วิตามินซี (Vitamin C) คืออะไร

วิตามิน (Vitamin) มีรากศัพท์จากคำว่า Vita ที่มีความหมายว่า ชีวิต และ Amin ที่มีความหมายว่า จำเป็น ดังนั้น คำว่า Vitamin จึงหมายถึง สารที่มีความจำเป็นต่อชีวิตนั่นเอง


วิตามินซี หรือ กรดแอสคอร์บิก (Ascorbic Acid) เป็นวิตามินชนิดละลายในน้ำที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพ เนื่องจากร่างกายต้องการวิตามินซีเพื่อนำไปใช้ในกระบวนการต่างๆ เช่น การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อต้านการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย อีกทั้งยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ช่วยลดปริมาณการเกิดอนุมูลอิสระภายในร่างกาย ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีความจำเป็นต่อกระบวนการสร้างคอลลาเจนในชั้นผิวอีกด้วย

รู้หรือไม่?! ร่างกายไม่สามารถสร้างวิตามินซีขึ้นเองได้ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องได้รับวิตามินซีจากอาหารที่กินเข้าไปเท่านั้น

ผักผลไม้เป็นแหล่งวิตามินซีที่สำคัญ โดยเฉพาะ ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น ส้มและมะนาว เบอร์รีชนิดต่างๆ รวมถึงผักบางชนิด เช่น พริกหวาน บรอคโคลี และ มะเขือเทศ เป็นต้น

ผักผลไม้เป็นแหล่งวิตามินซีที่สำคัญ โดยเฉพาะ ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น ส้มและมะนาว เบอร์รีชนิดต่างๆ รวมถึงผักบางชนิด เช่น พริกหวาน บรอคโคลี และ มะเขือเทศ เป็นต้น


ปริมาณวิตามินซี ต่อการบริโภคผักผลไม้ 100 กรัม*

อะเซโรลา เชอร์รี
1677.6 มิลลิกรัม
พริกหวาน
127.7 มิลลิกรัม
บรอคโคลี
89.2 มิลลิกรัม
ส้ม
71 มิลลิกรัม
สตรอว์เบอร์รี
58.8 มิลลิกรัม
เลมอน
53 มิลลิกรัม
เกรปฟรุต
31.2 มิลลิกรัม
มะเขือเทศ
13.7 มิลลิกรัม

ที่มา: USDA National Nutrient Database for Standard Reference

3 ประโยชน์ของวิตามินซีที่ไม่ควรมองข้าม

วิตามินซีช่วยลดความรุนแรงและระยะเวลาการเป็นหวัด (COMMON COLDS)


จากผลงานวิจัยที่ผ่านมาพบว่าการรับประทานวิตามินซีเป็นประจำทุกวัน อย่างน้อยวันละ 200 มิลลิกรัม จะช่วยลดความรุนแรงและระยะเวลาของการเป็นหวัดได้ ในขณะที่ผู้ที่ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาเป็นประจำ จะสามารถลดความเสี่ยงในการเป็นหวัดได้ถึง 50% อย่างไรก็ตาม หากผู้ที่เป็นหวัดแล้วจึงเริ่มรับประทานวิตามินซี จะไม่สามารถลดความรุนแรงหรือระยะเวลาในการเป็นหวัดได้เลย ดังนั้น จึงควรรับประทานวิตามินซีในปริมาณที่เหมาะสมเป็นประจำทุกวัน

นอกจากนี้ วิตามินซียังช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโดยกระตุ้นการสร้างและเสริมประสิทธิภาพการทำงานของเม็ดเลือดขาว จึงช่วยเพิ่มความสามารถในการต้านการอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย อีกทั้งยังสามารถลดการหลั่งสารฮีสตามีน (Histamine) ซึ่งจะช่วยลดน้ำมูก อาการแพ้ บวม แดง และคัน

วิตามินซีช่วยป้องกันโรคเรื้อรัง (CHRONIC DISEASE)

วิตามินซีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง ช่วยปกป้องเซลล์จากการถูกทำลายด้วยอนุมูลอิสระที่เกิดได้จากปัจจัยภายใน เช่น กระบวนการเผาผลาญอาหารให้ได้พลังงาน (Metabolism) ความเครียด และปัจจัยภายนอก เช่น แสงแดด อาหาร ฝุ่นและควัน บุหรี่และแอลกอฮอล์ รวมถึงการออกกำลังกายอีกด้วย หากสารอนุมูลอิสระเหล่านี้เพิ่มสูงขึ้นก็อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายและสร้างความเสียหายต่อส่วนประกอบต่างๆ ของเซลล์ ซึ่งเป็นอีกสาเหตุสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคและความผิดปกติต่าง ๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด อัลไซเมอร์ ต้อกระจก และจอประสาทตาเสื่อม รวมถึงภาวะความแก่ชราอีกด้วย

วิตามินซีช่วยสร้างคอลลาเจน (COLLAGEN)

ผิวหนังของเรามีส่วนประกอบสำคัญที่เรียกว่า คอลลาเจน ที่ค่อยๆ ลดลงเมื่ออายุเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผิวเหี่ยวย่น ไม่เต่งตึง และเกิดริ้วรอย วิตามินซีจึงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในเรื่องสุขภาพผิวและการชะลอวัย เนื่องจากวิตามินซีเป็นส่วนประกอบสำคัญในกระบวนการสร้างคอลลาเจน โดยเฉพาะในชั้นผิวหนังที่เรียกว่า Dermis และ Epidermis ที่จะพบวิตามินซีในเนื้อเยื่อผิวสูง แต่เมื่ออายุมากขึ้นจะพบว่าปริมาณวิตามินซีในเนื้อเยื่อเหล่านี้ลดน้อยลง ยิ่งเมื่อเผชิญกับมลภาวะต่างๆ เช่น แสงแดด ฝุ่น ควันบุหรี่ หรือควันจากท่อไอเสียแล้ว ปริมาณวิตามินซีก็จะยิ่งลดลง

อย่างไรก็ตาม จากงานวิจัยพบว่าปริมาณวิตามินซีที่เรารับประทานเข้าไป จะไปเพิ่มระดับวิตามินซีในชั้นผิวด้วย นอกจากนี้ วิตามินซียังช่วยลดภาวะเนื้อเยื่อผิวถูกทำลายจากรังสียูวีผ่านกระบวนการต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งแตกต่างจากครีมกันแดดทั่วไปที่จะดูดซับรังสียูวีไม่ให้เข้ามาทำลายชั้นผิว และวิตามินซียังมีคุณสมบัติยับยั้งการทำงานของเอนไซม์สร้างเม็ดสี เพื่อลดการสร้างเม็ดสีมากเกินไป จึงสามารถลดรอยดำ ผิวหมองคล้ำ ทำให้ผิวขาวและกระจ่างใสขึ้น

vitaminc_for_healthy_3.jpg

กินวิตามินซีทั้งที ต้องเลือกให้ "พอดี"

เรารู้ดีว่าแหล่งวิตามินซีธรรมชาติมักอยู่ในผลไม้รสเปรี้ยว เช่น มะนาว ส้ม ฝรั่ง มะขาม ดังนั้น หากเรารับประทานผลไม้เหล่านี้ได้ครบและหลากหลายเพียงพอในแต่ละวัน การเสริมวิตามินซีก็อาจไม่จำเป็น แต่สำหรับคนที่รับประทานผลไม้รสเปรี้ยวไม่ได้ อาจจะไม่สะดวกซื้อ หรือไม่ชอบรสชาติก็ตาม รวมทั้งผู้ที่สูบบุหรี่หรือผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ อาจเลือกรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพิ่มเติมเพื่อให้ได้รับวิตามินซีอย่างเพียงพอ

ปริมาณที่เหมาะสมในการรับประทานวิตามินซีในแต่ละครั้งไม่ควรเกิน 500 มิลลิกรัมเพราะร่างกายจะสามารถดูดซึมได้ดี ในทางตรงกันข้าม หากรับประทานวิตามินซี 1,000 มิลลิกรัมภายในครั้งเดียว ร่างกายจะดูดซึมวิตามินซีไปประมาณ 43.5% และขับออกทางปัสสาวะอีก 25% เนื่องจากปริมาณวิตามินซีในเลือดที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว นั่นหมายถึงว่า ร่างกายจะนำไปใช้ได้เพียงประมาณ 25% เท่านั้น และไม่ควรรับประทานมากกว่า 3,000 มิลลิกรัม เพราะจะทำให้ปวดท้อง มวนท้อง และท้องเสียได้ อย่างไรก็ตาม การรับประทานวิตามินซีถือว่าปลอดภัยพอควร เนื่องจากวิตามินซีเป็นวิตามินที่สามารถละลายในน้ำได้ ร่างกายจะขับออกมาทางปัสสาวะตามปกติ

"วิตามินซี" กับการ "ออกฤทธิ์นาน"

คุณอาจเคยได้ยินหรือเคยเห็นฉลากหรือเอกสารกำกับยาที่ระบุว่า “Extended Release, Controlled Release, Sustained Release, Modified Release, Slow Release Technology” ถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่ออกแบบเพื่อประสิทธิภาพ “การออกฤทธิ์” ของยาด้วยการควบคุมให้แตกตัวและดูดซึมในอวัยวะเป้าหมาย หรือค่อยๆ “ปลดปล่อย” ตัวยาออกมาในปริมาณที่สม่ำเสมอเป็นเวลานาน 4 หรือ 8 ชั่วโมง ปัจจุบันยาที่ผสมผสานนวัตกรรมนี้ ได้แก่ ยาระงับปวดชนิด Tramadol ยากันชัก และวิตามินซีชนิดออกฤทธิ์นาน ที่ตอบโจทย์ผู้ที่ขาดวิตามินซีได้เป็นอย่างดี

วิตามินซีชนิดออกฤทธิ์นาน vs ออกฤทธิ์สั้น

  • วิตามินซีชนิดออกฤทธิ์นาน ปลดปล่อยสารสำคัญอย่างช้าๆและคงที่ต่อเนื่องนาน 8 ชั่วโมง
  • วิตามินซีชนิดออกฤทธิ์สั้น จะปลดปล่อยสารสำคัญในครั้งเดียว ทำให้มีระดับวิตามินซีสูงและคงอยู่เพียง 2 ชั่วโมง

ประโยชน์เด่นๆ ของวิตามินซีชนิดออกฤทธิ์นานก็คือ

  • ร่างกายดูดซึมยาได้ดีขึ้น
  • ช่วยลดปัญหาการระคายเคืองกระเพาะอาหารสำหรับผู้ที่มีปัญหาในระบบทางเดินอาหาร
  • ลดความถี่ในการรับประทานลง ทำให้สะดวกมากขึ้น เช่น รับประทานเพียงวันละ 1-2 ครั้ง

อย่างไรก็ตาม ควรรับประทานวิตามินซีในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ควบคู่ไปกับการรับประทานผักและผลไม้ปกติ ซึ่งให้วิตามิน เกลือแร่ และไฟโตนิวเทรียนท์ ที่ร่างกายต้องการ ทั้งนี้ก็เพื่อสุขภาพโดยรวมที่ดีนั่นเอง

รู้หรือไม่ การสูบบุหรี่หนึ่งมวนจะผลาญวิตามินซีในปริมาณเท่ากับส้มเขียวหวานราว 1 ผล!


vitaminc_for_healthy_button.jpg


ข้อมูลอ้างอิง

กรมอนามัย http://www.anamai.moph.go.th

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ http://www.nci.go.th

มูลนิธิหมอชาวบ้าน www.doctor.or.th

shop now