การกินอาหารที่ไม่ได้สัดส่วนตามหลักโภชนาการ เป็นสาเหตุหลักของแนวโน้มที่จะเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆมากมายโดยเฉพาะโรคหัวใจซึ่งมีสถิติจำนวนผู้ป่วยมากเป็นอันดับต้นๆ อันมีสาเหตุจากการกินอาหารที่มีไขมันเป็นจำนวนมาก เช่น เนื้อสัตว์ที่มีไขมันแทรกอยู่มาก หรืออาหารจำพวกผัดและทอดต่างๆ เป็นต้น ประกอบกับการดำเนินชีวิตประจำวันที่เร่งรีบ รวมทั้งความเครียดจากการทำงานและภาวะเศรษฐกิจบีบรัด   ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุก่อให้เกิดอนุมูลอิสระในร่างกายอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แต่ไขมันยังคงเป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย  ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยควบคุมระดับโคเลสเตอรอลและช่วยในการเผาผลาญไขมันจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะให้ร่างกายได้รับไขมันอย่างเพียงพอโดยที่ไม่ก่อให้เกิดความอ้วน โรคหัวใจ หรือโรคภัยอื่นๆ ตามมา

“เลซิติน” คืออะไร

เลซิตินมีลักษณะเป็นสารอิมัลซิไฟเออร์ (Emulsifier) ที่ทำให้น้ำและน้ำมันละลายเข้ากันได้ จึงทำให้ไขมันแขวนลอยในน้ำได้ดีขึ้น นอกจากนี้ เลซิตินยังเป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์ของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย และมักพบโมเลกุลของวิตามินบีรวมอยู่ด้วย เช่น โคลีน (Choline) อิโนซิทอล (Inosital) รวมถึงกรดอะมิโนบางชนิด ทำให้เลเซตินมีคุณค่าทางโภชนาการจากสารอาหารอื่นๆ ที่ประกอบอยู่นั่นเอง

แหล่งกำเนิดของเลซิตินมี 2 แหล่ง คือ

  • แหล่งธรรมชาติ พบได้ทั้งในพืชและสัตว์ โดยจะพบมากในไข่แดง สมอง หัวใจ ถั่วเหลือง เมล็ดทานตะวัน ถั่วลิสง จมูกข้าวสาลี เป็นต้น ส่วนใหญ่อาหารเหล่านี้มักจะให้โคเลสเตอรอลสูงด้วย
  • ร่างกายมนุษย์ สามารถผลิตเลซิตินขึ้นได้เองโดย “ตับ” สารตั้งต้นที่ร่างกายใช้ผลิตเลซิติน เช่น กรดไขมันจำเป็น วิตามินบี และสารอาหารสำคัญอื่นๆ หากร่างกายได้รับสารอาหารต่างๆ เหล่านี้ไม่เพียงพอจะส่งผลให้ร่างกายสร้างเลซิตินได้ไม่เพียงพอ ซึ่งมีโอกาสเกิดโรคภัยต่างๆ ตามมาได้ เช่น โรคเส้นเลือดหัวใจแข็งตัว โรคนิ่วในถุงน้ำดี เป็นต้น

คุณประโยชน์ของเลซิตินต่อสุขภาพด้านต่างๆ

เลซิตินกับการลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด

เนื่องจากการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดนั้นมาจากปัจจัยเสี่ยงของการมีระดับโคเลสเตอรอลและไตรกรีเซอไรด์ในกระแสเลือดสูง บทบาทของเลซิตินที่มีต่อการลดอัตราความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดจึงอยู่ที่กลไกที่มีผลต่อโคเลสเตอรอล ดังนี้

  • ลดการดูดซึมของโคเลสเตอรอลในทางเดินอาหาร
  • เพิ่มการสร้างน้ำดีจากโคเลสเตอรอล เลซิตินจะมีผลต่อการดูดกลับน้ำดีในทางเดินอาหารให้ลดลง จึงส่งผลให้ร่างกายเร่งการสร้างน้ำดีโดยดึงโคเลสเตอรอลในเลือดมาใช้เพิ่มขึ้น ผลก็คือการขนส่งโคเลสเตอรอลจากเลือดไปสู่ตับเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ เลซิตินยังส่งผลต่อไตรกลีเซอไรด์ในกระบวนการเร่งการสลายอีกด้วย
  • การขนส่งโคเลสเตอรอลในเลือดสะดวกขึ้น ทำให้ลดความเสี่ยงของโคเลสเตอรอลที่จะเกาะตามผนังหลอดเลือดได้

เลซิตินกับการลดความเสี่ยงของนิ่วในถุงน้ำดี

ในถุงน้ำดีจะมีน้ำดีอยู่ น้ำดีจำเป็นต่อการย่อยไขมันและนำสารอาหารที่สำคัญเข้าไปสู่กระแสเลือด น้ำดีประกอบด้วยส่วนประกอบสำคัญ 3 ส่วนคือ กรดน้ำดี เลซิติน และโคเลสเตอรอล เลซิตินในน้ำดีจะทำหน้าที่ช่วยเผาผลาญไขมันและควบคุมโคเลสเตอรอล โดยจะละลายไขมันให้แตกตัวเพื่อให้ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้ น้ำดีจะต้องอาศัยเลซิตินช่วยทำให้โคเลสเตอรอลไม่ตกตะกอนในเลือด หากปริมาณเลซิตินกับโคเลสเตอรอลไม่สัมพันธ์กันก็จะทำให้เกิดการก่อตัวและตกตะกอนของโคเลสเตอรอลในถุงน้ำดีจนทำให้เกิดเป็นนิ่วในถุงน้ำดีได้

เลซิตินกับสมอง

องค์ประกอบของเยื่อบุผิวของเซลล์สมองและประสาท รวมทั้งสารสื่อนำกระแสประสาท (neurotransmitter)  ชื่อ “อะเซติลโคลีน” ล้วนแล้วแต่มีเลซิตินเป็นองค์ประกอบทั้งสิ้น โดยเฉพาะสารโคลีนในเลซิตินจัดเป็นส่วนประกอบของสารสื่อนำกระแสประสาท ซึ่งทำให้เกิดการถ่ายทอดความรู้สึกหรือข้อความต่างๆ ผ่านเข้าไปในระบบประสาท โดยอาศัยการเชื่อมกันระหว่างเซลล์ประสาทแต่ละเซลล์ หรือจากเซลล์ประสาทสู่กล้ามเนื้อ ทำให้เกิดการถ่ายทอดด้านอารมณ์ ความจำ ความรู้สึก การพูด การเคลื่อนไหว นอกจากนี้ เลซิตินยังอาจทำให้มีการเรียนรู้ดีขึ้นและมีความจำที่ดีรวมทั้งเป็นแหล่งพลังงานสำหรับผู้ที่มีความเครียดสูง เนื่องจากสามารถเข้าสู่สมองได้โดยตรงทางกระแสเลือด ทำให้เกิดการดึงเอาเลซิตินไปใช้ในขณะที่มีความเครียดสูงได้ทันที  ดังนั้น เลซิตินจึงเหมาะมากสำหรับผู้ที่มีความเครียดสูง

คุณประโยชน์ของวิตามินอี

  • เป็นสารต้านการเกิดอนุมูลอิสระหรือสารแอนติออกซิแดนท์ ช่วยป้องกันเซลล์หรือเนื้อเยื่อในร่างกาย ไม่ให้ถูกอนุมูลอิสระทำลาย จึงช่วยชะลอความร่วงโรยของผิวพรรณ และช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง ต้อกระจก โรคหัวใจ เป็นต้น
  • ทำให้หลอดเลือดยืดหยุ่นได้ดีขึ้น ส่งผลให้เลือดไหลเวียนทั่วร่างกายได้ดีขึ้น ช่วยไม่ให้เลือดแข็งตัวและลดการเกิดลิ่มเลือด
  • วิตามินอีมีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์ โดยอาจลดโอกาสของการเป็นหมัน
ข้อมูลอ้างอิง
  1. ดร.วินัย ดะห์ลัน.  น้ำมันและลิพิดที่ใช้ลดไขมันในเลือด.  2535
  2. รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน และคณะ.  เรื่องต้องรู้ด้านโภชนาการ  ผลิตภัณฑ์และกฎหมาย  สำหรับนักธุรกิจอิสระ ด้านผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร.  2544
  3. Paul Simons.  “Lecithin the Cholesterol Controller” แปลโดย เกษมศรี  วงศ์เลิศวิทย์  “เลซิทินสารมหัศจรรย์และละลายไขมัน.”.  2532
click