11 |
ผู้หญิงอายุ 14 ปีขึ้นไป | 15 |
ผู้หญิงตั้งครรภ์ | 15 |
ผู้หญิงให้นมบุตร | 19 |
ผู้ชายอายุ 14 ปีขึ้นไป | 15 |
กินวิตามินอีตอนไหนดี?
ตามหลักแล้ววิตามินอีสามารถกินตอนไหนก็ได้ แต่การกินให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือ กินพร้อมอาหารที่มีไขมัน เนื่องจากวิตามินอีละลายได้ดีในไขมัน ซึ่งทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมวิตามินได้ดีมากยิ่งขึ้น2
เสริมวิตามินอี
ดีต่อหัวใจและหลอดเลือด
ใครไม่ควรกินวิตามินอี
ไม่ใช่ทุกคนจะเหมาะกับการกินวิตามินอี ก่อนการกินควรปรึกษาแพทย์ก่อน โดยกลุ่มคนที่ต้องระวังในการใช้วิตามินอี คือ คนที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคโลหิตจาง ปัญหาการแข็งตัวของเลือด โรคภูมิแพ้ โรคตับ โรคไต มะเร็ง กลุ่มคนที่มีการใช้ยาบางประเภท เช่น ยาสมุนไพร ยาคอเลสไทรามีน (Cholestyramine) น้ำมันมิเนรัล ออย ยาวาร์ฟาริน (Warfarin) ยารักษาโรคอ้วน (Orlistat) หรือ ยาใดๆ ที่มีการสั่งจ่ายโดยแพทย์ หรือเภสัชกร กลุ่มคนที่ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน หรือแอลกอฮอล์ปริมาณมาก กลุ่มคนที่กำลังตั้งครรถ์ หรือกำลังจะผ่าตัด8
สรุป
วิตามินอี (Vitamin E) มีความสำคัญ และจำเป็นต่อระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกาย เนื่องจากทำหน้าที่ต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เซลล์ถูกทำลาย แก่ก่อนวัย และเป็นสาเหตุของโรคต่างๆ การกินวิตามินอีควรกินให้เพียงพอ และเหมาะสมกับร่างกาย ตามช่วงอายุ เพื่อรักษาสมดุลของสุขภาพร่างกาย แต่ก็ไม่ควรได้รับวิตามินอีมากจนเกินไป เพราะอาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งก่อนเริ่มกิน