วิตามินผิวขาวกระจ่างใส และสารอาหารผิวขาว เพื่อผิวสวยสุขภาพดี

อยากผิวสวยสุขภาพดี ต้องหมั่นดูแลตัวเองทั้งภายนอก และภายใน จึงควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ วิตามินผิวใส และอาหารเสริม เพื่อให้ผิวกระจ่างใส เปล่งปลั่ง และดูสุขภาพดี

คอลลาเจน (Collagen)

คอลลาเจน เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่มีมากที่สุดในร่างกาย เป็นโครงสร้างสำคัญของเนื้อเยื่อและให้ความแข็งแรงกับผิวหนัง จะทำหน้าที่ควบคู่ไปกับอีลาสตินซึ่งเป็นโปรตีนอีกชนิดหนึ่ง เพื่อเสริมความกระชับและยืดหยุ่นให้ผิวหนัง ทำให้ผิวมีความชุ่มชื้น กระจ่างใส และเรียบเนียน8

เมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายจะสร้างคอลลาเจนลดลง ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จึงจำเป็นต้องกินอาหารที่ช่วยเพิ่มคอลลาเจน เช่น ปลาทะเลน้ำลึกและถั่วเหลือง หรือกินคอลลาเจนในรูปแบบอาหารเสริมผิวขาว โดยร่างกายจะย่อยคอลลาเจนเป็นกรดอะมิโนเพื่อให้ดูดซึม และนำไปใช้งานในร่างกายต่อไป โดยมีงานวิจัยสนับสนุนว่าการได้รับคอลลาเจนเพียงพอ จะช่วยปรับปรุงสุขภาพผิวโดยเพิ่มความยืดหยุ่น ลดริ้วรอย ฟื้นฟูให้ผิวกระจ่างใส และมีผิวสวยสุขภาพดีได้9

โพรไบโอติกส์ (Probiotics)

โพรไบโอติกส์ คือ จุลินทรีย์ที่ดี มีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยเรื่องการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และระบบย่อยอาหารให้เป็นปกติ จุลินทรีย์ที่ดีเหล่านี้สามารถได้รับจากอาหาร เช่น ชาหมัก คอมบูชะ ที่ช่วยลดการทำงานของเซลล์ที่สร้างเมลานิน และทำให้ผิวขาวขึ้น ชะลอผิวที่เสื่อมได้10 โดยเฉพาะโพรไบโอติกส์สายพันธุ์ TCI633 ที่ช่วยกระตุ้นการสร้างไฮยาลูรอนที่ช่วยกักเก็บน้ำใต้ชั้นผิว ช่วยให้ผิวดูใส มีความยืดหยุ่น แลดูสุขภาพดี14

นอกจากนี้ งานวิจัยยังกล่าวว่า โพรไบโอติกส์มีศักยภาพที่ดีในการป้องกัน และรักษาโรคผิวหนังต่างๆ ได้แก่ ผิวหนังติดเชื้อจากไวรัส แบคทีเรีย ภูมิแพ้ผิวหนัง สิว การอักเสบต่างๆ สร้างผิวแข็งแรง รวมถึงลดความเสียหายจากรังสี UV10 การเสริมโพรไบโอติกส์ในร่างกายจึงเป็นการเข้าไปช่วยบำรุงผิวจากภายในอีกหนึ่งวิธี

วิตามินเอ (Vitamin A)

วิตามินเอ คือ วิตามินที่ละลายได้ในไขมัน ช่วยในการผลิตเซลล์ผิวใหม่ กระตุ้นการผลัดเซลล์ผิวเก่า กำจัดผิวแห้ง ปรับสีผิวให้สม่ำเสมอ ทำให้ผิวสัมผัสเรียบเนียนขึ้น ช่วยลดเลือนริ้วรอย จุดด่างดำต่างๆ และช่วยในการรักษาสิวได้อย่างมีประสิทธิภาพ1

เนื่องจาก วิตามินเอ มีสารเรตินอยด์ที่ช่วยสร้างคอลลาเจนในชั้นผิวหนังแท้ ทำให้การผลิตน้ำมันเป็นปกติ และป้องกันการอุดตันของรูขุมขน โดยวิตามินเอสามารถพบได้ในอาหารทั่วไป เช่น ไข่ ปลาแซลมอน ผักโขม ฟักทอง มันเทศ พริกหยวกแดง และโยเกิร์ต เป็นต้น

วิตามินซี (Vitamin C)

วิตามินซี (Vitamin C)

วิตามินซี หรือกรดแอสคอร์บิก (Ascorbic Acid มีส่วนช่วยในการสร้างคอลลาเจน กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด และต่อต้านอนุมูลอิสระ2 ซึ่งมีส่วนในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยซ่อมแซม และฟื้นฟูเนื้อเยื่อจากความเสียหายที่เกิดขึ้นในร่างกาย ทำให้ผิวเต่งตึง ชะลอการเกิดริ้วรอยก่อนวัย ดูเปล่งปลั่ง ผิวสวยสุขภาพดี และช่วยลดรอยดำต่างๆ โดยวิตามินซีจะอยู่ในอาหารประเภทผัก และผลไม้รสเปรี้ยว เช่น ส้ม สับปะรด มะขาม สตอร์เบอร์รี มะเขือเทศ บรอกโคลี และพริกชนิดต่างๆ

วิตามินดี (Vitamin D)

วิตามินดี คือ วิตามินที่มีความสำคัญต่อการทำงานของร่างกาย มีคุณสมบัติการต้านจุลชีพ และฟื้นบำรุงการอักเสบ จึงเหมาะสำหรับผิวที่เป็นสิว และผิวอักเสบแดง1 โดยกลไลกหลักของวิตามินดี คือ การเข้าไปช่วยดูดซึมแคลเซียม และฟอสฟอรัสจากอาหาร อีกทั้งยังช่วยรักษาระดับแร่ธาตุให้สมดุล โดยวิตามินดีในอาหาร มักพบมากในปลาที่มีไขมันสูง เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า รวมถึงอาหารประเภทไข่ นม น้ำส้ม เห็ด เป็นต้น

วิตามินอี (Vitamin E)

วิตามินอี เป็นวิตามินบำรุงผิวที่สำคัญต่อระบบการไหลเวียนของเลือด ช่วยให้ผิวกระจ่างใส รู้สึกกระชับ และสุขภาพดีขึ้น จึงมีการนำวิตามินอีมาใช้เพื่อรักษารอยแผลเป็นจากสิว และผิวแห้ง1 โดยกลไลกหลักของวิตามินอี คือ การส่งเสริมการผลัดเซลล์ การสร้างเซลล์ใหม่ ช่วยป้องกันการอุดตันของเม็ดเลือด มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพ และต้านการอักเสบ

นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาว่าวิตามินอีช่วยเสริมความแข็งแกร่ง และปกป้องสภาพผิวจากอันตรายของแสงอาทิตย์ ช่วยกักเก็บความชุ่มชื้นของผิว มีคุณสมบัติต้านมะเร็ง และป้องกันแสง3 โดยวิตามินอีอยู่ในอาหารธรรมชาติหลายอย่าง เช่น ถั่วต่างๆ ถั่วลิสง อะโวคาโด ข้าวโพด ถั่วเหลือง น้ำมันมะกอก เป็นต้น

เบต้าแคโรทีน (Beta-Carotene)

เบต้าแคโรทีน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ร่างกายสามารถเปลี่ยนให้เป็นวิตามินเอได้ และจัดอยู่ในกลุ่มแคโรทีนอยด์ (Carotenoid)4 โดยกลไลกหลักของเบต้าแคโรทีน คือ การช่วยยับยั้งเซลล์ที่เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันที่เกิดจากการได้รับกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงมากเกินไป ช่วยปกป้องผิวจากรังสีอัลตราไวโอเลตในแสงแดด ทำให้ผิวไวต่อแสงแดดน้อยลง ป้องกันการเกิดผิวไหม้ การตายของเซลล์ผิว ผิวหนังที่แห้งหยาบ และลดความแก่ชราของผิว เช่น ความยืดหยุ่น ความชุ่มชื้น ริ้วรอย และจุดด่างดำ5 โดยทั่วไปมักพบเบต้าแคโรทีนได้ในผัก และผลไม้ที่มีสีเหลือง สีส้ม และสีเขียวเข้ม เช่น แครอท ผักใบเขียว แคนตาลูป สควอช ฟักทอง มันหวาน เป็นต้น

โอเมก้า 3 (Omega 3)

โอเมก้า 3 (Omega 3)

โอเมก้า 3 เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว มีคุณประโยชน์มากมายต่อระบบต่างๆ ในร่างกาย ทั้งยังรักษาสมดุลของผิวหนัง สามารถช่วยลดจุดด่างดำบนผิวได้ โดยหนึ่งในโอเมก้า 3 ที่เรียกกันว่า กรดไขมันดีเอชเอ (DHA หรือ Docosahexaenoic Acid) จะช่วยลดการสร้างเม็ดสีเมลานิน ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อความขาวของผิว ช่วยให้สีผิวสว่างกระจ่างใสขึ้น6

นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยสนับสนุนว่าโอเมก้า 3 สามารถช่วยบรรเทาอาการของโรคผิวหนังบางอย่าง เช่น ผิวหนังอักเสบจากแสง มะเร็งผิวหนัง ภูมิแพ้ ผิวหนังอักเสบ บาดแผลที่ผิวหนัง7 โดยโอเมก้า 3 มักพบได้มากในปลาทะเลน้ำลึก และปลาน้ำจืดที่มีไขมันสูง เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาทู ปลาแมคเคอเรล และสาหร่ายทะเลบางชนิด เป็นต้น

ซิงค์ (Zinc)

ซิงค์ หรือแร่ธาตุสังกะสี เป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติต่อต้านปฏิกิริยาของอนุมูลอิสระ เป็นองค์ประกอบของเอนไซม์ถึง 70 กว่าชนิดในร่างกาย ซิงค์มีส่วนส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ร่างกายสามารถเสริมสร้าง บำรุง และรักษาได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการรักษาความสมบูรณ์โครงสร้างของผิวหนัง และความสมดุลของปริมาณไขมันตามรูขุมขน จึงช่วยให้แผลต่างๆ ซ่อมแซมหรือสมานแผลได้รวดเร็ว และควบคุมการอักเสบของสิวที่อุดตันรูขุมขน ทั้งยังชะลอเซลล์ผิวให้เสื่อมช้าลง11 โดยแร่ธาตุนี้มักพบได้ในไข่ เนื้อสัตว์ ตับ นม และอาหารทะเลประเภทหอย เช่น หอยนางรม

โปรตีน (Protein)

ร่างกายของมนุษย์มีโปรตีนมากมายไม่ต่ำกว่าหมื่นชนิด หน่วยย่อยของโปรตีนอย่างกรดอะมิโนเป็นโมเลกุลพื้นฐานของร่างกาย ทำหน้าที่ทั้งโมเลกุลโครงสร้างและโมเลกุลทำงาน ร่างกายจำเป็นต้องได้รับโปรตีนทุกวันเพื่อนำกรดอะมิโนไปใช้สร้างโปรตีนชนิดต่างๆ โปรตีนจึงเป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นต่อทุกระบบในร่างกาย โดยเฉพาะเรื่องผิวพรรณ ซึ่งโปรตีนจะทำหน้าที่ร่วมกับเคราติน (Keratin) ในผิวหนังชั้นนอกสุด เพื่อกักเก็บความชุ่มชื้นของผิว และป้องกันไม่ให้สูญเสียไปกับมลภาวะภายนอก อีกทั้งยังช่วยให้เซลล์ผิวฟื้นฟูได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่สำคัญคือช่วยสร้างคอลลาเจนใต้ผิวหนัง ทำให้ผิวพรรณดูดี เปล่งปลั่ง และกระชับ12

ซีลีเนียม (Selenium)

ซีลีเนียม คือ แร่ธาตุชนิดหนึ่งที่จำเป็นต่อสุขภาพร่างกาย เพราะมีส่วนสำคัญอย่างมากในการสร้างสารต่อต้านอนุมูลอิสระหลักที่พบได้ในทุกเซลล์ เรียกว่า กลูตาไธโอนเพอรอกซิเดส ส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันให้เป็นไปตามปกติ ช่วยป้องกัน และชะลอความชรา โดยทำหน้าที่ร่วมกับวิตามินอี ช่วยทำให้กล้ามเนื้อรักษาความยืดหยุ่น และอ่อนเยาว์เอาไว้ได้13

หากร่างกายได้รับซีลีเนียมน้อยเกินไป อาจทำให้แก่ก่อนวัย สังเกตได้จากริ้วรอยและผิวที่เหี่ยวย่นลง สำหรับอาหารที่พบแร่ธาตุซีลีเนียม ได้แก่ อาหารทะเล ตับ ไต ปลาทูน่า และเนื้อสัตว์ พบได้น้อยในพืช เพราะจะขึ้นอยู่กับซีลีเนียมที่มีอยู่แล้วในดินที่ใช้ปลูก โดยพืชที่พบซีลีเนียม ได้แก่ หัวหอม มะเขือเทศ ถั่ว จมูกข้าว กระเทียม เป็นต้น

สรุป

การบำรุงผิวให้ขาวกระจ่างใสที่ยั่งยืน คือ การบำรุงผิวจากภายใน โดยสามารถรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และดีต่อสุขภาพจำพวกผัก ผลไม้ และอาหารเพื่อสุขภาพอื่นๆ ซึ่งมีวิตามินบำรุงผิวมากมายที่ช่วยให้ผิวสวยสุขภาพดี หรือรับประทานอาหารเสริมที่ช่วยบำรุงผิวขาวได้เช่นกัน การกินอาหารที่อุดมด้วยวิตามิน และคุณค่าทางโภชนาการ ไม่เพียงทำให้ผิวพรรณดี เปล่งปลั่ง กระจ่างใส แต่ร่างกายยังได้รับประโยชน์ด้านอื่น ๆ อีกด้วย

ข้อมูลอ้างอิง

  1. Scitechdaily. 2022. 5 Vitamins to Add to Your Diet for Healthy, Glowing Skin. scitechdaily.com. Retrieved 25 June 2023.

  2. Pumori Saokar Telang. 2013. Vitamin C in dermatology. ncbi.nlm.nih.gov. Retrieved 25 June 2023.

  3. Mohammad Abid Keen and Iffat Hassan. 2016. Vitamin E in dermatology. ncbi.nlm.nih.gov. Retrieved 25 June 2023.

  4. Institute of Medicine (US) Panel on Dietary Antioxidants and Related Compounds. 2000. Dietary Reference Intakes for Vitamin C, Vitamin E, Selenium, and Carotenoids.  ncbi.nlm.nih.gov. Retrieved 25 June 2023.

  5. Anamaria Balić and Mislav Mokos. 2019. Do We Utilize Our Knowledge of the Skin Protective Effects of Carotenoids Enough?. ncbi.nlm.nih.gov. Retrieved 25 June 2023.

  6. Maryam Azhar. 2022. Skin Whitening Diet Plan: 10 Natural Foods for Glowing Skin. marham.pk. Retrieved 25 June 2023.

  7. Tse-Hung Huang, Pei-Wen Wang, Shih-Chun Yang, Wei-Ling Chou, and Jia-You Fang. 2018. Cosmetic and Therapeutic Applications of Fish Oil’s Fatty Acids on the Skin. ncbi.nlm.nih.gov. Retrieved 25 June 2023.

  8. ทัตพร อิสสรโชติ. 2023. อิลาสติน คืออะไร ควรดูแลสุขภาพผิวอย่างไรให้แข็งแรง. hellokhunmor.com. Retrieved 25 June 2023.

  9. Hend Al-Atif. 2022. Collagen Supplements for Aging and Wrinkles: A Paradigm Shift in the Fields of Dermatology and Cosmetics. ncbi.nlm.nih.gov. Retrieved 25 June 2023.

  10. M Rahmati Roudsari, R Karimi, S Sohrabvandi, A M Mortazavian. 2015. Health effects of probiotics on the skin. pubmed.ncbi.nlm.nih.gov. Retrieved 25 June 2023.

  11. พลอย วงษ์วิไล. 2020. ซิงค์ (Zinc) แร่สังกะสี กับ ประโยชน์สุขภาพที่คุณควรรู้. hellokhunmor.com. Retrieved 25 June 2023.

  12. Jonathan Hew, Samantha M. Solon-Biet, Aisling C. McMahon, Kari Ruohonen, David Raubenheimer, J. William O. Ballard, David G. Le Couteur, Caroline Nicholls, Zhe Li, Peter K. M. Maitz, Yiwei Wang, and Stephen J. Simpson. 2016. The Effects of Dietary Macronutrient Balance on Skin Structure in Aging Male and Female Mice. ncbi.nlm.nih.gov. Retrieved 25 June 2023.

  13. เมดไทย. 2020. ซีลีเนียม (Selenium) ประโยชน์ของซีลีเนียม 6 ข้อ !. medthai.com. Retrieved 25 June 2023.

  14. Cheng Liu, Ya-Ping Tseng, Leong-Perng Chan, and Chia-Hua Liang. The potential of Streptococcus thermophiles (TCI633) in the anti-aging. Pubmed.ncbi.nlm.nih.gov. Retrieved 14 July 2023.

shop now