อาการหิวบ่อย ฉี่บ่อย อาจเป็นสัญญาณโรคร้ายอย่างเบาหวาน หรือเป็นสัญญาณว่าสุขภาพลำไส้ผิดปกติ แก้ไขได้ด้วยการเลือกกินอาหารบำรุงลำไส้ และพักผ่อนให้เพียงพอ

อาการหิวบ่อย เป็นอย่างไร

อาการหิวเป็นอาการปกติ เพราะร่างกายจำเป็นต้องได้รับอาหารเพื่อใช้ในการทำงานของอวัยวะทุกส่วน แต่ในกรณีที่เมื่อกินอาหารไปแล้ว แต่ก็ยังมีอาการหิวบ่อย ท้องร้อง มีความอยากอาหารมากทั้งๆ ที่พึ่งจะกินอาหาร หากเป็นเช่นนี้เป็นประจำ อาจจะเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความผิดปกติของร่างกายได้2

อาการหิวบ่อย ฉี่บ่อย สัญญาณของโรคเบาหวาน

อาการหิวบ่อย ฉี่บ่อย เป็นอาการที่บ่งบอกว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานได้ เนื่องจากอาการหิวบ่อยสัมพันธ์กับระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงกว่าปกติ เพราะปกติแล้วร่างกายต้องการน้ำตาล เพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานให้กับอวัยวะส่วนต่างๆ แต่ในกรณีของผู้ที่มีความเสี่ยงเบาหวานนั้น กระบวนการทำงานของร่างกายจะผิดปกติ เพราะเมื่อใดที่ร่างกายไม่มีพลังงาน จะเกิดอาการหิวบ่อย อ่อนเพลีย ไม่มีมีแรง อีกทั้งเมื่อร่างกายไม่สามารถเปลี่ยนน้ำตาลเป็นพลังงานได้ จึงขับน้ำตาลออกทางปัสสาวะ ทำให้เกิดอาการฉี่บ่อยนั่นเอง2

อาการหิวบ่อย เกิดจากอะไร

อาการหิวบ่อย เกิดจากอะไร

อาการหิวบ่อย ไม่ใช่อาการปกติของร่างกาย อาจเป็นสัญญาณเตือนความเสี่ยงของโรคต่างๆ ได้ โดยเฉพาะโรคเบาหวาน ซึ่งมีสาเหตุหลักๆ ดังนี้

1. ฮอร์โมนเลปตินไม่สมดุล

ฮอร์โมนหลายๆ ตัวในร่างกาย เป็นฮอร์โมนที่ส่งผลต่อความหิว หากฮอร์โมนเหล่านี้ในร่างกายเกิดความผิดปกติขึ้น จะทำให้ร่างกายเกิดอาการหิวตลอดเวลาได้ ฮอร์โมนที่ส่งผลต่อความหิว ได้แก่ 

  • เกรลิน (Ghrelin) เป็นฮอร์โมนแห่งความหิว ถือเป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมความอยากอาหาร และสั่งการให้ร่างกายหิว หากฮอร์โมนเกรลินในเลือดจะสูงในช่วงก่อนกินอาหาร และระหว่างการลดน้ำหนัก รวมไปถึงในช่วงที่นอนไม่เพียงพอก็จะทำให้เกรลินเพิ่มขึ้นเช่นกัน 
  • เลปติน (Leptin) เป็นฮอร์โมนแห่งความอิ่ม ทำหน้าที่ในการสั่งการสมองในเรื่องความอิ่ม ควบคุมความหิว ช่วยให้ร่างกายสามารถควบคุมน้ำหนักได้ หากร่างกายมีฮอร์โมนเลปตินน้อย จะส่งผลให้เกิดอาการไม่มีความสุขหลังจากกินอาหาร และมีอาการหิวตลอดเวลา
  • อินซูลิน (Insulin) เป็นฮอร์โมนที่คอยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด อินซูลินจะเป็นตัวกำหนดให้ร่างกายสามารถนำเอาน้ำตาลที่ได้จากคาร์โบไฮเดรตมาใช้เป็นพลังงาน และคอยกักเก็บน้ำตาลไว้เพื่อใช้ในอนาคตด้วย ในกรณีที่อินซูลินไม่สามารถทำหน้าในการเปลี่ยนน้ำตาลเป็นพลังงานได้ นั่นหมายถึงความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน5

2. ภาวะเครียด

ในภาวะที่ร่างกายหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) และอะดรีนาลีน (Adrenaline) ซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความเครียดที่ร่างกายจะหลั่งออกมาเมื่ออยู่ในภาวะฉุกเฉิน เช่น ตกใจ โกรธ เครียด วิตกกังวล ตื่นเต้น เป็นต้น ร่างกายจะใช้พลังงานมากกว่าปกติ ทำให้เกิดการกระตุ้นความอยากอาหารมากขึ้น อีกทั้งในภาวะเช่นนี้สมองจะยับยั้งการหลั่งเซโรโทนิน สารควบคุมความหิว ทำให้เกิดอาการหิวบ่อย โดยส่วนใหญ่มักจะเป็นความอยากอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูงด้วย 

3. ร่างกายขาดโปรตีน

อาการขาดโปรตีน เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้หิวบ่อย เพราะโปรตีนเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยสร้างกล้ามเนื้อ หากแต่ละวันกินโปรตีนไม่พอ สมองจะกระตุ้นให้ร่างกายหิว เพื่อที่จะกินอาหารให้มากขึ้น จึงส่งผลต่ออาการหิวตลอดเวลา ซึ่งความต้องการโปรตีนของแต่ละช่วงวัยไม่เท่ากัน ในวัยผู้ใหญ่จะต้องการโปรตีนมากกว่าวัยรุ่น ดังนั้นการกินโปรตีนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายจึงขึ้นอยู่กับแต่ละช่วงวัยด้วย4

4. สุขภาพลำไส้

ลำไส้เป็นที่อยู่อาศัยของจุลินทรีย์กว่า 5,000 ชนิด ไม่ว่าจะเป็น แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา และปรสิต ซึ่งจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร (Gut Microbiome) แต่ละชนิดเป็นทั้งแบบที่ดีและไม่ดี หากในระบบลำไส้มีความสมดุลของจุลินทรีย์ต่างๆ เหล่านี้ก็จะถือว่ามีสุขภาพลำไส้ที่ดี แต่ทว่าเมื่อเกิดความไม่สมดุลในระบบลำไส้ มีจุลินทรีย์ที่ไม่ดีมากกว่า ย่อมส่งผลเสียต่อร่างกายด้วย โดยเฉพาะอาการหิวบ่อย เพราะร่างกายจะเพิ่มการดูดซึมพลังงาน เกิดการสะสมของไขมันเส้นสั้น จนทำให้ร่างกายรู้สึกหิวข้าวบ่อยนั่นเอง3

5. ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง

โดยปกติแล้วเซลล์ของร่างกายต้องการพลังงานเพื่อให้อวัยวะทำงานได้ เมื่อร่างกายมีระดับน้ำตาลต่ำ ร่างกายจึงมีอาการผิดปกติ หนึ่งในนั้นคือ อาการหิวบ่อย มักพบอาการนี้ในผู้ป่วยเบาหวาน โดยเฉพาะในช่วงของการใช้ยาเพื่อการรักษา จะพบว่าผู้ป่วยมักจะมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าปกติ หรืออาจจะมาจากสาเหตุอื่นๆ ได้เช่นกัน ในผู้ที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน เช่น การออกกำลังกายหนักเกินไป การกินอาหารไม่ตรงเวลา ผู้ที่มีปัญหาความผิดปกติของตับ ไต ต่อมหมวกไต และต่อมใต้สมอง เป็นต้น1

6. ต่อมไทรอยด์ผิดปกติ

ต่อมไทยรอยด์จะอยู่บริเวณด้านหน้าคอ ตรงจุดบรรจบของกระดูกไหปลาร้า มีหน้าที่ควบคุมระบบเมตาบอลิซึมและการทำงานของอวัยวะของร่างกาย หากต่อมไทรอยด์เกิดความผิดปกติ จะส่งผลต่อระดับพลังงานของร่างกาย อารมณ์ และน้ำหนัก กรณีที่ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ หรือภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน จะส่งผลต่ออาการหิวง่าย ร่วมกับอาการอื่นๆ เช่น หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออกง่าย ชีพจรเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย กล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นต้น2

7. ปัญหาสุขภาพอื่นๆ

นอกเหนือจากสาเหตุสำคัญๆ ที่ได้กล่าวถึงในข้างต้นแล้ว อาการหิวบ่อยยังมีสาเหตุมาจากปัญหาสุขภาพอื่นๆ ด้วย เช่น อาการก่อนมีประจำเดือน ที่ผู้หญิงมีความผิดปกติของร่างกายทำให้มีอาการหิวบ่อยในช่วงระยะเวลาหนึ่งก่อนมีประจำเดือน นอกจากนั้นอาจจะมาจากสาเหตุของการตั้งครรภ์ด้วย เนื่องจากเป็นภาวะที่ทารกเองก็ต้องการอาหารมากขึ้นจากการเจริญเติบโต ซึ่งหากอายุครรภ์ประมาณสัปดาห์ที่ 17 จะเริ่มมีอาการหิวบ่อย และจะกินอาหารมากกว่าปกติ เป็นต้น2

บรรเทาอาการหิวบ่อยทำได้ยังไง

บรรเทาอาการหิวบ่อยทำได้ยังไง

ผู้ที่มีอาการหิวบ่อยยังไม่ต้องกังวลจนมากเกินไป เพราะอาการหิวบ่อยสามารถบรรเทาได้ ดังนี้

1. กินโปรตีนให้เพียงพอ

การกินโปรตีนเพิ่มขึ้นในแต่ละวัน จะช่วยให้เรื่องของความอิ่ม ควบคุมระดับฮอร์โมนความหิวให้ต่ำลง และทำให้กินอาหารในปริมาณน้อยลงในมื้อถัดไป ปริมาณที่เหมาะสมในการกินโปรตีนในแต่ละวัน แนะนำที่ 1.0-1.2 กรัมต่อกิโลกรัม ของน้ำหนักตัว (น้ำหนักตัว x 1.0 หรือ 1.2 = ปริมาณโปรตีนที่ควรได้รับต่อวัน) ทั้งนี้เห็นได้จากงานศึกษาที่เกี่ยวข้อง พบว่าในกลุ่มทดลอง ผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน 50 ราย ที่ดื่มเครื่องดื่มโปรตีนสูงก่อนมื้ออาหาร 30 นาที มีความอยากอาหารลดลง และกินได้น้อยลงเช่นกัน6

2. บำรุงสุขภาพลำไส้

การบำรุงสุขภาพลำไส้เป็นสิ่งสำคัญมาก โดยเริ่มจากการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการกินอาหาร การบำรุงสุขภาพลำไส้จะช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ และช่วยทำให้เกิดความสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้ด้วย อาหารที่ดีต่อลำไส้คืออาหารที่มีส่วนประกอบของไฟเบอร์และโพรไบโอติก เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช ถั่ว เป็นต้น นอกจากนั้นในปัจจุบันยังมีอาหารเสริมที่มีส่วนประกอบของโพรไบโอติกหรือไฟเบอร์ เพื่อช่วยให้ทุกคนมีความสะดวกในการกินโดยสามารถกินอาหารเสริมและได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน ลดอาการหิวบ่อย ปริมาณเหมาะสมกับความต้องการของร่างกายในแต่ละวันด้วย7

3. ดื่มน้ำให้เพียงพอ

การดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอในแต่ละวันจะช่วยควบคุมอาการหิวบ่อยได้ จากการศึกษาพบว่าการดื่มน้ำ 2 แก้ว ก่อนมื้ออาหาร ช่วยลดปริมาณการกินอาหารได้ถึง 22 % เช่นเดียวกับการกินซุปก่อนกินอาหารจานหลักช่วยให้ความอยากอาหารลดลง และยังช่วยให้กินได้น้อยลงอีกด้วย 6

4. พักผ่อนให้เพียงพอ

เพื่อไม่ให้เกิดอาการหิวบ่อย ควรให้ความสำคัญกับการพักผ่อนให้เพียงพอไม่ให้ฮอร์โมนความหิวทำงาน การนอนหลับเพียงพอนอกจากจะช่วยในเรื่องควบคุมความหิวแล้ว ยังช่วยให้ร่างกายมีสุขภาพที่ดีอีกด้วย ระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการพักผ่อนสำหรับเด็ก คือ 7-9 ชั่วโมง และผู้ใหญ่ 8-12 ชั่วโมง

5. หาวิธีผ่อนคลายความเครียด

ความเครียดทำให้ฮอร์โมนคอร์ติซอลในร่างกายสูง ส่งผลต่อความหิวบ่อยได้ ดังนั้นหากรู้ว่าตนเองมีภาวะเครียด วิตกกังวล ควรหาวิธีผ่อนคลายตัวเอง เช่น ออกกำลังกายเป็นประจำ เล่นโยคะ จำกัดการดื่มเครื่องดื่มคาเฟอิน การกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ดื่มชาเขียว เป็นต้น

อาการฉี่บ่อย เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง

อาการฉี่บ่อย เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง

อาการฉี่บ่อย เป็นอาการที่ร่างกายอยู่ในภาวะไม่ปกติ เพราะโดยทั่วไปแล้ว คนเราจะปัสสาวะ ประมาณ ไม่เกิน 8 ครั้งต่อวัน ในกรณีที่เกินกว่านี้เป็นประจำ อาจจะเป็นอาการฉี่บ่อยได้ ซึ่งสาเหตุของอาการฉี่บ่อย ได้แก่

  • ปริมาณของปัสสาวะมากกว่าปกติ ไม่ว่าจะเป็นดื่มน้ำมากเกินไป โรคประจำตัวที่ทำให้ร่างกายขับน้ำปัสสาวะมาก หรือการใช้ยารักษาบางชนิดอย่างยาขับปัสสาวะหรือยารักษาโรคเบาหวาน เป็นต้น
  • กระเพาะอาหารมีความจุลดลง เช่น ความผิดปกติในอุ้งเชิงกราน การมีเนื้องอกมดลูกหรือลำไส้ใหญ่ กระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินไปจากอาการปัสสาวะอักเสบ ความผิดปกติของท่อปัสสาวะ เป็นต้น
  • สภาพอากาศ สถานการณ์แวดล้อม ความเครียด วิตกกังวล8

การที่ฉี่บ่อย เป็นสัญญาณของความเสี่ยงอะไรบ้าง

โดยทั่วไปคนเราจะปัสสาวะวันละ 6- 8 ครั้ง ถือเป็นปกติ แต่หากสังเกตว่าคนเอง ปัสสาวะเกินกว่านี้เป็นประจำ ในกรณีที่ไม่ใช่การดื่มน้ำมาก ก็อาจจะเป็นสัญญาณของโรคบางอย่างได้ ดังนี้

  • โรคเบาหวาน เพราะร่างกายมีความผิดปกติในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ไม่สามารถเปลี่ยนไปเป็นพลังงานได้ จึงขับออกมาในรูปแบบของปัสสาวะ
  • โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เป็นอาการอักเสบติดเชื้อของท่อปัสสาวะ เกิดจากการอั้นปัสสาวะนานเป็นประจำ หรือการทำความสะอาดอวัยวะเพศไม่ดี
  • ภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน (OAB) จะปวดปัสสาวะบ่อย และอั้นไม่ได้ 
  • โรคไต เนื่องจากไตไม่สามารถดูดนั้นกลับสู่ร่างกายได้ จึงต้องขับออกมาทางปัสสาวะ 
  • ต่อมลูกหมากโต ภาวะต่อมลูกหมากโตผิดปกติ จนไปกดทับท่อปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะไม่สุด จึงต้องปัสสาวะบ่อยขึ้น 
  • การตั้งครรภ์ มดลูกไปกดทับกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ9

สรุป

อาการหิวบ่อย ฉี่บ่อย เป็นอาการที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน หากมีอาการหิวบ่อย ฉี่บ่อย ที่ผิดปกติ ให้สันนิษฐานว่าอาจมีความเสี่ยงโรคเบาหวาน เนื่องจากอาการทั้งสองอย่าง เกี่ยวข้องกับระดับน้ำตาลในเลือด เมื่อร่างกายไม่สามารถเปลี่ยนน้ำตาลเป็นพลังงานได้จึงส่งผลให้ร่างกายไม่มีแรง หิวบ่อย และน้ำตาลที่ร่างกายนำไปใช้ไม่ได้จะถูกขับออกมาในรูปแบบปัสสาวะ ทำให้เกิดอาการฉี่บ่อยนั่นเอง สำหรับวิธีการแก้ไขที่สำคัญ ได้แก่ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน เลือกกินอาหารที่มีโปรตีนสูง เพื่อลดความอยากอาหาร และอาหารที่บำรุงระบบลำไส้ที่มีโพรไบโอติกและไฟเบอร์เพื่อรักษาสมดุลของจุลินทรีย์ในระบบลำไส้ นอกจากนั้นอาจจะปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตด้วย ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังการ พักผ่อนให้เพียงพอ เป็นต้น

shop now