หากมีอาการง่วงซึมทั้งวัน ไม่สดชื่น และไม่มีแรงทำงานตลอดเวลา นั่นแปลว่าร่างกายกำลังอ่อนเพลีย ต้องฟื้นฟูใกลับมาแข็งแรง ด้วยการปรับพฤติกรรมการกิน การใช้ชีวิตประจำวัน

อาการอ่อนเพลีย เป็นยังไง?

อ่อนเพลีย เป็นอาการหนึ่งที่บ่งบอกถึงสภาวะร่างกายเหนื่อยล้า6 การขาดพลังงาน หรือแรงในการทำสิ่งต่างๆ ซึ่งพบได้บ่อย และสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย อาจมีสาเหตุมาทั้งจากโรค สุขภาพจิต โดยมีระดับความรุนแรงได้ตั้งแต่ระดับเล็กน้อยไปจนถึงความรุนแรงมากที่สามารถส่งผลกระทบอื่นๆ ได้ หรือในหลายคนก็มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมและการใช้ชีวิต

สาเหตุของอาการอ่อนเพลีย และแนวทางฟื้นฟูร่างกาย

เมื่อเกิดอาการอ่อนเพลีย ควรหาสาเหตุว่าเกิดจากปัจจัยใด เพื่อให้แก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด และทันท่วงทีก่อนที่ความอ่อนเพลียนั้นจะเพิ่มระดับความรุนแรงขึ้น6

1. พฤติกรรมการกินอาหาร

จากงานวิจัยพบว่าอาการอ่อนเพลียมักมาจากการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อร่างกาย1 เพราะแม้จะกินอาหารปริมาณเยอะ แต่อาจขาดสารอาหารที่จำเป็นบางอย่าง ทำให้ร่างกายขาดแหล่งพลังงานที่ต้องใช้ นำไปสู่อาการหิวตลอดเวลา และอ่อนเพลีย ไม่มีแรงไปทำสิ่งต่างๆ เกิดอาการเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ง่วงนอน 

ซึ่งพฤติกรรมการกินนี้สามารถพบได้ทุกวัย โดยเฉพาะในวัยทำงานที่เกิดจากการใช้ชีวิตแบบเร่งรีบเกินไป หรือกลุ่มผู้สูงอายุที่มีความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ต่อมรับรสเปลี่ยนแปลง ทำให้รับรสได้น้อยลง จนเกิดเป็นภาวะเบื่ออาหาร และอาจเกิดจากภาวะทางสุขภาพอื่นๆ ที่ส่งผลให้พฤติกรรมการกินอาหารเปลี่ยนตาม 

ดังนั้น จึงต้องมีการปรับพฤติกรรมการกินอาหาร เช่น การกินอาหารในปริมาณที่เหมาะสม และครบ 5 หมู่ นอกจากนี้ ยังต้องเสริมโปรตีนให้เพียงพอต่อการสร้างพลังงานของร่างกาย สำหรับใครที่มองว่าการกินเนื้อสัตว์เป็นเรื่องยาก การเสริมด้วยโปรตีนพืชก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ที่ไม่ต้องการกินเนื้อสัตว์ ซึ่งในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสำหรับผู้สูงอายุที่มีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง ที่เป็นโปรตีนพืช ซึ่งเป็นโปรตีนทางเลือกอยู่มากมาย


2. การบริโภคคาเฟอีนมากเกินไป

จากงานวิจัยพบว่านักศึกษาที่มีพฤติกรรมการบริโภคคาเฟอีนในปริมาณที่มากเกินไป ทำให้เกิดความอ่อนเพลียในตอนเช้า มากกว่าผู้ที่ไม่ได้ดื่มคาเฟอีน4 เนื่องจากการดื่มคาเฟอีนช่วยกระตุ้นให้ร่างกายตื่นตัว และดึงเอาสารที่ทำให้ร่างกายตื่นตัวนั้นออกมาใช้ เมื่อคาเฟอีนหมดฤทธิ์จะทำให้ร่างกายขาดสารที่กระตุ้นความตื่นตัว ส่งผลให้ร่างกายมีอาการอ่อนเพลีย และเหนื่อยล้าได้ หนทางในการแก้ไขปัญหา คือไม่ควรบริโภคคาเฟอีนติดต่อกันในปริมาณมาก และควรนอนให้เพียงพอแทนการใช้คาเฟอีนกระตุ้นร่างกาย 

3. ดื่มน้ำไม่เพียงพอ

เมื่อร่างกายขาดน้ำ ระบบต่างๆ ในร่างกายจะไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ จึงเกิดอาการอ่อนล้า และนำไปสู่อาการที่รุนแรงขึ้นได้ เช่น การวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นต้น ดังนั้น ควรดื่มน้ำให้เพียงพอต่อการทำงานของร่างกายประมาณ 8-13 แก้วต่อวัน ตามน้ำหนักตัว อายุ และพฤติกรรมการใช้ชีวิต

4. ร่างกายขาดวิตามินบี

การทำงานของร่างกายที่เต็มประสิทธิภาพ จำเป็นที่จะต้องมีวิตามินต่างๆ ในปริมาณที่เพียงพอ โดยเฉพาะวิตามินบี 5 เพราะวิตามินบีมีส่วนช่วยในการบำรุงปลายประสาท ป้องกันไม่ให้เกิดอาการเหน็บชา อีกทั้งยังมีส่วนสำคัญของการกระตุ้นต่อมหมวกไตให้ผลิตฮอร์โมนที่ช่วยลดความเครียด ลดอาการปวดศีรษะหรือไมเกรน เมื่อร่างกายขาดวิตามินบี จะส่งผลให้ร่างกายมีอาการเหนื่อยล้า เพราะขาดวิตามินที่ช่วยต่อต้านความเครียด ดังนั้น ควรกินวิตามินบีให้เพียงพออยู่เสมอ ก็จะช่วยลดโอกาสของการเกิดอาการอ่อนเพลียไปได้ 

5. นอนหลับไม่เพียงพอ

นอนหลับไม่เพียงพอ

หลายคนประสบปัญหาการนอนไม่หลับ หรือการนอนหลับไม่สนิท ซึ่งเป็นการพักผ่อนที่ไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ เป็นสาเหตุของการเกิดอาการเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ง่วงนอนอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งยังส่งผลให้เกิดอาการอื่นๆ เช่น การวิงเวียนศีรษะได้3 หากใครที่กำลังประสบปัญหาการนอนไม่หลับ อาจหาวิธีทำให้นอนหลับสบาย อย่างการออกกำลังกาย เพราะจะช่วยทำให้ร่างกายสามารถนอนหลับได้ดีขึ้น เมื่อร่างกายสามารถหลับลึกได้ ก็จะช่วยให้พักผ่อนอย่างเพียงพอ และมีประสิทธิภาพ 

6. ปัญหาด้านสุขภาพ

อาการอ่อนเพลียที่รุนแรง มักมาจากการที่ร่างกายมีปัญหาสุขภาพอื่นๆ10 เช่น เป็นไข้ ร่างกายเกิดการบาดเจ็บ หรือสภาวะทางจิตที่ไม่มั่นคง จึงต้องแก้ไขจากการรักษาสภาวะสุขภาพเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นที่ร่างกาย หรือสภาวะทางจิตใจ โดยการพบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด

7. ความเครียด

มีงานวิจัยที่เก็บสถิติจากกลุ่มตัวอย่างเพื่อตรวจหาระดับความเครียด พบว่าผู้ที่มีความเครียด หรือสภาวะหมดไฟนั้น จะทำให้เกิดความอ่อนเพลียได้ โดยผู้หญิงมีเปอร์เซ็นต์การเกิดความเครียดได้มากกว่าผู้ชาย และพบว่าสาเหตุของความเครียดนั้นมาจากเรื่องของการทำงานเป็นส่วนใหญ่7 จึงแนะนำให้มีการปรับการทำงานให้สมดุลกับการพักผ่อน หากิจกรรมสำหรับการคลายเครียด หรือการมี Work-Life Balance เพื่อลดอาการอ่อนเพลียของร่างกายที่อาจรุนแรงมากขึ้น ตามปริมาณการทำงานที่ขาดความสมดุลจนเกิดความเครียดสะสม 

อาการอ่อนเพลียแบบไหนที่ควรพบแพทย์

แม้ว่าอาการอ่อนเพลียอาจอยู่ในระดับเล็กน้อย และเกิดขึ้นได้ตลอดเวลากับทุกเพศทุกวัย แต่ก็มีกรณีที่อาการอ่อนเพลียสามารถสะสมอย่างต่อเนื่องจนทวีความรุนแรงเป็นระดับที่รุนแรงมากได้10 และจำเป็นที่จะต้องพบแพทย์เพื่อแก้ไขอาการอ่อนเพลียเหล่านั้น หากมีสัญญาณเหล่านี้อาจเป็นไปได้ว่ากำลังมีอาการอ่อนเพลียรุนแรง6

  • หายใจหอบ หายใจหนัก หรือมีความเหนื่อยเมื่อหายใจ
  • เจ็บหน้าอก
  • วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลม
  • หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ หรือมีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • ปวดท้องรุนแรง ปวดหลังมาก หรือปวดบริเวณเชิงกราน
  • ในบางกรณีอาจพบการอาเจียนเป็นเลือด หรือมีเลือดออกผิดปกติ
  • ปวดศีรษะอย่างรุนแรง

สรุป

อาการอ่อนเพลีย คือสภาวะที่ร่างกายเกิดความเหนื่อยล้า ขาดพลังงาน หรือแรงในการทำสิ่งต่างๆ หลายคนอาจมีอาการหมดไฟ หมดกำลังใจร่วมกับอาการอ่อนเพลีย โดยอาการอ่อนเพลียนั้นเกิดขึ้นได้ทุกเพศ ทุกวัย สามารถเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ เช่น พฤติกรรมการกินอาหาร การมีปัญหาสุขภาพ การขาดวิตามิน โดยเฉพาะการขาดวิตามินบีที่จะช่วยลดความเครียด หรือการพักผ่อนไม่เพียงพอ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม อาการอ่อนเพลียสามารถเกิดขึ้นได้หลายระดับ ตั้งแต่อาการอ่อนเพลียระดับเล็กน้อยที่สามารถแก้ไขได้เองไปจนถึงความรุนแรงมากซึ่งควรไปพบแพทย์ หากมีอาการอ่อนเพลียที่ร่วมกับสัญญาณ เช่น การปวดศีรษะรุนแรง การหายใจหอบถี่ เจ็บหน้าอก หรือการเต้นของหัวใจมีความผิดปกติ ให้ไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษาก่อนที่อาการอ่อนเพลียรุนแรงนี้จะนำไปสู่อาการอื่นๆ ตามมา

ข้อมูลอ้างอิง
Reference
  1. Azzolino, Arosio, Marzetti et al., Nutritional Status as a Mediator of Fatigue and Its Underlying Mechanisms in Older People - PMC (nih.gov). Nih.gov. Published 10 Feb 2020. Retrieved 21 Jan 2023.

  2. Brinkman, Reddy, Sharma et al. Physiology of Sleep - StatPearls - NCBI Bookshelf (nih.gov). Nih.gov. Published 3 Apr 2023. Retrieved 21 Jan 2023.  

  3. Chaput, Dutil and Sampasa-Kanyinga. Sleeping hours: what is the ideal number and how does age impact this? - PMC (nih.gov). Nih.gov. Published 27 Nov 2028. Retrieved 21 Jan 2023.

  4. O’Callaghan, Olav Muurlink and Reid. Effects of caffeine on sleep quality and daytime functioning - PMC (nih.gov). Nig.gov. Published 7 Dec 2018. Retrieved 21 Jan 2023

  5. Phayathai. อ่อนเพลีย เครียดง่าย อาจเพราะร่างกายขาดวิตามิน! | โรงพยาบาลพญาไท (phyathai.com). Phayathai.com. Published 29 Mar 2022. Retrieved 21 Jan 2023.

  6. POBPAD. อ่อนเพลีย - อาการ, สาเหตุ, การรักษา - พบแพทย์ (pobpad.com). Pobpad.com. Published 2022. Retrieved 21 Jan 2023.

  7. Rose, Seidler, Nübling et al. Associations of fatigue to work-related stress, mental and physical health in an employed community sample - PMC (nih.gov) nih.gov. Published 5 May 2017. Retrieved 21 Jan 2023.

  8. Tardy, Pouteau, Marquez et al. Vitamins and Minerals for Energy, Fatigue and Cognition: A Narrative Review of the Biochemical and Clinical Evidence - PMC (nih.gov) nig.gov. Published 16 Jan 2020. Retrieved 21 Jan 2023. 

  9. Taylor and Jones. Adult Dehydration - StatPearls - NCBI Bookshelf (nih.gov). Nih.gov. Published 3 Oct 2022. Retrieved 21 Jan 2023.Zielinski, Systrom and Rose. Fatigue, Sleep, and Autoimmune and Related Disorders - PMC (nih.gov). Nih.gov. Published 6 Aug 2019. Retrieved 21 Jan 2023.

shop now