เห็ดหลินจือ คือ สมุนไพรจีนชนิดหนึ่งที่ใช้เป็นยารักษาโรคโดยแพทย์แผนจีนมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะกับประวัติศาสตร์ของจีนที่มีการบันทึกสรรพคุณเห็ดหลินจือมากกว่า 2,000 ปี โดยเห็ดหลินจือมีสารสำคัญอย่างสารกลุ่มไทรเทอร์พีนอยด์ (Triterpenoid) และสารกลุ่มพอลิแซ็กคาไรด์ (Polysaccharide) จึงมีส่วนช่วยในเรื่องภูมิคุ้มกัน อีกทั้งยังไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย จึงทำให้กินเพื่อเสริมคุ้มกันของร่างกายในระยะยาวได้

ด้วยเหตุนี้ จึงมีการใช้เห็ดหลินจืออย่างแพร่หลาย จนกลายเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญอย่างหนึ่งของประเทศจีนไปยังประเทศต่างๆ ด้วย อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากเห็ดหลินจือแบบเต็มประสิทธิภาพ และกินได้อย่างต่อเนื่องเพื่อเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย จึงควรศึกษาสรรพคุณ และวิธีการกินที่ถูกต้องด้วย

สารอาหารสำคัญในเห็ดหลินจือ

เห็ดหลินจือมีสารที่สำคัญที่มีสรรพคุณทางยาอยู่หลายตัว ซึ่งสารสำคัญในเห็ดหลินจือ คือ ไตรเทอร์พีนอยด์ (Triterpenoid) พอลีแซ็กคาไรด์ (Polysaccharide) เจอร์เมเนียม (Germanium) และนิวคลีโอไทด์(Nucleotide) ซึ่งสารเหล่านี้ สามารถช่วยต้านอนุมูลอิสระ ต้านการเกิดเนื้องอก และการอักเสบ เสริมภูมิคุ้มกัน ช่วยป้องกันการกลายพันธุ์ของยีน และต้านไวรัส

ไตรเทอร์พีนอยด์ (Triterpenoid)

ไตรเทอร์พีนอยด์ (Triterpenoid) เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนชนิดหนึ่ง1 เป็นสารที่มีคุณสมบัติทางเคมีและเภสัชวิทยา เมื่อเห็ดหลินจือมีสารไตรเทอร์พีนอยด์เป็นส่วนประกอบหลัก จึงทำให้เห็ดหลินจือมีสรรพคุณช่วยต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งการเกิดเนื้องอก ต้านการอักเสบ เช่น ตับอักเสบ ต้านมาลาเรีย ต้านจุลินทรีย์ และช่วยยับยั้งเชื้อ HIV2

พอลีแซ็กคาไรด์ (Polysaccharide)

พอลีแซ็กคาไรด์ (Polysaccharide) คือ สารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่เกิดจากน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวมาเรียงต่อกัน โดยโพลีแซคคาไรด์ในเห็ดหลินจือมีสรรพคุณ คือ ช่วยยับยั้งการก่อมะเร็ง  มีสารต้านอนุมูลอิสระและต้านจุลินทรีย์ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยไม่ให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ต้านการอักเสบ และช่วยป้องกันผนังกั้นเยื่อเมือกในลำไส้2

เจอร์เมเนียม (Germanium)

เจอร์เมเนียม (Germanium) เป็นธาตุที่ก้ำกึ่งระหว่างโลหะ และอโลหะ มีประโยชน์ด้านการแพทย์ คือ การต้านสารพิษจากโลหะหนัก โดยเจอร์เมเนียมในเห็ดหลินจือช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน มีสารต้านอนุมูลอิสระ และสารต้านมะเร็งได้4

นิวคลีโอไทด์ (Nucleotide)

นิวคลีโอไทด์ (Nucleotide) คือ โครงสร้างพื้นฐานของกรดนิวคลีอิก และเป็นโมเลกุลกลุ่มย่อยที่ประกอบเป็น DNA และ RNA จึงทำให้เห็ดหลินจือสามารถต้านไวรัส ช่วยบำรุงตับ กระตุ้นภูมิคุ้มกัน และมีส่วนช่วยในการลดคอเรสเตอรอลได้2

สรรพคุณของเห็ดหลินจือ 

สรรพคุณของเห็ดหลินจือ 

เนื่องจากเห็ดหลินจือมีสารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายอย่าง เห็ดหลินจือจึงได้รับความนิยมนำมาเป็นยาบำรุงร่างกายในด้านต่างๆ อย่างแพร่หลาย ทั้งในเรื่องการเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง ช่วยต้านไวรัส จัดการไขมันต่างๆ ในร่างกาย และช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระได้ดี ไปดูกันว่าเห็ดหลินจือมีสรรพคุณอะไรอีกบ้าง

เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย

เห็ดหลินจือมีสารไตรเทอร์พีนอยด์ และนิวคลีโอไทด์ที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายได้ นอกจากนี้ ยังมีการวิจัย2พบว่า เห็ดหลินจือมีการทำงานกับเม็ดเลือดขาวในร่างกายจึงช่วยให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายนั้นพร้อมต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอมด้วย

ลดโอกาสการเกิดมะเร็ง

จากผลการวิจัยพบว่า เห็ดหลินจือ สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านมชนิด MDA-MB-231 ด้วยการปรับสัญญาณ Akt/NF-kappaB และอาจมีประสิทธิภาพในการรักษามะเร็งเต้านมได้9

ช่วยดูแลหัวใจ และระบบไหลเวียนเลือด2

เห็ดหลินจือมีนิวคลีโอไทด์ที่มีคุณสมบัติสลายลิ่มเลือด จึงมีสรรพคุณในการช่วยให้ระบบไหลเวียนของเลือดทำงานได้อย่างเป็นปกติ ให้หลอดเลือดขยายและเลือดไปเลี้ยงหัวใจได้สะดวก จึงมีผลช่วยให้บำรุงหัวใจและหลอดเลือด นอกจากนี้ ยังช่วยบำรุงการสร้างเม็ดเลือดแดงได้อีกด้วย

บรรเทาภาวะซึมเศร้า

เนื่องจากเห็ดหลินจือมีส่วนช่วยในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และยังมีสารพอลีแซ็กคาไรด์ที่ช่วยป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ จึงมีฤทธิ์บรรเทาอาการเหนื่อยล้า ปวดศีรษะ หรือวิงเวียนง่าย จากการวิจัยพบว่าเห็ดหลินจือมีส่วนช่วยให้ผู้ที่มีภาวะอ่อนเพลีย (Neurasthenia)11 มีอาการที่ดีขึ้นได้ จึงอาจส่งผลต่อผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าได้ด้วย12

ลดการสะสมของไขมันในร่างกาย

จากงานวิจัยพบว่า เห็ดหลินจือ มีสารไตรเทอร์พีนอยด์ โดยมีกรดกาโนเดอริค (Ganoderic Acid) ซึ่งมีสรรพคุณในการเพิ่มออกซิเจนในระดับเซลล์และบำรุงตับ ช่วยป้องกันไขมันพอกตับ (Fatty Liver) อีกทั้งไตรเทอร์พีนอยด์บางชนิดยังมีส่วนช่วยลดไขมันในเลือด ป้องกันการอุดตันของไขมันในหลอดเลือด ยับยั้งการสังเคราะห์ไขมันคอเลสเตอรอล ทำให้เลือดไหลเวียนดี เนื่องจากไม่มีไขมันเกาะตามผนังหลอดเลือด10

ต่อต้านอนุมูลอิสระ

เห็ดหลินจืออุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ การกินเห็ดหลินจือจึงมีผลต่อการบำรุงผิวพรรณชะลอความแก่ได้ และช่วยให้การทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

วิธีการกินเห็ดหลินจือ 

วิธีการกินเห็ดหลินจือ 

เห็ดหลินจือสามารถบริโภคได้หลายวิธี อาจนำมาต้มเป็นชาตามแบบโบราณ หรือนำเห็ดหลินจือมาบดเป็นผงใส่แคปซูล หรืออาจสกัดเห็ดหลินจือผสมกับส่วนผสมอื่นที่มีฤทธิ์เสริมกันในรูปแบบเม็ดเพื่อเพิ่มความสะดวก อย่างไรก็ตาม วิธีกินเห็ดหลินจือที่ต่างกันก็ทำให้สารอาหารที่ร่างกายจะได้รับต่างกันไปด้วย 

ต้มดื่ม

การกินเห็ดหลินจือด้วยวิธีการต้ม เป็นวิธีแบบดั้งเดิมที่ได้รับความนิยมมาก โดยนำเห็ดหลินจือมาตากแห้ง หรือฝานเป็นแว่น แล้วบดให้เป็นชิ้นเล็กๆ ก่อนต้มดื่มเป็นชา หรือนำไปดองเป็นยา แต่วิธีนี้มีข้อเสียในเรื่องของรสชาติที่จะมีความเฝื่อน ขม และกินยาก หลายตำราจึงแนะนำให้ผสมน้ำผึ้งเพื่อช่วยเรื่องรสชาติ 

การต้มเห็ดหลินจือต้องระวังการปนเปื้อน และควรทำให้เป็นชิ้นเล็กที่สุด เพราะเห็ดหลินจือมีความแข็งเหนียวเหมือนเปลือกไม้ แต่ถือเป็นวิธีการที่ช่วยรักษาสารอาหารของเห็ดหลินจือได้ดี เพราะผ่านการแปรรูปน้อยที่สุด อย่างไรก็ดี วิธีนี้ อาจควบคุมปริมาณสารอาหารได้ค่อนข้างยากเช่นกัน

บดเป็นผงใส่แคปซูล

การกินเห็ดหลินจือด้วยวิธีการบดเป็นผงใส่แคปซูล ถือเป็นวิธีที่เพิ่มความสะดวกสบายในการกินเห็ดหลินจือได้มาก แต่อาจทำให้ร่างกายดูดซึมได้ยาก จึงรับประโยชน์จากเห็ดหลินจือไม่เต็มที่ อีกทั้งหากไม่ได้มีการควบคุมคุณภาพของผงเห็ดหลินจือให้ดี อาจทำให้ขึ้นรา หรือมีสารปนเปื้อนได้

สกัดเป็นรูปแบบเม็ด

เห็ดหลินจือสามารถสกัดเป็นรูปแบบเม็ดได้ โดยนักวิจัยจะเลือกสารอาหารที่ต้องการจากเห็ดหลินจือมาโดยตรง และคิดค้นสัดส่วนกับส่วนผสมอื่นๆ ที่ช่วยเสริมสรรพคุณ ประกอบกับเทคโนโลยีในการผลิต ควบคุมการปนเปื้อน และทำให้สารสกัดต่างๆ คงประสิทธิภาพในบรรจุภัณฑ์ได้ยาวนาน ทั้งยังยืดอายุการดูดซึมหลังรับประทานได้แบบคงที่ตลอดวัน (Extended Release) 

สารสกัดเห็ดหลินจือในรูปแบบสกัดเป็นเม็ดจึงกินง่าย ร่างกายดูดซึมได้ดีและมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม การดูดซึมสารอาหารให้ได้ผลประโยชน์จากเห็ดหลินจือสูงสุดควรกินควบคู่กับเอลเดอร์เบอร์รี และซีบัคธอร์น เพื่อช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมสารอาหารได้อย่างเต็มที่ และได้รับคุณค่าทางสารอาหารที่เพียงพอ

ปริมาณที่เหมาะสมในกินเห็ดหลินจือ

ปริมาณที่เหมาะสมในกินเห็ดหลินจือ

เห็ดหลินจือแบบต้ม ควรใช้เห็ดหลินจือแห้งปริมาณ 4-15 กรัม ต่อวัน และดื่มเมื่อท้องว่างเพื่อประสิทธิภาพในการบำรุงร่างกาย

เห็ดหลินจือแบบผงใส่แคปซูล การเห็ดหลินจือแบบแคปซูล แนะนำว่าควรกินตามปริมาณเฉลี่ยวันละ 4-6 กรัม ต่อวัน หรือกินตามคำแนะนำของฉลากยา

เห็ดหลินจือแบบสกัดใส่แคปซูล มีปริมาณในการกินที่น้อย และง่ายมากที่สุด คือ สามารถกินได้เลยเพียง 2 แคปซูล ต่อวัน

ควรกินเห็ดหลินจือตอนไหน

ควรกินเห็ดหลินจือตอนไหน

ในการกินเห็ดหลินจือนั้นจะต้องเลือกช่วงเวลาที่ร่างกายสามารถดูดซึมสารอาหารได้ดี เพื่อให้ได้รับคุณค่าจากเห็ดหลินจืออย่างเต็มที่ ดังนั้น จึงควรกินเห็ดหลินจือพร้อมมื้ออาหารจะดีที่สุด

สรุป

เห็ดหลินจือมีคุณค่าทางสารอาหาร และได้รับความนิยมในการเป็นยารักษาโรคอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะประเทศจีน เห็ดหลินจือมีส่วนประกอบของสารอย่างไตรเทอร์พีนอยด์ โพลีแซคคาไรด์ เจอร์เมเนียม และนิวคลีโอไทด์ ซึ่งมีสรรพคุณช่วยต้านอนุมูลอิสระ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ต้านไวรัส และช่วยลดคอเรสเตอรอล

ด้วยสรรพคุณเหล่านี้ เห็ดหลินจือจึงกลายเป็นราชาแห่งสมุนไพรในการแพทย์แผนตะวันออก แต่หากต้องการบริโภคเห็ดหลินจือให้ได้รับประโยชน์เต็มที่ ควรกินเห็ดหลินจือควบคู่กับเอลเดอร์เบอร์รี่ และซีบัคธอร์น เป็นประจำ เพื่อช่วยเสริมประสิทธิภาพในการป้องกันโอกาสเกิดโรคต่างๆ ได้ในระยะยาว

ข้อมูลอ้างอิง

  1. A. Ludwiczuk. Triterpenoid. Sciencedirect.com Published 2017. Retrieved 26 May 2023.

  2. Elif Ekiz, Emel Oz, A. M. Abd El-Aty,Charalampos Proestos, Charles Brennan, Maomao Zeng, Igor Tomasevic, Tahra Elobeid, Kenan Çadırcı, Muharrem Bayrak, and Fatih Oz. Exploring the Potential Medicinal Benefits of Ganoderma lucidum: From Metabolic Disorders to Coronavirus Infections. Published 3 April 2023. Retrieved 26 May 2023.

  3. Ploylada Prommate. เจอร์เมเนียม (Germanium). Hellokhunmor.com. Published 12 May 2020. Retrieved 26 May 2023.

  4. Sissi Wachtel-Galor, John Yuen, John A. Buswell, and Iris F. F. Benzie. Herbal Medicine: Biomolecular and Clinical Aspects. 2nd edition. No date. Retrieved 26 May 2023.

  5. Aly Farag El Sheikha. Nutritional Profile and Health Benefits of Ganoderma lucidum “Lingzhi, Reishi, or Mannentake” as Functional Foods: Current Scenario and Future Perspectives. Published 1 April 2022. Retrieved 26 May 2023.

  6. กษมา สุขาภิรมณ์, นพมาศ สุนทรเจริญนนท์, เย็นจิตร เตชะดำรงสิน, โกวิท พัฒนาปัญญาสัตย์. (2008). ฤทธิ์ทางยาของเห็ดหลินจือ. วารสารการแพทยืแผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. Vol. 6 No. 3 September-Decomber 2008. Retrieved 26 May 2023.

  7. PPTV Online. แพทย์จีน ชี้ "เห็ดหลินจือ" ช่วยชะลอการเพิ่มน้ำหนักตัว. Pptv36.com. Published 25 June 2015. Retrieved 26 May 2023. 

  8. บุญใจ ลิ่มศิลา, ลักขณา อังอธิภัทร, วลีย์พัชญ์ ชูชาติชัยกุลการ, อรวรรณ ฟักสังข์,และ วงศกร จ้อยศรี. การผลิตเห็ดหลินจือและสปอร์เห็ดหลินจือ ตามแนวทางเกษตรดีที่เหมาะสม. กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. Retrieved 26 May 2023.

  9. Jiahua Jiang, Veronika Slivova, Kevin Harvey, Tatiana Valachovicova, and Daniel Sliva. (2009). Ganoderma lucidum suppresses growth of breast cancer cells through the inhibition of Akt/NF-kappaB signaling. Published 18 November 2009. Retrieved 26 May 2023.

  10. ลัดดา แสงเดือน วัฒนศิริธรรม. เห็ดหลินจือ ต้านมะเร็งจริงหรือ ?. วารสารอาหาร ปีที่ 48 ฉบับที่ 3 (ก.ค.-ก.ย. 2561) หน้า 53-57. Retrieved 26 May 2023.

  11. Wenbo Tang, Yihuai Gao, Guoliang Chen, He Gao, Xihu Dai, Jinxian Ye, Eli Chan, Min Huang, Shufeng Zhou. (2005). A randomized, double-blind and placebo-controlled study of a Ganoderma lucidum polysaccharide extract in neurasthenia. Retrieved 26 May 2023.

  12. Agata Fijałkowska, Karol Jędrejko, Katarzyna Sułkowska-Ziaja, Marek Ziaja, Katarzyna Kała, Bożena Muszyńska. (2022). Edible Mushrooms as a Potential Component of Dietary Interventions for Major Depressive Disorder. Retrieved 26 May 2023.

shop now