ดวงตาเป็นอวัยวะที่สำคัญ แต่การดูแลสายตากลับถูกมองข้ามมากที่สุด เห็นได้จากการที่หลายๆ คนมักจะตรวจสุขภาพกันทุกปี แต่ละเลยการตรวจสายตา และจะดูแลสุขภาพตาก็ต่อเมื่อเริ่มมีอาการผิดปกติแสดงออกมา ที่แย่ก็คือโรคทางสายตาบางโรคจะไม่แสดงอาการจนกว่าจะอยู่ในขั้นรุนแรง ถึงวันนั้น..อาจจะสายไปสำหรับการรักษา

อย่างไรก็ตาม 80% ของอาการทางสายตาสามารถป้องกันได้จากโภชนาการและการรักษาที่ถูกต้อง เช่น กินอาหารที่อุดมด้วยเบต้าแคโรทีน สารสกัดจากดอกดาวเรืองที่มีลูทีนและซีแซนทีน สารสกัดจากผลมะเขือเทศสดที่มีไลโคปีนสูง เป็นต้น

พฤติกรรมเสี่ยงที่ทำร้ายดวงตา

  • ใช้สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ เป็นเวลานาน
  • อ่านหนังสือหรือใช้สายตาในที่แสงน้อย
  • สัมผัสแสงอาทิตย์และแสงยูวีปริมาณมาก
  • ขับรถตอนกลางคืนเป็นประจำ
  • สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

4 อาการและปัจจัยเสี่ยงทางสายตา

ในขณะที่โลกมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากขึ้น ทำให้เราใช้ดวงตามากขึ้น และยังได้รับแสงจากทั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และรังสียูวีจากดวงอาทิตย์ จึงส่งให้คนในยุคปัจจุบันมีอาการและปัจจัยเสี่ยงทางสายตา 4 ประการดังนี้

  1. Poor Light Adaptation1 หรืออาการตาบอดกลางคืน คืออาการที่ต้องใช้เวลาเพื่อปรับสายตาในที่มืดนานกว่าปกติ ส่วนใหญ่เกิดจากการขาดเบต้าแคโรทีน หรือแคโรทีนอยด์ ที่แปลงเป็นวิตามินเอในร่างกาย2
  2. Slow Visual Focus3 หรืออาการปรับโฟกัสไม่ทัน เป็นอาการที่ดวงตาไม่สามารถสลับโฟกัสระยะใกล้-ไกลได้อย่างเป็นปกติ บางครั้งอาจรู้สึกเหมือนมีม่านดำบังดวงตาเป็นแถบด้านข้าง ซึ่งเกิดจากอายุที่มากขึ้น หรือการต้องปรับสายตาจากสภาพแสงที่ต่างกันบ่อยๆ โดยเฉพาะการทำงานกับจอคอมพิวเตอร์ ที่ต้องปรับสายตาจากหน้าจอสลับกับการก้มมองคีย์บอร์ด ตลอดทั้งวัน รวมไปถึงผู้ที่ใช้เวลาไปกับการขับรถเป็นเวลานานๆ อาจทำให้การโฟกัสภาพต่างระยะเสื่อมลงได้เร็วยิ่งขึ้น
  3. Blurred vision4 หรืออาการตาพร่ามัว มองภาพได้ไม่ชัดเจน จนเกิดภาวะเครียดของดวงตา ตาล้า อันเนื่องมาจากการใช้งานเป็นเวลานาน จากงานวิจัยพบว่า ประชากรผู้ใหญ่มากถึง 70% ที่ทำงานกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ จะมีอาการสายตาพร่ามัว ปวดศีรษะ
  4. Light damage5ตาเสื่อมจากการทำลายของแสง ซึ่งมีทั้งแสงสีน้ำเงินจากรังสียูวีและแสงจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น ผู้ที่อยู่กลางแสงแดดเป็นเวลานาน โดยไม่มีเครื่องป้องกัน และผู้ที่ใช้สายตาอยู่กับจอคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาการตาเสื่อม จากงานวิจัยพบว่า เพียงแค่เราใช้ใช้สายตากับหน้าจอเป็นเวลาถึง 2 ชั่วโมงต่อวันก็ส่งผลให้เกิดอาการตาล้าได้แล้ว
แต่ข้อมูลทางสถิติในปี 2022 ค่าเฉลี่ยของการใช้สายตากับหน้าจอของคนไทยอยู่ที่ 9.06 ชั่วโมงต่อวัน และค่าเฉลี่ยนี้สูงขึ้นในทุกๆ ปี20

สารอาหารเพื่อสุขภาพดวงตา

องค์การอนามัยโลก พบว่า 80% โรคที่เกี่ยวข้องกับดวงตาและการมองเห็น ป้องกันได้ด้วยโภชนาการและการรักษาที่ถูกต้อง เราจึงควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อดวงตาดังนี้

ลูทีนและซีแซนทีน6ตัวช่วยปกป้องดวงตาจากแสงสีฟ้า Blue Light Filtering

สารสกัดจากดอกดาวเรือง ให้สารสำคัญคือ ลูทีน (Lutein) และซีแซนทีน (Zeaxanthin) ทำหน้าที่กรองพลังงานแสงอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์และแสงบลูไลต์ (แสงสีฟ้า) จากหน้าจอดิจิตอล7ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็นและสุขภาพดวงตาที่ดีขึ้น8 ปกป้องดวงตาในระยะยาว

  • ช่วยให้มองภาพได้คมชัดและเห็นรายละเอียดของภาพดีขึ้น9
  • ช่วยกรองแสงสีน้ำเงินจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และแสงยูวีในแสงแดดที่สร้างความเสียหายต่อดวงตา
  • ชะลอการเกิดต้อกระจกซึ่งเป็นภาวะเลนส์ตาขุ่นมัวอันเนื่องจากความเสื่อมของเลนส์ตา10
  • เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ปกป้องดวงตาโดยการดูดซึมแสงสีน้ำเงินและแสงสีเหนือม่วงหรืออุลตร้าไวโอเล็ตจากรังสีดวงอาทิตย์ที่เป็นอันตรายต่อดวงตามนุษย์
  • ปกป้องดวงตาจากปัจจัยที่อาจทำลายจอประสาทตา เช่น การสูบบุหรี่ มลพิษ และความเครียด เป็นต้น11
  • งานวิจัยทางคลินิกของ Bone และคณะ แห่งมหาวิทยาลัยนานาชาติฟลอริด้า (Florida International University) ตีพิมพ์ใน Journal of Nutrition ปี 2003 ในชายและหญิงจำนวน 21 คน แสดงให้เห็นถึงการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ประกอบด้วยลูทีนขนาด 2.4 – 30 มก./วัน เป็นเวลา 6 เดือน สามารถเพิ่มระดับลูทีนทั้งภายในเลือดและบริเวณจุดรับภาพของจอประสาทตาได้เฉลี่ย 128% และ 10% ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญ11

ไลโคปีน ตัวช่วยการปรับระยะโฟกัส ใกล้-ไกล Visual Focus12

สารสกัดจากผิวมะเขือเทศอุดมไปด้วยหนึ่งในไฟโตนิวเทรียนท์ที่ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ คือ ไลโคปีน (Lycopene) เป็นสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ที่จะสะสมอยู่ด้านหน้าของดวงตาในกล้ามเนื้อปรับเลนส์ ช่วยควบคุมการปรับโฟกัสในระยะใกล้-ไกลให้เป็นปกติ

  • เป็นสารต้านอนุมูลอิสระในช่วงเวลาที่ดวงตาอ่อนล้าชั่วขณะ13
  • ช่วยเสริมประสิทธิภาพการยืด-งอเลนส์ของดวงตา
  • ป้องกันโรคเกี่ยวกับดวงตา ได้แก่ โรคต้อกระจก โรคเยื่อบุตาอักเสบ
  • ลดความเสื่อมในเซลล์ลูกตา
  • ช่วยบำรุงสายตาให้มองเห็นในที่มืดได้ดีขึ้น

เบต้าแคโรทีน (วิตามิน A) ตัวช่วยการปรับตาในที่แสงน้อย Light Adaptation14

เป็นสารอาหารในกลุ่มแคโรทีนอยด์ที่ร่างกายสามารถแปลงเป็นวิตามินเอได้ อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง มีไฟโตนิวเทรียนท์จำนวนมาก แต่สารสำคัญที่มีประโยชน์คือ กลุ่มแอนโธไซยาโนไซด์ (Anthocyanosides)

  • ป้องกันอาการตาบอดในเวลากลางคืนเพิ่มสมรรถภาพการมองเห็นในที่มืด
  • ช่วยลดระยะเวลาในการปรับแสงจากสว่างไปสู่ที่มืดหรือที่มีแสงสลัวได้เร็วขึ้น เช่น แสงวาบหรือหลอดไฟแฟลช
  • บำรุงดวงตา เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเอนไซม์ภายในจอประสาทตา ทำให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น
  • ลดความเสี่ยงของอาการตามัว ตาพร่า ตาล้า สำหรับผู้ที่ต้องเผชิญกับแสงสว่างจ้ามากๆ หรือแสงแฟลชเป็นประจำ
  • ป้องกันความเสี่ยงจากโรคเกี่ยวกับดวงตาเนื่องมาจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น เช่น โรคต้อกระจก, โรคจอประสาทตาเสื่อมซึ่งอาจมีผลทำให้ตาบอดได้15

สังกะสี (Zinc) ตัวช่วยการมองเห็นที่คมชัด Clear Sharp Vision16

สังกะสี เป็นหนึ่งในแร่ธาตุสำคัญที่สนับสนุนสุขภาพดวงตา อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ และเป็นส่วนประกอบที่ช่วยในการมองเห็นภาพ การขาดแร่ธาตุสังกะสีจึงอาจนำไปสู่อาการตาบอดกลางคืนได้17

  • ป้องกันอาการตาบอดกลางคืนเพราะสังกะสี เป็นส่วนประกอบสำคัญในดวงตา จำเป็นสำหรับการปรับสายตาให้มองเห็นภาพได้ชัดเจนแม้ขณะแสงน้อย
  • ผลลัพธ์จากงานวิจัยแสดงว่า การให้อาหารเสริมสังกะสีในผู้สูงอายุที่มีภาวะจอประสาทตาเสื่อมระยะเริ่มต้น ช่วยชะลออัตราความเสื่อม และคงการมองเห็นที่คมชัดไว้ได้มากกว่ากลุ่มผู้ที่ได้รับยาหลอก18
  • ลดโอกาสการเกิดอาการจอประสาทตาเสื่อม ซึ่งทำให้การมองเห็นภาพที่จุดกลางได้ไม่คมชัด เห็นสีผิดเพี้ยน มีจุดดำกลางภาพ อาการตาแพ้แสง ฯลฯ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ เนื่องจากสังกะสีเป็นส่วนประกอบสำคัญในการเปลี่ยนแปลงวิตามินเอให้เป็นเรตินอล (Retinal) ซึ่งอาจเสื่อมได้เมื่อมีอายุมากขึ้น19

สรุป

ดวงตา เป็นอวัยวะที่หลายคนมองข้าม และมักตรวจพบปัญหาเมื่อเกิดอาการผิดปกติ แม้ว่าจะมีงายวิจัยชี้ว่า ดวงตาต้องเผชิญกับแสงบลูไลท์ที่ทำลายเซลล์รับภาพเป็นเวลานานกว่า 9 ชั่วโมงต่อวัน ดังนั้น การทานสารอาหารที่ช่วยบำรุงดวงตาอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคน

ข้อมูลอ้างอิง

1. 1.1 Snell RS, Lemp MA. Clinical Anatomy of the Eye, Second Edition. London: Blackwell Science Ltd, 1998 Online ISBN: 9781118690987.

1.2 WHO. Visual impairment and blindness. Fact Sheet N°282 updated August 2014. http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs282/en/ Retrieved on 31 Jan 2023.

2. WHO. Global prevalence of night blindness and number of individuals affected in populations of countries at risk of vitamin A deficiency https://www.who.int/data/nutrition/nlis/info/vitamin-a-deficiency Retrieved 31 Jan 2023

3. New York Department of Health. https://www.health.ny.gov/statistics/brfss/reports/docs/vision_brfss_volume_14_number_1.pdf Retrieved 31 Jan 2023

4. Georgia Newsday. Nearly 70 percent of adults suffer from blurred vision, back pain and headaches caused by staring at their computer screens. 01092014. http://www.georgianewsday.com/news/regional/204883-nearly-70-percent-of-adults-suffer-from-blurred-vision-back-pain-and-headaches-caused-by-staring-at-their-computer-screens.html . Retrieved 31 Jan 2023

5. American Academy of Opthalmology. Eye Health Statistics. http://www.aao.org/newsroom/eye-health-statistics. Retrieved 10 Jan 2016.

Smeriglio A, Monteleone D, Trombetta D. Health effects of Vaccinium myrtillus L.: evaluation of efficacy and technological strategies for preservation of active ingredients. Mini Rev Med Chem. 2014;14(7):567-84.

6. Kruger CL, Murphy M, DeFreitas Z, Pfannkuch F, Heimbach J. An innovative approach to the determination of safety for a dietary ingredient derived from a new source: case study using a crystalline lutein product. Food Chem Toxicol. 2002; 40(11): 1535-49.

7. Joan E. Roberts * and Jessica Dennison. The Photobiology of Lutein and Zeaxanthin in the Eye. Articles Published online 2015 Dec 20. doi: 10.1155/2015/687173. Retrieved on 3 Feb 2023 .

8. Bernstein PS, Li B, Vachali PP, Gorusupudi A, Shyam R, Henriksen BS, Nolan JM. Lutein, zeaxanthin, and meso-zeaxanthin: The basic and clinical science underlying carotenoid-based nutritional interventions against ocular disease. Prog Retin Eye Res 2015; Nov 2. pii: S1350-9462.

9. Manayi A, Abdollahi M, Raman T, Nabavi SF, Habtemariam S, Daglia M, Nabavi SM. Lutein and cataract: from bench to bedside. Crit Rev Biotechnol. 2015; 8: 1-11.

10. Wu J, Cho E, Willett WC, Sastry SM, Schaumberg DA. Intakes of Lutein, Zeaxanthin, and Other Carotenoids and Age-Related Macular Degeneration During 2 Decades of Prospective Follow-up. JAMA Ophthalmol. 2015; 133: 1415-24.

11. Richard A Bone 1, John T Landrum, Luis H Guerra, Camilo A Ruiz. Lutein and zeaxanthin dietary supplements raise macular pigment density and serum concentrations of these carotenoids in humans. The Journal of nutrition 2003 Apr;133(4):992-8. doi: 10.1093/jn/133.4.992. Retrieved on 3 Feb 2023.

12. Alina Petre, MS, RD (NL). Lycopene: Health Benefits and Top Food Sources. Healthline. Last updated on October 3, 2018. Retrieved on 3 Feb 2023

13. Evans JR, Lawrenson JG. Antioxidant vitamin and mineral supplements for slowing the progression of age-related macular degeneration. Cochrane Database Syst Rev. 2012; 11: CD000254.

14. Natalie Olsen, R.D., L.D., ACSM EP-C with Medically reviewed by Jillian Kubala, MS, RD. Benefits of Beta Carotene and How to Get It. Nutrition. Last updated on Aug 13, 2020. Retrieved on 3 Feb 2023.

15. Widomska J, Subczynski WK.Why has Nature Chosen Lutein and Zeaxanthin to Protect the Retina? J Clin Exp Ophthalmol. 2014; 5: 326.

16. Atli Arnarson BSc, PhD. 8 Nutrients That Will Optimize Your Eye Health. Healthline. Last updated on Feb 15, 2019. Retrieved on 3 Feb 2023.

17. Lawrenson JG, Grzybowski A. Controversies in the Use of Nutritional Supplements in Ophthalmology. Curr Pharm Des. 2015; 21(32): 4667-72.

18. Hobbs RP, Bernstein PS.Nutrient Supplementation for Age-related Macular Degeneration, Cataract, and Dry Eye. J Ophthalmic Vis Res. 2014; 9(4): 487-93.

19. Janusz Blasiak, Elzbieta Pawlowska, Jan Chojnacki, Joanna Szczepanska, Cezary Chojnacki and Kai Kaarniranta. Zinc and Autophagy in Age-Related Macular Degeneration. International Journal of Molecular Sciences 2020 Jul; 21(14): 4994. Published online 2020 Jul 15. doi: 10.3390/ijms21144994. Retrieved on 3 Feb 2023.

20. REBECCA MOODY - HEAD OF DATA RESEARCH, Screen Time Statistics: Average Screen Time in US vs. the rest of the world. Comparitech, UPDATED: March 21, 2022, Retrieved 8 Feb 2023.

shop now